สถาบันคุ้มครองเงินเสริมสร้างความอุ่นใจ...ปลอดภัยทางการเงิน

พฤหัส ๑๒ มกราคม ๒๐๑๒ ๑๕:๔๗
สถาบันคุ้มครองเงินฝากเสริมสร้างความปลอดภัยทางการเงิน ปฏิบัติภารกิจดูแลจ่ายเงินคืนผู้ฝากเมื่อเกิดกรณีวิกฤติ พร้อมยังเป็นผู้ทำหน้าที่ชำระบัญชีจ่ายคืนเงินส่วนที่เหลือ หากมีเงินฝากเกินวงเงินที่กฎหมายกำหนด

นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่าที่ผ่านมา วิกฤตการณ์ทางการเงินสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2551 ถือเป็นวิกฤติการเงินครั้งใหญ่อีกครั้งที่ลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลัง โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ(ซับไพร์ม) ในสหรัฐอเมริกา ที่ได้แผ่ขยายลุกลามไปยังสินเชื่อประเภทอื่นๆ และมีผลกระทบต่อฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงิน จนนำไปสู่การขาดความเชื่อมั่นต่อสถาบันการเงิน รวมทั้งปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินทั่วโลก

ดังนั้น การประกันเงินฝากหรือการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองไว้ชัดเจนเป็นวิธีการหนึ่งของรัฐบาลในการคุ้มครองผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ว่าจะได้รับคืนทุกบาททุกสตางค์ อันจะบรรเทาความตื่นตระหนกเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินไม่มีความจำเป็นต้องเร่งถอนเงินที่อาจทำให้เกิดปัญหาขาดความเชื่อมั่นลุกลามต่อเนื่องในลักษณะลูกโซ่เหมือนในอดีต การคุ้มครองเงินฝากจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความปลอดภัยทางการเงิน

นายสิงหะกล่าวเพิ่มเติมว่า การมีสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เป็นผู้ทำหน้าที่จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการ จะมีข้อดีกว่าเดิมคือ ผู้ฝากจะได้เงินคืนอย่างรวดเร็วในจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาทในปี 2554 และ1 ล้านบาทหลังเดือนสิงหาคม 2555 จากนั้นจะได้รับเงินคืนส่วนที่เหลือภายหลังการชำระบัญชี ที่ไม่น่าจะมีกระบวนที่ยาวนานดังเช่นแต่ก่อน

โดยเมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต กฎหมายกำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากประกาศภายใน 40 วันให้ผู้ฝากเงินมายื่นเรื่องเพื่อขอรับเงิน นับแต่วันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยผู้ฝากมีเวลาในการยื่นขอรับเงินภายใน 90 วันนับแต่วันประกาศ เมื่อผู้ฝากยื่นคำขอแล้ว สถาบันต้องจ่ายเงินให้ผู้ฝากภายใน 30 วันเมื่อนำหลักฐานมาแสดงครบถ้วน ซึ่งการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาการจ่ายคืนผู้ฝากไว้อย่างชัดเจน ก็เพื่อให้ผู้ฝากเกิดความมั่นใจว่าหากสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้วจะได้รับเงินฝากคืนอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ เมื่อจ่ายคืนผู้ฝากแล้ว สถาบันคุ้มครองเงินฝากก็ยังทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชี เพื่อที่จะนำทรัพย์สินต่างๆเหล่านั้นมาแปลงเป็นเงินสด เพื่อแบ่งให้กับผู้ฝากเงินที่มีวงเงินเกินกว่าการคุ้มครองอีกทีหนึ่งดังนั้น ภารกิจของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นการช่วยบรรเทากรณีเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และยังช่วยลดภาระของภาครัฐในการเข้าแทรกแซงหรือช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาอีกด้วย

สำหรับผู้สนใจรายละเอียดต่างๆของสถาบันคุ้มครองเงินฝากสามารถติดตามหรือเสนอความคิดเห็นได้ทาง www.dpa.or.th หรือ 02-272-0400

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๑๗:๐๑ ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๑๗:๐๓ สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๑๗:๕๙ คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๑๗:๑๗ ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๑๗:๑๑ ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๑๗:๑๙ ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๑๖:๒๘ พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๑๖:๓๙ ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๑๖:๕๓ SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ