จากนั้นในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน สพพ.๕ ได้เดินทางเข้าพบและขอข้อมูลจากสำนักงานโยธาธิการจังหวัดเลย ทำให้ได้ทราบข้อมูลว่า สำนักงานโยธาธิการฯ มีกระบวนการศึกษาผังเมืองและจัดทำแผนการอนุรักษ์ การปรับปรุงภูมิทัศน์ และการกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดเลยไว้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการจัดทำแผนแม่บทฯ ของ อพท. อย่างมาก
ต่อจากนั้น สพพ.๕ จึงลงสำรวจพื้นที่เมืองเชียงคานอย่างไม่เป็นทางการ บริเวณถนนชายโขง ซึ่งเป็นย่านชุมชนเก่าแก่ ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวและแหล่งที่พักหลักของเมืองเชียงคาน เพื่อเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ ลักษณะและรูปแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยว และสัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนริมแม่น้ำโขง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแผนการบริหารจัดการพื้นที่ต่อไป
ในวันต่อมา วันที่ ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๔ สพพ.๕ เข้าร่วมประชุมและหารือกับคณะของนายกเทศมนตรีตำบลท่าลี่ และเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอท่าลี่ ณ ที่ทำการเทศบาลตำบลท่าลี่ ระหว่างการประชุมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และสภาพปัญหาของพื้นที่ รวมถึงมีข้อตกลงในการช่วยกันจัดทำแผนในการพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอขึ้น
และในช่วงบ่าย ได้ลงพื้นที่สำรวจ "แก่งโตน" แก่งหินที่เกิดขึ้นกลางแม่น้ำเหือง ซึ่งเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนที่มีความสวยงามแห่งหนึ่งของอำเภอท่าลี่ หลังจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมสะพานมิตรภาพน้ำเหือง ไทย-ลาว ซึ่งทางอำเภอท่าลี่และจังหวัดเลย มีแผนที่จะส่งเสริมพัฒนาให้เป็นพื้นที่การค้าชายแดนในอนาคต
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่
นางสาวชมพูนุท ธาราสิทธิโชค
เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร อพท. ๐ ๘๔ ๑๖๓ ๗๕๙๙