ภาพข่าว: เจ็ทสตาร์นำดรีมไลเนอร์ใหม่โชว์ศักยภาพการบินในน่านฟ้าออสเตรเลีย จากซิดนีย์สู่เมลเบิร์นเป็นครั้งแรก

อังคาร ๒๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๑ ๑๗:๒๕
จากภาพ: มร. บรูซ บิวคานัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ็ทสตาร์ กรุ๊ป (กลาง) พร้อมด้วยลูกเรือเจ็ทสตาร์ เดินทางถึงกรุงเมลเบิร์น

ด้วยเครื่องบินดรีมไลเนอร์ในเที่ยวบินแรกภายในประเทศออสเตรเลียจากซิดนีย์สู่เมลเบิร์น

เจ็ทสตาร์ สายการบินค่าโดยสารราคาประหยัดชั้นนำของโลก เผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ใหม่ ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในการเดินทางทางอากาศ โชว์ศักยภาพ การบินในเส้นทางบินภายในประเทศออสเตรเลียสู่เมลเบิร์นจากซิดนีย์เป็นครั้งแรก โดยมีแขกผู้เกียรติร่วมเดินทางเพื่อเป็นสักขีพยานบนเที่ยวบินดังกล่าวอย่างคับคั่ง ภายใต้การต้อนรับอย่างอบอุ่นของมร. กอร์ดอน ริช-ฟิลลิปส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินแห่งมลรัฐวิกตอเรีย

ทั้งนี้ เจ็ทสตาร์มีกำหนดมอบประสบการณ์การเดินทางทางอากาศด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 787 รุ่นใหม่ที่บินได้เงียบยิ่งขึ้นและประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้นให้แก่ผู้โดยสารตั้งแต่กลางปี 2556 เป็นต้นไป ส่งผลให้เจ็ทสตาร์เป็นสายการบิน รายแรกในกลุ่มออสตราเลเซียและสายการบินต้นทุนต่ำรายแรกของโลกที่ให้บริการด้วยเครื่องบินใหม่ดังกล่าว

นอกจากนี้ เจ็ทสตาร์ยังเตรียมนำเครื่องบินบี 787* ดังกล่าวออกให้บริการในเครือข่ายการบินระยะไกลจากเมลเบิร์น ซิดนีย์ และโกลด์โคสท์สู่จุดหมายปลายทางต่างๆ อาทิ บาหลี กรุงเทพฯ ภูเก็ต โตเกียว โอซาก้า สิงคโปร์ และโฮโนลูลู

มร. บรูซ บิวคานัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ็ทสตาร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในแขกผู้ทรงเกียรติที่ได้ร่วมเดินทางในเที่ยวบินดังกล่าว เปิดเผยว่า “การเตรียมการเพื่อนำเครื่องบินดรีมไลเนอร์ใหม่ออกให้บริการในปี 2556 มีความรุดหน้าอย่างมาก” และเสริมว่า “เจ็ทสตาร์ก่อตั้งขึ้นในเมืองเมลเบิร์นและได้ขยายเครือข่ายการบินด้วย ค่าโดยสารราคาประหยัดสู่จุดหมายปลายทางในประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เราจึงรู้สึกภาคภูมิใจที่มีเมลเบิร์นเป็นบ้านของเรา ขณะที่ทีมงานของเจ็ทสตาร์ที่ประจำการอยู่ ณ เมืองเมลเบิร์นแห่งนี้จะเป็นผู้ดูแล และประสานการรับมอบเครื่องบินดรีมไลเนอร์ใหม่เข้าไว้ในฝูงบินของเจ็ทสตาร์”

มร. กอร์ดอน ริช-ฟิลลิปส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินแห่งมลรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย กล่าวถึงเครื่องบินดรีมไลเนอร์ใหม่ว่า “มีชิ้นส่วนหลายชิ้นที่ผลิตขึ้นโดยบริษัท โบอิ้ง แอโรสตรัคเจอร์ส ออสเตรเลีย (Boeing Aerostructures Australia) โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการออกแบบเครื่องบินอันล้ำสมัย” และเสริมว่า “การเข้าร่วมผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องบินดรีมไลเนอร์ใหม่ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตอกย้ำถึงสมรรถนะอันโดดเด่นระดับโลกทางด้านการบินและอวกาศของรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย”

ปัจจุบัน เจ็ทสตาร์มีพนักงานประมาณ 1,000 คนปฏิบัติงานอยู่ในรัฐวิกตอเรีย ในจำนวนนี้ไม่รวมแรงงานในส่วนงานที่มีการว่าจ้างโดยบริษัทพันธมิตร

เจ็ทสตาร์มียอดสั่งซื้อเครื่องบินใหม่มากกว่า 170 ลำ ได้แก่ เครื่องบินดรีมไลเนอร์และเครื่องบินแอร์บัส เอ320 นีโอ โดยเครื่องบินใหม่ดังกล่าวจะนำมาใช้สนับสนุนการขยายฝูงบินของเจ็ทสตาร์ เพื่อรองรับการเติบโตของสายการบินใหม่ๆ อาทิ เจ็ทสตาร์ เจแปน

การเป็นสายการบินต้นทุนต่ำรายแรกที่ให้บริการด้วยเครื่องบิน 787 ใหม่ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย เจ็ทสตาร์ที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมสุดล้ำเพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางอันโดดเด่นให้แก่ลูกค้า สำหรับสุดยอดนวัตกรรมที่ผ่านมาของเจ็ทสตาร์ ได้แก่ การเป็นสายการบินต้นทุนต่ำรายแรกที่ให้บริการเส้นทางบินระยะไกล การพัฒนาเทคโนโลยีออกบัตรขึ้นเครื่องผ่านระบบเอสเอ็มเอส และการเปิดบริการไอแพดเพื่อสร้างความบันเทิง บนเครื่องให้แก่ผู้โดยสาร

*ขึ้นอยู่กับการอนุมัติตามระเบียบข้อบังคับทางการบิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ