ม.อ.จับมือภาคเอกชนดันงานวิจัยสู่การพัฒนาชุมชน ลุยโครงการต้นแบบปลูกหญ้าช้างเนเปียร์ผลิตก๊าซชีวภาพ

พุธ ๑๔ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๑๓:๔๖
ม.อ. ลุยนำผลงานวิชาการด้านพลังงานทดแทนสู่การพัฒนาชุมชน ลงนามร่วมมือกับภาคเอกชน ผลักดันโครงการต้นแบบผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าช้างเนเปียร์ ร่วมกับน้ำเสียในฟาร์มสุกร เพื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน หวังส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรและลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีแนวคิดที่จะผลักดันผลงานวิชาการทางด้านพลังงานทดแทนสู่การพัฒนาชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด จังหวัดราชบุรี เพื่อร่วมกันทำโครงการต้นแบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าช้างเนเปียร์ ร่วมกับน้ำเสียในฟาร์มสุกร เพื่อช่วยส่งเสริมอาชีพเกษตรกรควบคู่ไปกับการผลิตพลังงานทดแทน

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ไชยประพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบพลังงาน ม.อ. ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้มีการนำผลงานการวิจัยไปพัฒนาต่อยอดในการพัฒนาชุมชน หลังจากที่ได้ศึกษาเรื่องการผลิตพลังงานทดแทนมาเป็นเวลากว่า 4 ปี โดยนำไปใช้เป็นองค์ความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา จนประสบความสำเร็จและนำไปสู่การขยายผลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรต่อไป

สำหรับโครงการต้นแบบผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าช้างเนเปียร์ร่วมกับน้ำเสียในฟาร์มสุกร เป็นการนำน้ำเสียในฟาร์มสุกรที่ผ่านการบำบัดไปใช้ปลูกหญ้าเนเปียร์ โดยวิธีการนี้ นอกจากจะช่วยลดน้ำเสียลงสู่คลองสาธารณะแล้ว ยังสามารถนำหญ้าเนเปียร์ซึ่งเป็นพืชโตเร็วที่ปลูกได้ไปเป็นอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งยังนำไปใช้หมักร่วมกับมูลสุกรเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพดีกว่าพลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวสามารถนำไปขยายผลในวงกว้าง ทำให้ภาคเกษตรสามารถปลูกพืชเนเปียร์เป็นพืชพลังงานทดแทนการปลูกพืชสวนพืชไร่ ก็จะช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศและสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นด้วย

ขณะที่นายสมชาย นิติกาญจนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ จะนำความสำเร็จจากโครงการนี้ไปต่อยอดงานในพื้นที่อื่นๆ ของฟาร์ม เพื่อเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากโครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการที่ดี ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร อีกทั้งยังเป็นส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนำของเสียจากฟาร์มมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย

เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ (ในนามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ :พิภพ ฆ้องวง (ท๊อป)

โทร: 0-2248-7967-8 ต่อ 118 E-mail: [email protected] / [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ