ไอเดียใหม่จากเอสซีจี เคมิคอลส์ จัดการถุงทรายหลังน้ำลดอย่างสร้างสรรค์ แปรรูปเป็นวัสดุใหม่ มั่นใจงานออกแบบช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้

พฤหัส ๐๑ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๐๙:๒๖
เอสซีจี เคมิคอลส์ ริเริ่มไอเดียใหม่หลังน้ำลด ด้วยการแปรรูปถุงทรายใช้แล้วเป็นวัสดุให้มูลค่าเพิ่ม จับมือ ผศ.ดร สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชูแนวคิดบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างสร้างสรรค์ เปิดตัว “ผลงานต้นแบบจากวัสดุถุงทราย” หวังสร้างแรงบันดาลใจให้นักออกแบบไทยและองค์กรที่เกี่ยวข้องคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเพื่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน พร้อมนำทีม Design Catalyst by SCG Chemicals ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติก

นายยุทธนา เจียมตระการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โพลิโอเลฟินส์ จำกัด ในเอสซีจี เคมิคอลส์ กล่าวว่า “ภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่นี้ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมาก และเมื่อน้ำลด ควรมีการจัดการหรือกำจัดอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะถุงทรายจำนวนมหาศาลที่ใช้เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ดังนั้น เอสซีจี เคมิคอลส์ ในฐานะผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงมองหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างสร้างสรรค์ โดยได้ร่วมกับ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำถุงทรายใช้แล้วมาแปรรูปเป็นวัสดุจากถุงทราย เพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ๆ ที่ให้มูลค่าเพิ่ม โดยมุ่งหวังให้วิธีการแปรรูปถุงทรายนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารจัดการขยะพลาสติก นอกเหนือจากการนำไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในโรงงานปูนซีเมนต์ หรือนำไปหลอมเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ”

“การทำงานแปรรูปถุงทราย นับเป็นการทำงานที่ท้าทายมาก เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน เราต้องเปลี่ยนวิธีการคิดและวิธีการทำงานเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทีมงานต้องลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง จนได้แผ่นวัสดุที่หลากหลาย ทั้งสี ผิวสัมผัส และขนาด ในกระบวนการทำงาน เรานำถุงทรายที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูปโดยผ่านกระบวนการอัด (Compression) ให้กลายเป็นแผ่นวัสดุที่สามารถนำมาขึ้นรูปให้เป็นชิ้นงานต้นแบบตามไอเดียของนักออกแบบ โดยผลงานที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต และคุณอัจฉรี พัชรากิตติ นักออกแบบผลิตภัณฑ์จาก Design Catalyst by SCG Chemicals ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของเรา และ หวังว่า ผลงานจากถุงทรายนี้ จะเป็นแรงบันดาลใจให้นักออกแบบไทยและองค์กรต่างๆ ได้คิดสร้างสรรค์ และร่วมกันพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อไป ” นายยุทธนากล่าวเพิ่มเติม

ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ได้เห็นการทำงานของเอสซีจีในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาโดยตลอด และเมื่อเอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ติดต่อขอคำปรึกษาในเรื่องการจัดการขยะพลาสติกหลังน้ำลด ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดี จึงได้พูดคุยกันและเกิดความคิดต่อยอดมากมาย ช่วงแรกๆ เราแบ่งความคิดออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ได้แก่ คิดจะจัดการอย่างไรกับขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นหลังน้ำลด ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่รถยนต์ ขวดน้ำ โฟม และถุงทราย เพื่อให้ชีวิตของเราดีขึ้น ระยะกลาง ได้แก่ คิดที่จะนำสิ่งเหล่านี้ไปทำประโยชน์อะไรให้กับผู้ประสบภัยได้บ้าง เช่น การสร้างทางเดินชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัย และสุดท้าย ได้แก่ ความคิดในการนำสิ่งของเหล่านี้มาทำเป็นวัสดุใหม่ๆ เพื่อซ่อมแซมบ้าน เช่น ประตู ฝาบ้าน แต่ในที่สุดหลังจากการร่วมทำงานกับทีม Design Catalyst by SCG Chemicals ก็ทำให้เราได้วัสดุที่แปรรูปมาจากถุงทราย โดยมีสี ผิวสัมผัส รูปทรง และความหนาต่างๆ กัน สำหรับนักออกแบบแล้ว สิ่งที่ได้คิดค้นขึ้นใหม่เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทายอย่างมาก เพราะวัสดุจากถุงทราย สามารถสร้างจินตนาการให้กับนักออกแบบได้เป็นอย่างมาก จนกระทั่งสามารถสร้างผลงานต้นแบบที่ได้ทั้งความงามด้านศิลปะและสามารถช่วยบริหารจัดการถุงทรายใช้แล้วได้อีกด้วย”

นายยุทธนา กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผลงานบางส่วนจะนำไปประมูล โดยรายได้จากการประมูลทั้งหมดจะนำไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป”

องค์กร หรือหน่วยงานที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอคำแนะนำเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติก สามารถติดต่อได้ที่ หน่วยงาน Design Catalyst by SCG Chemicals โทร. 02- 586-2317 หรือ www.design-catalyst.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ