การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำแผนงานการเสริมสร้างมิติจิตตปัญญาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ( SHA CUP ) ขึ้นซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสร้างเสริมมิติจิตตปัญญาสู่ระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี และได้เชิญผู้แทนโรงพยาบาลหรือ CUP เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ , โรงพยาบาลหนองวัวซอ จ.อุดรธานี โรงพยาบาลยางตลาด จ.กาฬสินธ์ ,โรงพยาบาลเสาไห้ จ.สระบุรี โรงพยาบาล สำหรับกิจกรรมในโครงการจะมุ่งเน้นการพัฒนาในระบบบริการสุขภาพในระดับชุมชน เชื่อมโยงระบบบริการที่เกิดจากความคิด ความต้องการและพื้นฐานชีวิตของประชาชน เอกลักษณ์และวิธีไทย มาบูรณาการในระบบบริการ ใช้แนวคิด Safety, Standard, Spirituality และ Sufficiency economy ในการสร้างเครือข่ายระบบบริการและการเรียนรู้
และเพื่อให้การดำเนินงานมีความชัดเจน เกิดความต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ สถาบันจึงจัดให้มีการประชุมระดมความคิดเห็นแนวทางขับเคลื่อนมิติจิตตปัญญาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิขึ้น โดยการระดมความคิดเห็นของแกนนำของโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้นำชุมชน ในการกำหนดแนวทางตลอดจนประเด็นที่ใช้ในขับเคลื่อนมิติจิตตปัญญาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีระบบที่เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ มีมาตรฐานการทำงานร่วมกัน มีผลให้ประชาชน มีความตระหนัก ในการดูแลสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ด้วยตนเอง ภาคีเครือข่ายและองค์กรในพื้นที่มีส่วนร่วมและอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร
โดยบรรยากาศในการประชุมนอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกระบวนการทำงานของแต่ละ CUP แล้ว ยังมีการบรรยายองค์ความรู้และการรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วย โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วิจารย์ พานิช ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พลตำรวจตรีชุมศักดิ์ พฤกษาพงศ์ กรรมการบริหารสถาบัน นางดวงสมร บุญผดุงที่ปรึกษาสถาบัน ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และนายแพทย์ วราวุธ สุรพฤกษ์ เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ด้วย
ศาสตราจารย์วิจารย์ พานิช ได้กล่าวถึงโครงการว่า “ สิ่งที่ผมมาเห็นก็ นับว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน ซึ่งเป็นการเดินทางที่ยาว ซึ่งทีม SHA CUP ก็ หาทางพยายามพัฒนาระบบงานของตัวเองเพื่อหาทางให้ผู้ป่วยและญาติได้ประโยชย์ดี ยิ่งขึ้นได้รับบริการที่ดี มีสุขภาพสุขภาวะที่ดี ทำให้ผู้คนได้มีชีวิตที่ดี เวลาไม่ควรป่วยก็ ไม่ป่วย ซึ่งระบบที่ ทีมได้กำลังทำอยู่ได้จะทำให้เกิดระบบสุขภาพแบบพอเพียง แต่ว่าได้ผลดี ซึ่งการจะเป็นเช่นนั้นได้ การพัฒนาตัวระบบก็ ต้องมาจากฐานราก มาจากคนข้างล่าง รวมทั้งครอบครัวประชาชนช่วยกันสร้างขึ้นมา ตามสภาพชุมชนและวิถีคนท้องถิ่น การพัฒนาระบบสุขภาพระบบสุขภาวะส่วนใหญ่เกิดจาก Top down เมืองไทยกำลังทำ SHA ที่เกิดจาก Buttom up ที่อยู่กับความเป็นจริง อยากให้เกิดทั้งสองอย่าง ใช้ศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ทั้ง 4 CUP เลือกตัวเดินเรื่องด้วยภาวะโรค เบาหวาน 3 กลุ่มและผู้สูงอายุ อีก 1 กลุ่ม นำเสนอนั้นบอกเจตนารมณ์ ฟังแล้วก็สุข และจะสุขเพิ่มตอนทำงาน การเสนอคือปริยัติ ทำจริงๆ คือปฏิบัติ จนถึงปฏิเวท ผลของการปฏิบัติที่ส่งผลต่อผู้ป่วย ญาติ หรือชุมชนเราเอง สรพ.เป็นกลไกหนึ่ง ถ้าไม่ระวังจะไปบังคับผู้คน โดยใช้มาตรฐาน SHA คือเกณฑ์คุณภาพที่เกิดจากฐานล่าง เราทำงานอย่างมีความสุข”
ด้านนางดวงสมร บุญผดุงที่ปรึกษาโครงการได้กล่าวถึงภาพฝันหรือสิ่งที่คาดหวังในการจัดทำโครงการว่า ” อยากเห็นระบบที่เกิดขึ้นจากความงอกงาม ภาระของสรพ.คือการมองดูความงอกงามที่เกิดขึ้นมา ดีใจมากๆ ใน 2 วันนี้ ดีใจที่เห็นพลังความร่วมมือ เราจะทิ้งระบบที่ดีไว้ให้กับระบบสุขภาพของประเทศ ซึ่งก็ต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ อันจะเห็นผลในอีก 3 ปีข้างหน้าต่อไป”