บอร์ดบีโอไอให้ส่งเสริม 16 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 32,000 ล้านบาท เร่งส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนป้อนอุตฯรถยนต์-พลังงาน

ศุกร์ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๑ ๑๖:๒๕
บอร์ดบีโอไออนุมัติส่งเสริมการลงทุนครั้งแรก 16 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 32,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านพลังงาน มากถึง 7 โครงการ รองลงมาเป็นกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 3 โครงการ โดยเป็นการชุดเกียร์อัตโนมัติรุ่นล่าสุดรายแรกในไทยพื่อป้อนอีโคคาร์

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการต่างๆ จำนวน 16 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 32,580 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.บริษัท เบสท์ ชิคส์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการ เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 20,873,000 ตัว/ปี โดยจะทำการเลี้ยงในโรงเรือนปิด เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,062 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.เพชรบูรณ์

2.บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตเครื่องมือช่างแบบพกพา ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการผลิตในเมืองไทย เช่น เครื่องลับมุม สว่าน เครื่องเจาะ เครื่องตัด เครื่องไสกบไฟฟ้า กำลังผลิตปีละประมาณ 3,793,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,230 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จ.ชลบุรี

3.บริษัท หลิงหลง ยางรถยนต์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตยางเรเดียล (Radial Tires) สำหรับรถยนต์นั่ง รถปิคอัพ กำลังผลิตปีละประมาณ 2,000,000 เส้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,803 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง

4.บริษัท จาโตโค (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตชุดเกียร์อัตโนมัติแบบปรับเปลี่ยนอัตราทดต่อเนื่อง (CONTINUOUSLY VARIABLE TRANSMISSION - CVT) ซึ่งเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติล่าสุด อัตราทดเกียร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องไร้การกระตุก ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการผลิตในไทย กำลังผลิตปีละประมาณ 515,000 ชุด เงินลงทุนทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี

5.บริษัท เอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตเครื่องยนต์เบนซินสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ให้กับ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กำลังผลิต ปีละประมาณ 149,600 เครื่อง เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,302 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี

6.บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์ อุตสาหกรรม จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิต ROTARY COMPRESSOR สำหรับเครื่องปรับอากาศ กำลังผลิต ปีละประมาณ 800,000 เครื่อง เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,391 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี

7. MR. ICHINOSE SHIGEYUKI ได้รับส่งเสริมการลงทุนผลิต ฟิล์มพลาสติกหรือกระดาษเคลือบกาวหรือเคลือบซิลิโคน เพื่อนำไปใช้เป็นสติ๊กเกอร์ ฉลาก สำหรับติดบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ กำลังผลิตปีละประมาณ 41,600 ตัน (หรือ 384.2 ล้านตารางเมตร) เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,300 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา

8.บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการ ผลิตไฟฟ้าจากความร้อนแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 9 เมกะวัตต์ไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,392 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี

ส่วนโครงการที่ 9 ถึง 12.เป็นของ บริษัท บางจาก โซลาร์เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 4 โครงการ เงินลงทุนทั้งสิ้น 3,600 ล้านบาท (เงินลงทุนแห่งละ 900 ล้านบาท) โดยจะติดตั้งแผง Solar Cell แบบ Thin Film เพื่อผลิตไฟฟ้าจำหน่ายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) มีกำลังการผลิตรวม 4 โครงการ ทั้งสิ้น 32 เมกะวัตต์ (กำลังผลิตแห่งละ 8 เมกะวัตต์) โดยโครงการที่ 1 และ 2 ตั้งอยู่ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ โครงการที่ 3 และ 4 ตั้งอยู่ที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

13.บริษัท ด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิต ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (ชานอ้อย) มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 32 เมกะวัตต์ และ ไอน้ำ 170 ตัน/ชั่วโมง โดยโครงการมีปริมาณการใช้ ชานอ้อยสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 560,000 ตัน/ปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,682 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี

14.บริษัท เกษตรไทยไบโอเพาเวอร์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล(ชานอ้อย) มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 60 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 160 ตัน/ชั่วโมง โดยโครงการมีปริมาณการใช้ชานอ้อยสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 576,000 ตัน/ปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,240 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.นครสวรรค์

15.บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ได้รับส่งเสริมลงทุนในกิจการขนส่งน้ำมันทางท่อ ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง

16.บริษัท ดีแอล อีเอ็นที จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการ กำจัดขยะ ปีละประมาณ 221,000 ตัน โดยโดรงการนี้ จะใช้ วิธีการเผาขยะแล้วนำความร้อนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า กำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,578 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.เพชรบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025