อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ โชว์ผลงาน“ กองกำลังเฉพาะกิจสนธิกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อปราบปรามขบวนการลักลอบทำไม้พะยูง ”ในเขตภาคอีสาน ลงพื้นที่ไม่ถึง 3 เดือน ปิดคดีไปกว่า 400 คดี

อังคาร ๒๐ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๑๓:๓๗
สวนรุกขชาติอุบลวนารมย์ จ.อุบลราชธานี (16ธ.ค.) : เมื่อช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2554 นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช มอบหมายให้ นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช เดินทางมาร่วมงาน แถลงข่าวความคืบหน้า การปฏิบัติงานตามแผนเฉพาะกิจ ปราบปรามขบวนการลักลอบทำไม้พะยูง โดยมี นายไพบูลย์ รัตนะเจริญธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) เป็นผู้รายงานความคืบหน้าความสำเร็จของ แผนเฉพาะกิจเร่งด่วนเรื่องการปราบปรามผู้ลักลอบทำไม้พะยูง ในท้องที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช โดย ภายในงานมีโชว์การแสดงจากเยาวชนรณรงค์หยุดขบวนการทำไม้พะยูงและการเสวนา “หาทางออกของปัญหาเรื่อง การลักลอบตัดไม้พะยูงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ รวมไปถึงต้นไม้ประเภทอื่นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ” โดยมีตัวแทนคนรุ่นใหม่ นางเอกวิกช่อง 3 หยาดทิพย์ ราชปาล ร่วมเสวนาร่วมกับ นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช และ นายไพบูลย์ รัตนะเจริญธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)นอกจากนี้ภายในงานยังมีการสาธิตปลูกไม้พะยูงเพื่อทดแทนที่ถูกลักลอบตัดไป และ การจัดแสดงโชว์ของกลางที่จับกุมมาได้ รวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจมากมาย

โดยสำหรับที่กองกำลังเฉพาะกิจสนธิกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อปราบปรามขบวนการลักลอบทำไม้พะยูง นั้นสืบเนื่องจาก กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจาก นายดำรงค์ พิเดช ได้เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ปัญหาเรื่อง ขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงในภาคอีสานก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นภารกิจเร่งด่วน ในการแก้ปัญหา ขั้นเด็ดขาด เพราะปัจจุบันนี้ไม้พะยูงกำลังได้รับความนิยมสูง ในการนำไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ และประชาชนในพื้นที่ภาคอีสานรวมทั้งชาวต่างชาติ อาทิ ชาวกัมพูชา ก็เข้ามาลักลอบตัดไม้พะยูงในภาคอีสานบริเวณแนวชายแดนกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้พะยูง ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญ แหล่งสุดท้ายของโลก ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ลดน้อยลงทุกที และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในระยะยาวเกิดภัยพิบัติ ต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำท่วมหรือแผ่นดินไหว ไม้พะยูงแต่ละต้นมีอายุร่วม 100 ปี ดังนั้น การถูกลักลอบตัดไป และให้มีการปลูกทดแทน จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเพราะต้องใช้เวลานาน สิ่งที่เป็นการแก้ไขปัญหาไม้พะยูงได้ดีที่สุดคือ การปราบปรามขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงให้หมดไป และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน มีความรักและหวงแหนไม้พะยูง

โดยเน้นหนักในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในท้องที่รับผิดชอบ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบ 6 จังหวัดในภาคอีสาน คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกศ สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) มีพื้นที่รับผิดชอบ คือ อุดรธานี นครพนม สกลนคร หนองบัวลำภู หนองคาย เลย บึงกาฬ ดังนั้น ท่านอธิบดีฯ จึงได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่จำนวน 600 นายจากทั่วประเทศ จัดตั้งเป็น กองกำลังเฉพาะกิจสนธิกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อปราบปรามขบวนการลักลอบทำไม้พะยูง และส่งไปดูแลเรื่องการบุกรุกป่าพะยูงตั้งแต่กลางเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ล่าสุดเวลาผ่านไปไม่ถึง 3 เดือน ในส่วนของพื้นที่สีแดงที่เป็นอันตรายมากๆ เพราะมีการลักลอบสูงสุดคือ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) และ 10 (อุดรธานี) เป็นผู้รับผิดชอบนั้น ได้นำเสนอผลคืบหน้าความสำเร็จของการทำงานต่อ ท่านอธิบดีฯ ใน การปราบปรามขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงได้ร่วม 400 คดี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีกับความสำเร็จของ กรมอุทยานแห่งชาติฯ

“ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องป่าอนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ต้นน้ำธาร สวนรุกขชาติ วนอุทยานต่างๆ คือ อย่างนี้ครับปัญหาเรื่องไม้พะยูงมันเกิดมานานแล้วแต่ไม่รุนแรงมาก แต่ช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีความนิยมสูงในการนำไม้พะยูงไปแกะสลักเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ พอส่งออกต่างประเทศก็ราคาดี เลยทำให้เป็นที่นิยมกัน เหมือนสมัยก่อนที่ประเทศไทยนิยมนำไม้สักมาทำเฟอร์นิเจอร์ และปัญหาการจับกุมอะไรต่างๆ ก็อ่อนแอ เนื่องจากการเอาคนเข้าไปดูแลรักษาในพื้นที่อาจจะเข้ามาไม่ถูกต้อง เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการทำงานที่หย่อนประสิทธิภาพ ผมเองมองว่าการจัดการปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูง เราต้องใช้กลยุทธ์เชิงรุก ถ้าไม่ทำเช่นนี้ พื้นที่ป่าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีไม้พะยูงมากที่สุด จะต้องลดจำนวนลงทุกวัน ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้มีการทำงานอย่างเต็มกำลัง แต่เนื่องจากจำนวนบุคลากรที่มีน้อยและเป็นคนในพื้นที่ การทำงานจึงค่อนข้างลำบาก ดังนั้น เรื่องขบวนการลักลอบทำไม้พะยูง จึงเป็นวาระพิเศษที่ต้องดูแล และแก้ไขให้ได้ สำหรับ “ กองกำลังเฉพาะกิจสนธิกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อปราบปรามขบวนการลักลอบทำไม้ ” จำนวน 600 นาย จากทั่วประเทศที่ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะอีสานทางใต้นั้นทำงานอย่างแข็งขันมาก จนถึงวันนี้เกือบ 3 เดือน สถานการณ์ก็เบาบางลงมาก ขบวนการตัดไม้พะยูงค่อยๆหมดไป และในการที่กองกำลังเจ้าหน้าที่กองกำลังเฉพาะกิจไปลาดตระเวน ปฏิบัติงานนั้น มักเกิดการปะทะ การเสียชีวิต ผมเองในฐานะผู้ที่ดูแลตรงนี้อยู่ รู้สึกเสียใจมาก ได้แต่หวังว่าปัญหานี้หมดไป และผมต้องขอบคุณทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง บางคนเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อปกป้องผืนป่าให้คนรุ่นหลังอยู่รอด ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่ลักลอบตัดไม้พะยูง จะกลับตัวกลับใจมองปัญหาที่กระทบประชาชนส่วนใหญ่ เป็นหลัก สำหรับแผนในการทำงานของ“ กองกำลังเฉพาะกิจสนธิกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อปราบปรามขบวนการลักลอบทำไม้พะยูง ” นั้น ผมเองมีนโยบายให้ดำเนินการเป็นภารกิจระยะยาวต่อไป เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือ การหยุดการตัดไม้ทำลายป่าและหยุดการลักลอบบุกรุกไม้พะยูง เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ ที่ยั่งยืนให้กับธรรมชาติ บทบาทและภารกิจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช นั้นมีมากมาย ผมเอง ณ วันนี้ดูแลตรงนี้อยู่ขอบอกว่าผมจะสู้ให้ถึงที่สุด และผมก็อยากให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของผม รวมไปถึงพี่น้องประชาชนร่วมสู้ไปด้วยกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ ” นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธ์พืช กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ