กรมส่งออกฯ ลุย 2 เมืองหลักเวียดนาม หวังโกยออเดอร์ 100 ล้านธุรกิจซอฟแวร์

จันทร์ ๓๑ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๓:๐๓
กรมส่งออกฯ ลุย 2 เมืองหลักเวียดนาม หวังโกยออเดอร์ 100 ล้านธุรกิจซอฟแวร์ เผยธุรกิจบริการโรงพยาบาล ร้านอาหาร ดิสซิบิวเตอร์บูม เล็งธุรกิจเอ็นเตอร์เท็นเม้นท์ ดาวโหลดเกมส์ เพลง น่าสนใจ ชี้โอกาสทำตลาดต้องสร้างความแตกต่าง -สร้างมูลค่าเพิ่มดันไทยเป็นผู้นำอาเซียน

นางนันทวัลย์ ศกุลตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสำนักส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออก ถึงการเดินทางของคณะผู้แทนการค้าธุรกิจซอฟท์แวร์ไทยเยือนประเทศเวียดนาม กรุงฮานอย และกรุงโฮจิมินคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อราว 100 ล้านบาทภายใน 1 ปี โดยมีนักธุรกิจเวียดนามที่เข้ามาจับคู่กับนักธุรกิจไทยประมาณ 120 ราย ซึ่งกลุ่มธุรกิจไทยที่เดินทางเข้าร่วมมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผู้เข้าร่วมเดินทาง-ร่วมงาน: ประกอบด้วยบริษัทซอฟต์แวร์ทั้งสิ้น 14 บริษัท และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (Software Industrial Promotion Agency: SIPA) ประเภทธุรกิจซอฟต์แวร์ของผู้เข้าร่วมเดินทาง/ร่วมงาน: สามารถแบ่งได้เป็นทั้งสิ้น 5 ด้านคือ ด้านธุรกิจ Call Center และ Interactive Voice Responds (IVR): จัดทำระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่างๆ เช่น ระบบ Call Center ทั่วไป หรือ ระบบการ ดาวโหลดเพลงผ่านมือถือ ธุรกิจการเงิน: จัดทำระบบการจัดการด้านการเงินเพื่อเรียกดู Portfolio ด้านการเงิน ต่างๆ ของบริษัท ธุรกิจอนิเมชั่นและเกมส์: พัฒนาอนิเมชั่นและเกมส์เพื่อรองรับระบบเกมส์ในลักษณะต่างๆ เช่น Xbox และ Playstation 3 Facebook รวมทั้งระบบเกมส์ On-line ต่างๆ ธุรกิจการบริหาร Reservation: จัดทำระบบ On-line เพื่อทำการสำรองที่นั่งคอนเสิร์ต และธุรกิจพัฒนาเฉพาะระบบ: จัดทำระบบด้านการประกันภัย จัดทำระบบด้านการเป็นศูนย์กลางการกระจายหนังสือ (E-book) จัดทำระบบด้านการจัดการ/บริหารร้านอาหาร และจัดทำระบบด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยว

"ภาคธุรกิจที่สนใจเทคโนโลยีสารสนเทศหรือซอฟต์แวร์มาก ได้แก่ โรงพยาบาล หรือ Chain ร้านอาหารที่ต้องการระบบบริหารงาน กับ ภาคธุรกิจที่พร้อมด้านสารสนเทศในฐานะผู้ร่วมค้า เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนการค้าและส่วนสนับสนุนด้านการให้บริการ (Sale Agent & Customer Service) อย่างไรก็ตามธุรกิจซอฟต์แวร์เป็นธุรกิจบริการที่มีความซับซ้อน จับต้องได้ยาก และต้องใช้ความเข้าใจเชิงลึก รวมถึงระยะเวลาที่ค่อนข้างนานเพื่อศึกษาถึงประโยช์ที่ชัดเจนที่จะได้รับการจากการควบรวมธุรกิจ หรือการใช้ ซอฟต์แวร์ร่วมกับธุรกิจอื่น ดังนั้น โดยทั่วไปผลการเจรจาในกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงมูลค่าการค้าจะไม่เห็นผลทันที หรือ เห็นผลโดยเร็ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ถึงจะเห็นผลที่ชัดเจน แต่ทั้งนี้ข้อดีของกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์ คือ เป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืนทางด้านการจับคู่ทางการค้า เนื่องจากภาคธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใดประเภทหนึ่งแล้ว โดยส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนที่ ซึ่งจะส่งผลดีในการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยในระยะยาว"นางนันทวัลย์ กล่าว

นางนันทวัลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โอกาสการผลักดันธุรกิจซอฟต์แวร์ของไทยในเวียดนามนั้น ธุรกิจซอฟต์แวร์ของไทยยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ โอกาสการเพิ่มมูลค่า โอกาสการขยายตลาดอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยหากเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ความต้องการทางการตลาดภายในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าเกือบทุกภาคธุรกิจที่มีความโดดเด่น ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนยุคใหม่ และที่มีความต้องการในการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจผ่านการให้บริการ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศหรือซอฟต์แวร์ เข้ามาเป็นส่วนสนับสนุนภาคธุรกิจถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจโรงพยาบาลกับการเรียกดูประวัติผู้ขอรับการรักษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ภาคธุรกิจการโทรคมนาคมกับการดาวน์โหลดเพลงหรือเติมเงิน/ชำระเงินผ่านระบบมือถือ ภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีการให้หรือเก็บข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่การบริการของกรมส่งเสริมการส่งออกผ่านเว็บไซต์ Thaitrade.com หรือ สายตรงผู้ส่งออก 1669 ทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้เป็นส่วนสนับสนุนทางธุรกิจ

ทั้งนี้หากพิจารณาและทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ภาคธุรกิจนำซอฟต์แวร์เข้ามาเป็นส่วนสนับสนุน จะเห็นได้ว่าซอฟต์แวร์สร้าง "ความแตกต่าง" หรือ ซอฟต์แวร์ differentiate ภาคธุรกิจให้แตกต่างจากภาคธุรกิจอื่น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าผ่านช่องทางต่างๆ บนมือถือหรือบนอินเตอร์เน็ตเพื่อเอื้อให้เกิดความสะดวกสบายที่มากขึ้น หรือการเพิ่มมูลค่าผ่านการให้บริการที่ดีขึ้น โดยสามารถสรุปได้ว่าภาคธุรกิจนำซอฟต์แวร์มาเป็นส่วนสนับสนุนเพื่อให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความแตกต่าง โดยสาเหตุทั้งหมดชึ้ตรงไปยังความต้องการในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันด้านการตลาดที่มากขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสำหรับตลาดในประเทศ โอกาสทางภาคธุรกิจซอฟต์แวร์ยังมีอีกมากและเพิ่มขึ้นกับการเจริญเติบโตด้านการแข่งขันในภาคธุรกิจต่างๆ

นอกจากนี้หากเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม จะเห็นได้ว่าในหลายๆ ภาคธุรกิจ ประเทศไทยมีความเติบโตหรือความก้าวหน้าหรือความเป็นผู้นำทางธุรกิจที่มากกว่าประเทศเวียดนาม ยกตัวอย่างเช่น ด้านการธนาคาร ด้านโรงพยาบาย ด้านการโทรคมนาคม ด้านการประกัน ด้านการเงิน ด้านการให้บริการ และฯลฯ โดยหากพิจารณาเพิ่มเติมจะเห็นได้ว่าภาคธุรกิจของไทยที่มีความเป็นผู้นำดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีเทคโนโลยีสารสนเทศหรือซอฟต์แวร์เป็นส่วนสนับสนุนหลักที่สร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ ดังนั้นหากพิจารณาในแง่มุมเดียวกันจะเห็นได้ว่า หากภาคธุรกิจเวียดนามต้องการแข่งขันให้ทัดเทียมกับภาคธุรกิจไทยหรือเป็นผู้นำในอาเซียน เทคโนโลยีสารสนเทศหรือซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่จำเป็น และเนื่องจากความเชื่อมั่นในองค์ประกอบด้านความเสถียรภาพและประสิทธิภาพเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือซอฟต์แวร์ ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศหรือซอฟต์แวร์ของไทยที่มีประสบการณ์ในการสนับสนุนภาคธุรกิจอื่นๆ ของไทยที่เป็นผู้นำในตลาดอาเซียน จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเวียดนาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและโอกาสของการผลักดันธุรกิซอฟต์แวร์ไทยไปเวียดนาม

อนึ่งภาพรวมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศเวียดนาม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยตั้งแต่ปี 2543 รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายให้ภาคธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่จะส่งผลกระทบทางด้านบวกต่อภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะทางตรง เช่น การพัฒนาภาคอุตสาหรรมซอฟต์แวร์ หรือในทางอ้อม เช่น การเป็นธุรกิจสนับสนุนด้านสารสนเทศเพื่อให้ภาคธุรกิจอื่นมีความเข้มแข็งและศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น การเป็นแหล่งผลิตที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักลงทุนต่างชาติ หรือการสร้างบุคคลกรให้มีความพร้อมเพื่อขยายตลาดแรงงานระหว่างประเทศด้านสารสนเทศ ทั้งนี้ ในระหว่าง 10 ปีที่ผ่านมา คือระหว่างปี 2543-2553 มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมด้านสารสนเทศของเวียดนามเพิ่มขึ้นทุกปี ในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20-25 ต่อปี ซึ่งคิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 3 เท่าของอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ของประเทศเวียดนาม โดยในปี 2553 รายได้ที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศเวียดนามคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 850 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วยบริษัทด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั้งสิ้นกว่า 1,000 บริษัท โดยมี 4 บริษัทเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ที่มีพนักงานรวมกว่า 3,000 ราย ทั้งนี้ ในอนาคต ประเทศเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารเทศผ่านการเชื่อมโยงด้านการผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านสารสนเทศ การเพิ่มภาคบริการด้านธุรกิจสารสนเทศ และการเพิ่มการลงทุนระหว่างประเทศในธุรกิจสารสนเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version