ภาพข่าว: วิกฤติเด็กไทยติดพนันบอล อุบลฯแชมป์ภูมิภาคเล่นพนันบอล

อังคาร ๐๖ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๐๘:๕๐
วันที่ 3-4 ธันวาคม 2554 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี : โครงการ “สื่อสารสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนสังคมปลอดพนัน” ภายใต้มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี มูลนิธิประชาสังคม และมูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน จัดกิจกรรมอบรมผลิตสกู๊ปข่าวให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ จ.อุบลฯเพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกทำสกู๊ปข่าวนำเสนอต่อสาธารณะชนได้ และให้พวกเขาเองได้รับรู้ถึงสถานการณ์ความรุนแรงจากการติดพนันฟุตบอลด้วย

คุณชัฏสรวง หลวงพล ผู้จัดการโครงการฯ เปิดเผยว่า ข้อมูลจากการสำรวจของ ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล พบว่า การพนันออนไลน์ในปัจจุบันเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี และพบว่า การพนันทางอินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะการพนันฟุตบอลออนไลน์ ซึ่ง จ.อุบลราชธานี กลายเป็นจังหวัดที่มีสถิติการเล่นพนันออนไลน์และการจับกุมการพนันในปริมาณที่สูงกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยรอบ ซึ่งหากเข้าสู่ฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญๆ เช่น ฟุตบอลยูโร ที่กำลังจะมาถึงนี้ จำนวนผู้เล่นจะสูงขึ้น รวมไปถึงปริมาณเงินหมุนเวียนในวงพนันที่จะสูงขึ้นอย่างมหาศาลซึ่งหลังจากจบเวทีในวันนี้ จะได้นำข้อคิดเห็นที่ได้จากผลงานสกู๊ปข่าวของเยาวชน รวมเข้ากับข้อเสนอของสื่อมวลชนที่มาเข้าร่วมงาน แล้วนำเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีต่อไป

นายพิริยะ ทองสอน จากมูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน กล่าวว่า การปราบปรามบ่อนการพนัน โต๊ะพนันบอล รวมถึงร้านพนันออนไลน์ในปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะกฎหมายที่ใช้ในการจับกุมเขียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2478 ซึ่งการพนันที่ระบุไว้ในกฎหมายนั้นปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้ว แต่การพนันที่เขาเล่นในปัจจุบันกลับไม่ถูกระบุอยู่ในกฎหมาย ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเอาผิดเจ้าของกิจการเช่น บ่อนออนไลน์ได้ และส่วนหนึ่งเกิดจากการรับส่วยทั้งในวงการตำรวจและผู้บริหารระดับสูงในพื้นที่ จึงมีการปล่อยปละละเลยเรื่อยมา ฉะนั้นทางที่ดีควรมีการผลักดันกฎหมายฉบับใหม่ที่มีความทันสมัย ครอบคลุมการกระทำผิดในรูปแบบใหม่ และต้องบังคับใช้อย่างจริงจังด้วย

นายดำ หนึ่งในเยาวชนจ.อุบลราชธานีที่เคยติดพนันบอล กล่าวว่า ตนเองเคยหลงเข้าไปอยู่ในวงการพนันบอลเพราะอยากเป็นเจ้าพ่อ มีเงิน มีอำนาจ แต่กลับพบว่าหลังจากเล่นเสียมากขึ้น มันกลับทำให้ชีวิตแย่ลง กลายเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงคิดว่าควรจะหยุดซึ่งขณะนี้ได้เลิกเล่นแล้ว และอยากฝากถึงเพื่อนเยาวชนที่ทั้งอยู่ในวงการและกำลังจะเข้าไปให้คิดดีๆก่อน เพื่อคนรอบข้างอันเป็นที่รักจะได้ไม่เสียใจ

สำหรับการอบรมใช้เวลาทั้งหมดวันครึ่ง โดยมีการฝึกผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาต่างๆในจังหวัดอุบลราชธานี 18 คน เช่น ม.อุบลราชธานี ม.ราชภัฎอุบลราชธานี และน้องๆระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดจะได้เรียนรู้การทำสกู๊ปข่าวแบบปฏิบัติการจริง ลงมือหาข่าวจริง ทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก โดยทุกกลุ่มใช้ความมุ่งมั่นผลิตชิ้นงานบางกลุ่มจนถึงเวลา 3 นาฬิกา เพื่อนำเสนอผลงานในตอนเช้า

จากการนำเสนอผลงานของทั้ง 3 กลุ่มแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในประเด็นที่ผู้จัดกำหนดไว้ได้เป็นอย่างดี และสามารถเข้าใจต่อสถานการณ์การพนันในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างลึกซึ้ง และจะนำข้อมูลรวมถึงประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยดึงเพื่อนที่รู้จักและกำลังจะเข้าไปอยู่ในวงการพนันให้ห่างออกมา อาจเป็นในรูปแบบนำเสนอผลงานที่ทำแล้วและอยากจะทำผ่านสื่อออนไลน์ไปถึงเพื่อนๆของพวกเขา

หมวดข่าว: อื่นๆ

คำค้น: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์,สสส.,สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี,มูลนิธิประชาสังคม,มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ