1. ฉลากต้องติดอยู่กับตัวสินค้าโดยตรง หรืออยู่บนการ์ด (Card) ที่ติดกับตัวสินค้าหรือ ในบรรจุภัณฑ์ (Package) หรือที่กล่อง (Outer box)
2. ตัวอักษรใช้ภาษาอารบิค หรืออารบิคและอังกฤษ มีความชัดเจน ไม่สามารถแก้ไขหรือลบได้ (Irremovable)
3. ต้องไม่มีข้อความที่อยู่ในคัมภีร์อัรกุรอ่าน หรือชื่อของพระเจ้า หรือสิ่งอื่นใดที่จะกระทบต่อศาสนาอิสลาม และประเพณีของซาอุฯ
4. กรณีผู้ผลิตมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ให้ใช้คำว่า Make under license of “Trade Mark”
5. ไม่มีข้อความชี้นำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดหรือเข้าใจว่าสินค้ามีคุณสมบัติอื่นๆ ที่สินค้านั้นไม่มี เช่น
- Silky (ทั้งๆ ที่สินค้าทำจากผ้าฝ้าย) หรือ
- Wool Like (แต่มิได้ผลิตจาก Wool จริง) หรือ
- มีข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดเกี่ยวกับแหล่งผลิตสินค้า เช่น English design หรือ Italian style แต่ผลิตที่ประเทศจีน
6. ข้อมูลบนฉลากควรจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ
- Country of Origin
- Manufacturer name of Trade Mark
- Fiber content
- Mode-Type
- Class
- Processing Type
- Mass in KGs
- Color or Color’s numeric reference
- Product name
- Demension (Width and Height)
- Cloths’ type
- Size (Numbers or Symbols)
นายสุรศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการไทยจึงควรปฏิบัติตามระเบียบการติดฉลากของซาอุฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหา ณ ด่านนำเข้า ทั้งนี้ ไทยส่งออกเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มไปซาอุฯ มูลค่าเฉลี่ย 1,671 ล้านบาทต่อปี (ปี 2551 — 2553) ปี 2554 (ม.ค. — ก.ย.) ส่งออกมูลค่า 1,361 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์