1.ขอบเขตสินค้า : ครอบคลุมสินค้าที่มีเส้นใยสิ่งทอ, เฟอร์นิเจอร์ ร่ม และผ้าบังแดดที่มีองค์ประกอบของสิ่งทออย่างน้อยร้อยละ 80 ของน้ำหนัก
2. การระบุชื่อของเส้นใยสิ่งทอ: ให้ใช้ชื่อตามบัญชีรายการชนิดของเส้นใยสิ่งทอที่ระบุในภาคผนวก 1 เพื่อบรรยายบนฉลาก ทั้งนี้ หากมีเส้นใยชนิดใหม่ ให้เพิ่มชื่อเข้าไปในภาคผนวก 1
3.การติดฉลาก : ข้อมูลหรือข้อความที่ปรากฏบนฉลากต้องเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และต้องติดฉลากอย่างแน่นหนา สำหรับสินค้าที่มีชิ้นส่วนที่ไม่ใช่สิ่งทอและมีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ต้องแสดงข้อความว่า “ Contains non-textile parts of animal origin ” บนฉลากสินค้า
4. สินค้าสิ่งทอที่เป็นไปตามระเบียบเดิม Directive 2008/121/EC (textile name and labelling) หรือไม่สอดคล้องกับระเบียบใหม่ และวางจำหน่ายก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ยังสามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557
5. กำหนดวิธีวิเคราะห์ การสุ่มตัวอย่างและการทดสอบเส้นใยประเภท binary and ternary textile fibre mixtures รวมถึงเส้นใยประเภทอื่นๆ และมีรายงานผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการย้อมสี การคำนวณร้อยละของเส้นใยและผลลัพธ์ ฯลฯ ประกอบด้วย
6. กายในวันที่ 30 กันยายน 2556 คณะกรรมาธิการยุโรปจะต้องรายงานต่อรัฐสภายุโรปและคณะมนตรียุโรป เกี่ยวกับการทบทวนข้อกำหนดด้าน (1) Origin Marking (2) A harmonized EU wide care-code labeling system (3) An EU wide uniform code for sizing of garments (4) An indication of allergenic substances และ (5) Electronic labeling and other new technologies, and the use of language independent symbols or codes for the identification of fibres
นายสุรศักดิ์ ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ระเบียบใหม่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป ในระหว่างนี้ผู้ประกอบการควรติดตามข้อกำหนดตามข้อ 6 ซึ่งอยู่ระหว่างการทบทวนของคณะกรรมาธิการยุโรป ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2011:272:0001:0064:EN:PDF
ในปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไป EU มูลค่า 25,229 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2