นายเจษฎา สุขทิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด บริษัทในกลุ่มซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทขอเสนอกองทุนเปิดหุ้นระยะยาว (LTF)และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ช่วงโค้งสุดท้ายของปี เพื่อให้ผู้ซื้อกองทุนนำเงินลงทุนไปใช้ลดหย่อนภาษี ซึ่งบริษัทมีกองทุนที่หลากหลายให้ผู้ซื้อเลือกลงทุนในกองทุนที่เหมาะสม โดยขณะนี้ บริษัทมี LTF ที่เด่นได้แก่ กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี ไลฟ์ 70 หุ้นระยะยาวปันผล (CIMB-PRINCIPAL 70LTFD) ซึ่งเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นสามัญบริษัทจดทะเบียนไม่เกิน 70% ส่วนที่เหลือจะกระจายการลงทุนบางส่วนไปในตราสารหนี้ภาครัฐ และตราสารหนี้เอกชนที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ข้อดีของกองทุน CIMB-PRINCIPAL 70LTFD คือ จ่ายปันผลไม่เกินปีละ 4 ครั้ง
กองทุน CIMB-PRINCIPAL 70LTFD มีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท ขนาดกองทุนปัจจุบัน 83.25 ล้านบาทลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท พิเศษ สำหรับผู้ซื้อกองทุน CIMB-PRINCIPAL 70LTFD จะได้รับประกันชีวิต 10 เท่าของมูลค่าเงินลงทุน ด้วยความคุ้มครองสูงสุด 1 ล้านบาท
“กองทุนนี้เหมาะกับผู้ต้องการหักลดหย่อนภาษีและต้องการลงทุนใน LTF ที่จำกัดการลงทุนในหุ้นไว้ระดับหนึ่งเพื่อกระจายการลงทุนไปยังตราสารอื่นๆที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้บริษัทเอกชนคุณภาพดี เหมาะกับผู้ที่ไม่นิยมความเสี่ยงมากนัก” นายเจษฎา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการลงทุนใน LTF โดยสามารถรับความเสี่ยงได้มาก สามารถเลือกลงทุนใน CIMB-PRINCIPAL LTF ที่นำเงิน ทั้งหมดมาลงทุนในหุ้น 100% โดยเริ่มลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท
ด้านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มีให้เลือกตามความเหมาะสมและการรับความเสี่ยงเช่นกัน ประกอบด้วย CIMB-Principal PRMF ซึ่งลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลล้วนๆ โดยมีความเสี่ยงต่ำสุด ถัดมา คือ CIMB-Principal FIRMF ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากกองแรกเล็กน้อยแต่ได้ผลตอบแทนดีกว่า สุดท้ายคือ CIMB-Principal EQRMF ลงทุนในหุ้น สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้มาก และได้รับผลตอบแทนตามหุ้น ผู้ที่สนใจ RMF สามารถลงทุนด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท
นายเจษฎา กล่าวว่า พิเศษ สำหรับผู้ลงทุนกองทุน LTF และ RMF กับบลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล วันนี้ถึง 30 ธ.ค.2554 จะได้รับบัตรกำนัลห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล หรือบัตรกำนัลเทสโก้ โลตัส ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีมูลค่าสูงสุด 1 แสนบาท ขึ้นอยู่กับยอดเงินลงทุนสุทธิซึ่งนับรวมถึงยอดโอนมาจากบลจ.อื่นด้วย (ตารางแนบ) โดยบริษัทจะจัดส่งบัตรกำนัลให้ลูกค้าไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์
ผู้ที่สนใจ LTF และ RMF สามารถจองซื้อและขอหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา ทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล 0 2686 9595 www.cimb-principal.com หรือ CIMB Thai Care Center 0 2626 7777 กด 0
**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
ตารางโปรโมชั่นบัตรกำนัล ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล หรือเทสโก้ โลตัส
สำหรับผู้ซื้อ LTF และ RMF ภายใน 30 ธ.ค.2554
จำนวนเงินลงทุน (บาท) บัตรกำนัล (บาท)
20,000-39,999 100
40,000-59,999 300
60,000-79,999 500
80,000-99,999 700
100,000-199,999 1,000
200,000-299,999 2,000
300,000-399,999 3,000
400,000-499,999 4,000
500,000-599,999 5,000
600,000-699,999 6,000
700,000-799,999 7,000
800,000-899,999 8,000
900,000-999,999 9,000
1,000,000 ขื้นไป เริ่มต้นที่ 13,000 และสูงสุดถึง 100,000
ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด ถือหุ้น 99.99% ของทุนจดทะเบียน โดย บริษัท ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ (CIMB-Principal Asset Management Berhad) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีขนาดกองทุนภายใต้การจัดการกว่า 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ มีเครือข่ายสาขากระจายอยู่ทั่วภูมิภาคเอเชีย โดย บริษัทฯ ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การจัดการกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และที่ปรึกษาการลงทุน
ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มี 157 สาขาทั่วประเทศ และให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายแก่ทั้งลูกค้าบรรษัทและลูกค้ารายย่อย ธนาคารยังให้บริการค้าหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่บริษัท ให้บริการกองทุนรวม การจัดการสินทรัพย์ และผลิตภัณฑ์ประกันภัย และบริการต่างๆผ่านทางบริษัทในเครือและสาขา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าเว็บไซต์ www.cimbthai.com
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เดิมรู้จักกันในชื่อ ไทยธนาคาร ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มซีไอเอ็มบี ในปี 2552 เมื่อกลุ่มซีไอเอ็มบี ได้เข้าถือหุ้น 93.15% โดย วันที่ 30 กันยายน 2554 สินทรัพย์ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีมูลค่าคิดเป็น 157,493 ล้านบาท
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB-’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ แก่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สะท้อนเหตุผลหลักที่มาจากการเพิ่มขึ้นของระดับการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจทั้งในเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานระหว่างธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย และซีไอเอ็มบี แบงก์ เบอร์ฮาด ของมาเลเซีย (ปัจจุบัน ฟิทช์ให้อันดับเครดิตที่ ‘BBB+’/ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) และมีเหตุผลรองมาจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในช่วง 12-18 เดือนที่ผ่านมาจากสภาวะของการดำเนินธุรกิจที่ดีขึ้น ซึ่งทำให้อันดับเครดิตของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สามารถปรับเข้าใกล้กับอันดับเครดิตของกลุ่มซีไอเอ็มบีมากขึ้น