มรภ.สงขลา ติวเขียนโครงการบริการวิชาการเตรียมรับประเมินคุณภาพการศึกษา

จันทร์ ๒๖ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๒๒
สำนักวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา ดึงบุคลากรฝึกเขียนโครงการบริการวิชาการ ให้ครอบคลุมตัวชี้วัด และสอดคล้องการประกันคุณภาพการศึกษา รองรับการประเมินภาพรวมมหาวิทยาลัย

ดร.ภวิกา บุญยพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันวิจัยฯ ได้จัดอบรมการเขียนโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ให้กับบุคลากรของ มรภ.สงขลา เนื่องจากในการดำเนินโครงการบริการวิชาการที่ผ่านมา ผู้จัดทำโครงการมักประสบปัญหาเขียนขอเสนอโครงการไม่ถูกต้อง และไม่ครอบคลุมตัวชี้วัดของการบริการวิชาการ ทำให้ต้องแก้ไขโครงการหลายครั้ง

ดร.ภวิกา กล่าวอีกว่า สำนักวิจัยฯ จึงจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนโครงการบริการวิชาการ เพื่อลดปัญหาในการเขียนโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น และเพื่อให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ครอบคลุมตัวชี้วัดของการบริการวิชาการ ทั้งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อรองรับการประเมินภาพรวมของมหาวิทยาลัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ