ไมโครชิพเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์บอกเวลาเรียลไทม์แบบสแตนอโลน

ศุกร์ ๐๒ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๑๕:๕๒
อุปกรณ์ RTCC ใช้ไฟจากแบตเตอร์รี่ อินเตอร์เฟซด้วย SPI ที่ความเร็วสูงถึง 10 MHz พร้อม watchdog timer ตรวจสอบอีเว้นท์ และหน่วยความจำที่มากขึ้น

[NASDAQ: MCHP] — ไมโครชิพ เทคโนโลยี, อิงค์ บริษัทชั้นนำผู้นำเสนอไมโครคอนโทรลเลอร์ อะนาล็อก และแฟลช-ไอพีโซลูชั่น เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่อุปกรณ์บอกเวลา/ปฏิทินเรียลไทม์แบบสแตนอโลน (stand-alone Real-Time Clock/Calendar (RTCC)) อุปกรณ์ MCP795WXX/BXX RTCC devices มีอินเตอร์เฟซ 10 MHz SPI, หน่วยความจำ non-volatile และฟีเจอร์ใช้งานต่างๆ ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งในอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน หรือบางรายที่ให้ฟีเจอร์น้อยกว่านี้อีกด้วย อุปกรณ์ที่เปิดตัวครั้งนี้ลดจำนวนคอมโพเน้นท์และค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในงานประเภท สมาร์ท-เอ็นเนอร์ยี (อาทิ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ, เครื่องตรวจวัดพลังงาน และการทำความเย็นเชิงพานิชย์); อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (อาทิ เครื่องทำกาแฟ, เตาหุงต้ม และไมโครเวฟ); อุตสาหกรรมยานยนต์ (อาทิ แผงหน้าปัดควบคุมในรถ, วิทยุติดรถ และ GPS); อุปกรณ์คอนซูมเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ (อาทิ อุปกรณ์ออฟฟิศและระบบวิดิโอ) และตลาดวงการสื่อสาร (อาทิ วิทยุ, โทรศัพท์ไร้สาย และระบบเครือข่าย) เป็นต้น

อุปกรณ์ MCP795WXX/BXX RTCC มีฟังก์ชั่นเตือนในระดับเสี้ยววินาที (millisecond alarms) และอินเตอร์เฟซ 10 MHz SPI ที่เรียกข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้โหมด MCU sleep และ power-down อยู่ได้เป็นเวลานานกว่าเดิม ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่น้อยลง และยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่ล้วนใช้ไฟน้อย อาทิ การตรวจสอบอีเว้นท์ (two event-detect inputs) ที่ใช้ไฟจากอุปกรณ์ RTCC น้อยมาก แต่สามารถปลุก MCU เมื่อเกิดอีเว้นท์ได้ เช่น กดสวิตช์ หรือระบบถูกล่วงล้ำ นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังรองรับหน่วยความจำแบบ non-volatile ได้สามประเภท ได้แก่ EEPROM, SRAM และ Unique ID ซึ่งสามารถซื้อแบบที่ยังไม่ได้โปรแกรม หรือแบบที่ได้ลง MAC address มาเลยก็ได้ ซึ่งทั้งสามประเภทนี้เป็นมาตรฐานเพื่อลดจำนวนคอมโพเน้นท์ และค่าใช้จ่ายในการทำชุดโปรแกรมต่อเนื่อง ฟีเจอร์อื่นๆ ยังรวมถึงระบบเปลี่ยนจากพลังงานแบตตารี่มาเป็นพลังงานสำรองอัตโนมัติ, รายงานลงเวลาเมื่อพลังงานหมด และช่วงเวลาที่ไม่มีพลังงาน และการเก็บข้อมูลคู่กับอุณหภูมิในระดับต่างๆ อุปกรณ์นี้มี digital-trimming range ที่กว้างพอที่จะชดเชยความถี่คริสตัล (crystal frequency) ที่แกว่งไปมาพร้อมกับอุณหภูมิ ในการออกแบบที่ใช้ low-frequency crystal ตัวที่สองนั้น ออพชั่น boot-clock ได้จัดเตรียมออสซิลเลเตอร์ภายในที่ความถี่ 32 kHz ตอนเปิดเครื่อง ลดความจำเป็นที่ต้องใช้คริสตัลตัวที่สองลงได้

"อุปกรณ์ SPI RTCC ใหม่ล่าสุดนี้ ทำให้ลูกค้าของไมโครชิพได้ใช้งานโซลูชั่นคุณภาพสูงในการลงเวลา ที่ยังสามารถเข้าไปมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนต่างๆ ของระบบได้ด้วย" แรนดี้ ดรวินก้า รองประธาน ฝ่ายโปรดักส์หน่วยความจำ ไมโครชิพ กล่าว "เราสามารถนำเสนอโปรดักส์ที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ได้ด้วยการนำศักยภาพหลักของไมโครชิพมารวมเข้ากับฟังก์ชั่นฟีเจอร์ใช้งานที่น่าใช้ต่างๆ มาใส่ลงในอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว ที่มาในราคาจำหน่ายที่ไม่สูง และสามารถนำมางานเสนอต่อให้แก่ลูกค้าได้"

การสนับสนุนการพัฒนาโปรดักส์

ไมโครชิพยังได้เปิดตัว MCP795XX SPI RTCC PICtail? plus daughter board (หมายเลขชิ้นส่วน AC164147) ซึ่งจะได้วางตลาดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ที่เว็บไซต์ microchipDIRECT (http://www.microchip.com/get/FU5C) บอร์ดแผงวงจรนี้สามารถ รองรับการใช้งานกับ Explorer 16 Development Board (หมายเลขชิ้นส่วน DM240001) และ PIC18 Explorer Board (หมายเลขชิ้นส่วน DM183032) เพื่อช่วยให้ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถใช้อุปกรณ์ MCP795WXX/BXX RTCC ในชิ้นงานได้

ข้อมูลการจัดจำหน่าย

พบกับ MCP795WXX RTCC devices ได้แล้ววันนี้ในแพกเกจ 14-pin SOIC และ TSSOP ส่วนอุปกรณ์ MCP795BXX คาดว่าจะวางตลาดในราวกลางเดือนธันวาคมในแพจเกจเดียวกัน อุปกรณ์ทั้งสองชนิดสามารถสั่งซื้อในจำนวน 10,000 ยูนิตได้แล้ว ท่านสามารถสั่งตัวอย่างได้แล้ววันนี้ ที่เว็บไซต์ http://www.microchip.com/get/9RSL ท่านสามารถสั่งซื้อในปริมาณมากได้แล้ววันนี้ ที่เว็บไซต์ microchipDIRECT (http://www.microchip.com/get/FU5C) ท่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อฝ่ายขายของไมโครชิพหรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งได้แล้วทั่วโลก หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ http://www.microchip.com/get/321S หากท่านต้องการสั่งซื้อสินค้าที่ปรากฎในข่าวประชาสัมพันธ์นี้ ท่านสามารถไปที่เว็บไซต์ microchipDIRECT หรือติดต่อพาร์ตเนอร์ตัวแทนจำหน่ายของไมโครชิพที่ได้รับการแต่งตั้งได้แล้ววันนี้

เกี่ยวกับไมโครชิพเทคโนโลยี

ไมโครชิพ เทคโนโลยี, อิงค์ (NASDAQ: MCHP) บริษัทชั้นนำผู้นำเสนอไมโครคอนโทรลเลอร์ อะนาล็อก และแฟลช-ไอพีโซลูชั่น ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลดค่าใช้จ่ายของระบบในระดับมหภาค และเพิ่มความเร็วในการส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ให้แก่ลูกค้าที่นำไปใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมายทั่วโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่เมืองแชนด์เลอร์ มลรัฐอริโซน่า ที่คอยให้การสนับสนุนทางเทคนิคัลเป็นอย่างดีต่อสินค้าทุกชิ้นที่สามารถวางใจได้ในคุณภาพ ท่านสามารถรู้จักไมโครชิพมากกว่านี้ได้จากเว็บไซต์ Microchip Web site (http://www.microchip.com/get/WB7C)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย