ฟรอสต์ฯ แนะ ชาวกรุงตุนเสบียงอย่างมีสติ เพื่อเลี่ยงภาวะขาดแคลนช่วงวิกฤติ

ศุกร์ ๒๘ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๔๕
ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้ให้ความเห็นว่า หากคนกรุงเทพพร้อมใจกันไม่กักตุนเสบียงมากเกิน 2-5 วัน ทุกคนยังมีทางรอด และไม่ประสบภาวะขาดแคลนอย่างในปัจจุบัน ทั้งนี้ รัฐบาลและร้านค้าควรร่วมกันแก้ไข โดยมีรัฐบาลคอยอำนวยความสะดวก ทั้งทางรถและทางเรือ ในการลำเลียงชาวบ้านที่ยังอาศัยอยู่ในย่านน้ำท่วมระดับน้อยถึงระดับกลาง เพื่อออกไปซื้อหาอาหาร ในขณะเดียวกัน ร้านค้าที่ยังเปิดให้บริการก็ควรดูแลในเรื่องการจำกัดสินค้าให้กับผู้ที่มาซื้อ ซึ่งทุกร้านควรเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน โดยให้รัฐบาลหรือหน่วยงานอิสระเป็นผู้กำหนดวิธีการ และคอยควบคุมดูแล หากมีการร้องทุกข์ ก็ควรมีการตรวจสอบตามสมควร

ฟรอสต์แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้จัดทำโมเดลจำลองการกักตุนเสบียงของคนกรุงเทพฯ โดยยกการสมมุติจากหนึ่งร้านค้า ซึ่งมีปริมาณเสบียง 100 ชุด แต่ละชุดสำหรับ 1 คนใช้บริโภค ต่อ 1 วัน และตอบสนองอุปสงค์ (demand) ที่ 100% ใน 100 คน จากสมมุติฐานนี้ แตกออกเป็น 3 กรณี (ดูภาพโมเดลประกอบ) คือ

กรณีที่หนึ่ง หากผู้ซื้อทุกคนพร้อมใจกันสำรองเสบียงเป็นระยะเวลา 2 วัน ทางร้านค้าจะมีความสามารถรองรับผู้ซื้อได้ 50 คน หรือคิดเป็น 50% ของอุปสงค์ ซึ่งทางร้านจะต้องเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็น 2 เท่า เพื่อให้ตอบสนองความต้องการได้ครบ 100% การขาดแคลนเสบียงในกรณีนี้ อาจเกิดขึ้นบ้างเป็นเวลา 2-5 วัน ขึ้นอยู่กับกระบวนการจัดการของแต่ละผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากอุทกภัยได้ทำให้เส้นทางการขนส่งบางเส้นถูกตัดขาดหรือติดขัด ฉะนั้นภาวะขาดแคลนอาจมีได้ถึง 10 วัน

กรณีที่สอง หากผู้ซื้อทุกคนพร้อมใจกันสำรองเสบียงเป็นระยะเวลา 10 วัน ทางร้านค้าจะมีความสามารถรองรับผู้ซื้อได้ 10 คน หรือคิดเป็น 10% ของอุปสงค์ ซึ่งการเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มากขึ้นเป็น 10 เท่านั้นถือเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิต ย่อมต้องใช้เวลาพอสมควร เพื่อให้ตอบสนองความต้องการได้ครบ 100% การขาดแคลนเสบียงในกรณีนี้ จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เป็นช่วงระยะเวลา 10-15 วัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอุทกภัยได้ทำให้เส้นทางการขนส่งบางเส้นถูกตัดขาดหรือติดขัด ฉะนั้นภาวะขาดแคลนอาจมีได้ถึง 30 วัน หรือ 1 เดือน

กรณีสุดท้าย ถือเป็นกรณีเลวร้ายที่สุด แต่ในความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแล้วในหลายแห่ง กล่าวคือ หากผู้ซื้อทุกคนพร้อมใจกันสำรองเสบียงเป็นระยะเวลา 1 เดือนเต็ม ทางร้านค้าจะมีความสามารถรองรับผู้ซื้อได้เพียง 3 คน หรือคิดเป็น 3.3% ของอุปสงค์ และต้องเพิ่มขีดความสามารถให้มากขึ้น อย่างต่ำเป็น 30 เท่าของที่มีอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นสภาวะขาดแคลนอย่างหนักจะเกิดขึ้นแน่นอน เป็นระยะเวลาขั้นต่ำ 1 เดือน หรือมากกว่า อย่างไรก็ดี เนื่องจากอุทกภัยได้ทำให้เส้นทางการขนส่งบางเส้นถูกตัดขาดหรือติดขัด ฉะนั้นภาวะขาดแคลนอาจมีได้ถึง 3 เดือน

“ในภาวะเช่นนี้ รัฐบาลไม่ควรนิ่งดูดาย หรือ ใช้วิธีการบริหารจัดการแบบ Reactive เหมือนที่เป็นมา โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ รัฐบาลสามารถใช้วิธี Proactive ได้ อย่างเช่นกรณีการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นเรื่องของการจัดการความสมดุลย์ของอุปสงค์และอุปทาน จึงควรดำเนินการอย่างจริงจัง โดยใช้แนวทางจากการร่วมมือของทุกฝ่าย ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีการแบ่งมาตรฐาน เพื่อความเท่าเทียมและความอยู่รอดของทุกคน” ดร. มนธ์สินีกล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ