การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2012 “ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: เร่งพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ”

อังคาร ๑๐ มกราคม ๒๐๑๒ ๑๓:๒๗
การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2012“ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: เร่งพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ”

(Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters)

นับเป็นอีกครั้งที่การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลได้เวียนมาถึง โดยในปีนี้มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์กรสุขภาพในระดับโลก อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) ธนาคารโลก (World Bank) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า (JICA) เป็นเจ้าภาพร่วมในการประชุมนานาชาติ ประจำปี 2012 ในหัวข้อการประชุมว่า “ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: เร่งพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ” (Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters)

ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการจัดการประชุม การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า การประชุมที่จะเกิดขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าในระดับโลกให้บรรลุผล โดยมุ่งเน้นเรื่องปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ สนับสนุนการเจรจาความร่วมมือในระดับโลก และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างกลุ่มประเทศที่มีรายได้แตกต่างกัน เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเมื่อคราวจำเป็น โดยไม่มีอุปสรรคด้านค่าใช้จ่าย

“กิจกรรมในการประชุมครั้งนี้ จะประกอบไปด้วยการศึกษาดูงานด้านสาธารณสุขของไทย ในกรุงเทพฯและพื้นที่ใกล้เคียง การจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ และการประชุมในหัวข้อที่สำคัญในประเด็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีความพยายามผลักดันประเด็นที่จะทำให้เกิดการคุ้มครองสุขภาพแบบถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) มาตั้งแต่ปี 2005 จากมติที่ประชุม The World Health Assembly resolution, WHA 58.33 ต่อเรื่อง “sustainable health financing, universal coverage and social health insurance” เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญในระบบการเงินสุขภาพ เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างความเป็นเอกภาพ และจากการประชุมระดับโลกครั้งแรกขององค์การอนามัยโลกและสมาชิกเรื่องการวิจัยระบบสุขภาพ ในปี 2010 ที่มีแนวคิดมาจาก “science to accelerate universal health coverage” เพื่อส่งเสริมให้เกิดแรงขับเคลื่อนในเรื่องของการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage)

จากรายงานในหัวข้อ “การจัดหาระบบเงินสุขภาพ: เส้นทางสู่การประกันสุขภาพถ้วนหน้า” (health system financing: the path to universal coverage) เมื่อปี 2010 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน และกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยรายงานดังกล่าวเชื่อมั่นว่าทุกประเทศสามารถปรับปรุงระบบการเงินสุขภาพและสามารถสร้างการคุ้มครองสุขภาพแบบถ้วนหน้าได้

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวร่วมกันเพื่อปรับปรุงระบบการเงินสุขภาพ และมุ่งสู่การคุ้มครองสุขภาพแบบถ้วนหน้าต่อไป

ตลอดจนการประชุมสุดยอด G8 ในปี 2009 ก็ยังมุ่งมั่นเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ โดยมุ่งเน้นความสัมพันธ์ของ 3 องค์ประกอบ อันได้แก่ ระบบข้อมูลด้านสุขภาพ การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ และระบบการเงินสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศที่ให้การสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพถ้วนหน้า

“การแบ่งปันประสบการณ์ที่มีค่าจะนำมาซึ่งการพัฒนาระบบการเงินสุขภาพที่เหมาะสม และนำไปสู่การแปลงเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง“ ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช กล่าว

อย่างไรก็ตาม การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นของผู้นำด้านสาธารณสุขจากนานาประเทศ ในประเด็นด้านสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพของมนุษยชาติ และเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย

การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นการประชุมนานาชาติด้านสุขภาพที่ได้รับการยอมรับระดับโลก มีนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานระดับนานาชาติเข้าร่วมประชุม และเสนอประเด็นนโยบายด้านสุขภาพที่สำคัญเป็นประจำทุกปี ที่สำคัญคือ นักวิชาการและผู้นำด้านสาธารณสุขของไทยจะมีโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับองค์กร นักวิชาการ และผู้นำด้านสาธารณสุขในระดับโลก รวมถึงสร้างความประทับใจกับผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับประเทศไทย และส่งผลบวกต่อบทบาทของไทยในเวทีโลกในที่สุด

หัวข้อการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2007-2011

ปี 2007 (พ.ศ.2550) หัวข้อ: การเข้าถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับโรคที่ถูกมองข้ามและคนที่ถูกละเลย (Improving Access to Essential Health Technologies: Focusing on Neglected Diseases, Reaching Neglected Populations) นำประเด็นการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับโรคที่ถูกมองข้ามและคนที่ถูกละเลยมาเป็นหัวข้อการประชุม เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเกิดคำแนะนำในการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการเข้าถึงทางด้านสุขภาพและปรับปรุงสุขภาพของประชาชนให้ได้มากที่สุดและด้วยเหตุนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษต่อไป (MDGs)

ปี 2008 (พ.ศ.2551) หัวข้อ: เหลียวหลังแลหน้า: สามทศวรรษของการสาธารณสุขมูลฐาน (Three Decades of Primary Health Care: Reviewing the Past and Defining the Future” to commemorate the 30th anniversary of Primary Health Care) นำเสนอแนะนโยบายและการดำเนินการในทางปฎิบัติ โดยประเทศกำลังพัฒนาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการทำงานของระบบการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

ปี 2009 (พ.ศ.2552) หัวข้อ: การขับเคลื่อนมิติสุขภาพสู่นโยบายสาธารณะ (Mainstreaming Health into Public Policies) มีสาระสำคัญในการประชุม คือ การหารือเพื่อร่างมติ / นโยบายการขับเคลื่อนมิติสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้จริงและยั่งยืนในทุกๆ ระดับต่อไป

ปี 2010 (พ.ศ.2553) หัวข้อ: การจัดเวทีระดับโลก ครั้งแรก เรื่องสารสนเทศด้านสุขภาพ (Global Health Information Forum) หัวข้อการประชุม กระตุ้นให้เกิดการจัดการข้อมูลทรัพยากรพื้นฐานทางด้านสุขภาพในระดับโลกอย่างเร่งด่วน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและการเข้าถึงสากลเพื่อสุขภาพ

ปี 2011 (พ.ศ.2554) หัวข้อ: Second Global Forum on Human Resources for Health: Reviewing progress, renewing commitments to health workers towards MDGs and beyond เป็นการทบทวนความก้าวหน้าและยืนยันพันธสัญญา ในการกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์หันกลับมาทำงานในชุมชนของตนให้มากขึ้น และยังมีความพิเศษ คือการมอบรางวัล HRH Awards ให้แก่บุคคลที่เสียสละอุทิศตนเพื่อวงการแพทย์และสาธารณสุข ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยคัดเลือกจากบุคคลวงการแพทย์และสาธารณสุขจากทั่วโลกอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ