กรมทรัพยากรน้ำบาดาลตอบโจทย์ ศึกษาการปนเปื้อนสารพิษในแหล่งน้ำใต้ดิน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์

พุธ ๒๑ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๑๕:๕๑
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2554 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดประชุมปัจฉิมนิเทศนำเสนอผลงานโครงการศึกษาการปนเปื้อนและวางเครือข่ายเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารพิษ

ในแหล่งน้ำใต้ดินพื้นที่ อำเภอทับคล้อ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์โรงแรมพิจิตรพลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมี นายสัมฤทธิ์ ชุษณะทัศน์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นประธานเปิดงาน และร่วมรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน

สืบเนื่องจากพื้นที่บริเวณอำเภอทับคล้อ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งแร่ทองคำในประเทศไทย ทำให้มีการร้องเรียนเรื่องคุณภาพน้ำบาดาล ของชุมชนบริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำ โดยอ้างว่าพบไซยาไนด์เจือปนในน้ำบาดาลจนไม่สามารถใช้น้ำบาดาลได้ และยังพบการปนเปื้อนของปริมาณสารหนูสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำบาดาลที่ใช้บริโภคได้

ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำผิวดินและน้ำบาดาล รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนจึงจำเป็นต้องศึกษาให้ทราบที่มาการปนเปื้อนของสารพิษ ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้งสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในพื้นที่โดยอาศัยความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน

กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นศึกษาการปนเปื้อนและวางเครือข่ายเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำใต้ดินพื้นที่อำเภอทับคล้อ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีผลการศึกษาระบุว่า มีการตรวจพบสารหนูในดินตั้งแต่ก่อนมีเหมืองแร่ทองคำในบริเวณนี้ เนื่องจากสารหนูเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในกลุ่มแร่ซัลไฟด์ ซึ่งเมื่อผุพังและถูกชะล้าง สารหนูจะไปเกาะตัวอยู่กับดินเหนียวและอินทรีย์วัตถุในดินมากกว่าที่จะละลายไปกับน้ำ ส่วนสารไซยาไนด์นั้น จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของเหมืองพบว่า มีปริมาณของไซยาไนด์ในแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินในพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว และจากผลการศึกษาครั้งนี้ ปริมาณไซยาไนด์ที่พบก็ไม่มีความแตกต่าง โดยสามารถตรวจพบไซยาไนด์ในแหล่งน้ำผิวดินได้ในฤดูแล้ง เนื่องจากฤดูดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำนิ่งไม่มีการไหลหรือมีน้ำขังอยู่เป็นช่วง ๆ ของลำคลองที่มีสภาพตื้นเขิน มีแบคทีเรียจำพวกไซยาโนไฟต้า ซึ่งมีความสามารถที่จะดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียไนไตรต์และไนเตรท ประกอบกับน้ำมีสภาพเป็นด่างทำให้ไซยาไนด์ละลายน้ำได้ดี จึงตรวจพบปริมาณไซยาไนด์เฉพาะในแหล่งน้ำผิวดินจากการเปรียบเทียบปริมาณของสารที่พบกับค่ามาตรฐาน ในแหล่งน้ำใต้ดินไม่มีไซยาไนด์เกินมาตรฐาน แต่มีการปนเปื้อนของสารหนูเกินมาตรฐานเล็กน้อย อย่างไรก็ตามสามารถนำน้ำมาบริโภคได้โดยผ่านระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น ระบบรีเวอร์สออสโมซิส (RO) แบบความดันสูง

รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้การปนเปื้อนของสารพิษในพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่พบในธรรมชาติ ตั้งแต่ก่อนมีโครงการเหมืองแร่ทองคำ แต่การปนเปื้อนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งจากภาคการเกษตรและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง กลับจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ดังนั้นจึงต้องให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการดูแลและอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรน้ำบาดาลในพื้นที่ รวมถึงการระดมความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์และเฝ้าระวังแหล่งทรัพยากรน้ำบาดาลร่วมกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ