จากการระดมความคิดเห็นในกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มครูผู้สอน พบว่าควรมีการทำฐานข้อมูล สำรวจภูมิปัญญาในท้องถิ่น ทำฐานข้อมูล ส่งเสริมให้คุณครูจัดทำแผนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแหล่งภูมิปัญญาใกล้ตัวผู้เรียน เช่น ห้องภูมิปัญญา สนับสนุนให้มีการจัดหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อให้ทันกับเทคโนโลยีแท็บเลตที่กำลังเข้ามา ,การจัดทำแผนการเรียนรู้ / กำกับติดตามการบริหารในโรงเรียน เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการติดตามผล และต้องมีการขยายผลอย่างต่อเนื่องทางสื่อใหม่
การประชุมในครั้งนี้มีผู้บริหาร และครูสายผู้สอนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือกว่า 40 คน จากโรงเรียนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่ขยายโอกาส รูปแบบการประชุมนอกจากได้รับความรู้จากวิทยากรภายนอก (อ.อังคณา พรหมรักษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) ในประเด็นการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ทักษะชีวิตของเด็กแล้วยังมีการการเเลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยวิทยากรจากศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน(ศสอ.)และการนำเสนอกิจกรรม "เด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง"จากโรงเรียนนำร่อง 6 โรงเรียน
หลังจากนี้ในต้นเดือนธันวาคม ผู้บริหารเเละเเกนนำครูผู้สอนจากโรงเรียนเครือข่ายจะมีการพัฒนาศักยภาพการและออกแบบหลักสูตรการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือหลักที่สอดคล้องกับบริบทของตน เพื่อการดำเนินงานกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เเต่ละโรงเรียนต่อไป....
ติดต่อ:
อัมพร วาภพ 083 1019282