ทาวเวอร์ส วัทสัน เผยผลการสำรวจล่าสุดในไตรมาสที่ 3 เอเชียแปซิฟิกและยุโรปแชมป์ซื้อขายกิจการแซงหน้าอเมริกา

พุธ ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๑ ๑๐:๓๐
ทาวเวอร์ส วัทสัน (NYSE, NASDAQ:TW) ผู้ให้บริการปรึกษาด้านการบริหารองค์กรระดับโลก เผยผลสำรวจล่าสุด ระบุธุรกิจที่ทำการซื้อกิจการสามารถสร้างผลงานได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดอย่างชัดเจน โดยมีดัชนี Global MSCI ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2554 เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ข้อมูลจากรายงานผลการซื้อขายรายไตรมาส (Quarterly Deal Performance Monitor: QDPM) ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ชี้ให้เห็นว่าบริษัทในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและยุโรป ที่ทำการซื้อกิจการบริษัทอื่นนั้น มีราคาหุ้นสูงกว่าดัชนี MSCI ในภูมิภาคของตนที่อัตรา 12.7 pp (percentage point) และ 4.8 pp ตามลำดับ ในขณะที่บริษัทผู้เข้าซื้อกิจการในทวีปอเมริกาเหนือ กลับมีราคาหุ้นที่ต่ำกว่าค่าดัชนี MSCI ราว 2.1 pp นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลรวมตลอดปี 2554 จนถึงช่วงสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 แล้ว กลุ่มผู้ซื้อกิจการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและยุโรปก็ยังคงทำผลงานได้ดี ด้วยราคาหุ้นที่สูงกว่าดัชนีประจำภูมิภาคของตนราว 5.7 pp และ 5.6 pp ตามลำดับ ส่วนผู้ซื้อกิจการในอเมริกาเหนือ สามารถทำราคาหุ้นให้สูงกว่าดัชนีประจำภูมิภาคได้เพียง 1.8 pp เท่านั้น

จากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 15 กันยายน 2554 จะเห็นได้ว่ามีข้อตกลงควบรวมหรือซื้อขายธุรกิจรวมแล้ว 161 ธุรกรรมในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งถือว่าไม่แตกต่างจากยอดรวม 163 ธุรกรรม จากไตรมาสเดียวกันในปี 2553

กลุ่มธุรกิจผู้ซื้อกิจการยังแสดงแนวโน้มราคาหุ้นสูงกว่าดัชนี Global MSCI อย่างต่อเนื่อง

งานวิจัยด้านการซื้อขายและควบรวมกิจการชิ้นนี้ จัดทำขึ้นโดย ทาวเวอร์ส วัทสัน ผู้ให้บริการคำปรึกษาชั้นนำ โดยอ้างอิงหลักการมาจากงานวิจัยของโรงเรียนบริหารธุรกิจ Cass Business School ซึ่งได้เริ่มต้นจัดทำขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เป็นต้นมา เมื่อพิจารณาค่าดัชนี Global MSCI ประจำไตรมาสที่ 3 ของปีนี้แล้ว จะพบว่าธุรกิจที่เข้าซื้อกิจการมีมูลค่าหุ้นสูงกว่าค่าดัชนีรวมทั่วโลกที่ระดับ 3.5 pp ซึ่งถือว่าเป็นส่วนต่างที่ลดลงจากค่าเฉลี่ยของช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อย และมีค่าเท่ากับส่วนต่างเฉลี่ย นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ธุรกิจที่เข้าซื้อกิจการสามารถสร้างมูลค่าหุ้นได้สูงกว่าดัชนี Global MSCI อย่างสม่ำเสมอตลอดช่วง 13 จาก 15 ไตรมาสหลังสุด

การควบรวมกิจการในธุรกิจบางประเภทมีความสำเร็จอย่างดี

การวิเคราะห์สถิติในปีนี้แสดงให้เห็นว่าธุรกิจในกลุ่มพลังงานและวัตถุดิบ ถือเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการซื้อขายและควบควมกิจการ จากกลุ่มธุรกิจที่ทำการสำรวจทั้งหมด 9 กลุ่ม โดยสองกลุ่มดังกล่าวสามารถทำราคาหุ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มธุรกิจของตนได้ถึง 7.2 และ 6.4 pp ตามลำดับ

การซื้อขายกิจการขนาดใหญ่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนสูงตามไปด้วย

ข้อมูลตลอดปี 2554 แสดงให้เห็นว่าการเจรจาซื้อขายกิจการขนาดใหญ่มีโอกาสประสบความสำเร็จในด้านการเพิ่มมูลค่าหุ้นน้อยกว่าการซื้อขายกิจการขนาดเล็ก บทวิเคราะห์ของทาวเวอร์ส วัทสันระบุว่าบริษัทที่เข้าซื้อกิจการในข้อตกลงที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป สามารถทำราคาหุ้นได้สูงกว่าค่าดัชนีเพียง 2.1 pp ซึ่งถือว่าน้อยกว่าผลตอบแทนจากการควบรวมกิจการขนาดเล็ก หรือหรือที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสามารถทำราคาหุ้นได้สูงกว่าดัชนีถึง 5.2 pp

ดีลยิ่งปิดเร็ว ผลตอบแทนยิ่งสูง

จากการวิเคราะห์ข้อมูลในปี 2554 พบว่าผลงานในตลาดหุ้นและระยะเวลาในการเจรจาควบรวมกิจการ มีความเกี่ยวพันกันโดยตรง กล่าวคือ ยิ่งเจรจาเสร็จสิ้นสมบูรณ์เร็วขึ้นเท่าใด การควบรวมก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาได้สูงมากขึ้นเท่านั้น โดยบริษัทที่สามารถเจรจาซื้อกิจการให้ลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำราคาหุ้นได้สูงกว่าดัชนีถึง 5.6 pp ในขณะที่ธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความล่าช้าในการเจรจานั้น มีราคาหุ้นสูงกว่าดัชนีเพียง 2.8 pp

มร.มาร์โค แคสเตอร์ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านการควบรวมกิจการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน กล่าวว่า “สภาวะผันผวนของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสนใจในการซื้อขายหรือควบรวมกิจการเลยแม้แต่น้อย และธุรกิจผู้ซื้อกิจการก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หุ้นของตนได้เป็นอย่างดี จนอยู่ในระดับที่สูงกว่าดัชนีอย่างต่อเนื่อง”

“ผลงานอันยอดเยี่ยมของธุรกิจผู้ซื้อกิจการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ถือเป็นแนวโน้มทีดีมาก เรามักจะได้เห็นการควบรวมกิจการข้ามชาติหรือแม้แต่ข้ามภูมิภาคกันเป็นจำนวนไม่น้อยในสองภูมิภาคนี้ ซึ่งการควบรวมกิจการทั้งสองแบบนี้ มีความซับซ้อนสูง โดยเฉพาะในด้านการตรวจสอบและประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดต่างชาติ และผสมผสานโครงสร้างแรงงานและวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกันให้เป็นหนึ่งเดียว ปัจจุบัน เราจึงได้เห็นหลายบริษัทลงมือจัดการกับปมปัญหาเหล่านี้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้การควบรวมกิจการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี”

มร.แคสเตอร์กล่าวเสริมว่า “สำหรับผลงานของธุรกิจผู้ซื้อกิจการที่อยู่ทางฟากอเมริกาเหนือ ที่ทำราคาหุ้นได้สูงกว่าดัชนีเพียง 2.1 pp นั้น ก็ถือว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการสร้างมูลค่าให้แก่หุ้น ผ่านทางการควบรวมกิจการนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินการของธุรกิจผู้ซื้อกิจการในอเมริกาเหนือก็ยังสามารถทำผลงานสูงกว่าระดับมาตรฐานของดัชนีได้อย่างต่อเนื่องตลอด 15 ไตรมาสหลังสุด ในขณะที่กิจการจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและยุโรปมักจะมีแนวโน้มการผันผวนสูงกว่า”

“ถึงแม้สภาวะเศรษฐกิจโลกจะยังมีการชะลอตัว แต่ผลการศึกษาของเรากลับพบว่าการเจรจาตกลงซื้อขายกิจการจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นหากดำเนินการได้รวดเร็ว โดยการเจรจาที่ยืดเยื้อนั้น มักจะเป็นผลมาจากอุปสรรคในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินก่อนการซื้อขาย และการต่อรองระหว่างทั้งสองฝ่าย เราอาจพูดได้ว่าสภาพตลาดในปัจจุบันนั้น สอดรับเป็นอย่างดีกับการซื้อขายกิจการที่เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว”

กระบวนการตรวจสอบข้อมูลการตกลงซื้อขายกิจการโดยทาวเวอร์ส วัทสัน

? มุ่งเน้นเฉพาะการตกลงที่แล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2554 (1 กรกฎาคม — 15 กันยายน)

? ข้อมูลตัวอย่างนำมาศึกษาเปรียบเทียบเป็นรายไตรมาส

? ทุกการตกลงมีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านดอล่าร์สหรัฐขึ้นไป

? การวิเคราะห์ข้อมูลเกิดจากมุมมองของนักซื้อขายกิจการ

? มูลค่าผลการดำเนินงานคิดจากมูลค่าร้อยละความเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่การประกาศควบรวมกิจการจนถึงวันสิ้นไตรมาส (ไตรมาสที่ 3 ปี 2554)

? ในกรณีที่ผู้เข้าซื้อกิจการมีสัดส่วนการถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ภายหลังการเข้าซื้อกิจการจะไม่ถูกทำมาวิเคราะห์ ดังนั้น จึงไม่พิจารณาในกรณีการเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการในสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย และจะไม่พิจารณาในกรณีที่ผู้เข้าซื้อกิจการถือหุ้นในบริษัทมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดก่อนการเข้าซื้อกิจการ

? ข้อมูลการตกลงซื้อขายจาก Thomson One Banker

? กรณีการซื้อขายกิจการทั้งหมด 161 ชิ้น

เกี่ยวกับทาวเวอร์ส วัทสัน

ทาวเวอร์ส วัทสัน (NYSE, NASDAQ:TW) เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ทำธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการบริหารองค์กร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ตลอดจนการบริหารจัดการความเสี่ยงและการลงทุน บริษัทมีที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจำนวน 14,000 คนทั่วโลก เพื่อให้บริการออกแบบโครงสร้างผลตอบแทนและสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง การบริหารทรัพยากรบุคคล และโครงสร้างผลตอบแทน ตลอดจนการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงและเงินลงทุน สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.towerswatson.com

ทาวเวอร์ส วัทสัน มีบริการที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ การซื้อกิจการตลอดจนการตกลงเงื่อนไขและแนวทางการแก้ปัญหา โดยเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ประกอบการพิจารณามูลค่าทรัพย์สินก่อนการซื้อขายกิจการ ตลอดจนการบูรณาการด้านโครงสร้างแรงงานภายหลังการควบรวมกิจการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:

คริษฐา (ปุย) คุ้มพงษ์ / ประภาพิศ (อ้อ) จำปี

ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ทาวเวอร์ วัทสัน c/o แฟรนคอม เอเซีย

โทร. 0 2233 4329 แฟกซ์ 0 2236 8030

อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม