กรีนพีซเตือนกระทรวงพลังงาน อย่าทิ้งต้นทุนจริงของถ่านหิน

ศุกร์ ๒๐ มกราคม ๒๐๑๒ ๑๑:๕๑
นักกิจกรรมกรีนพีซกว่า 20 คน รวมยื่นข้อเรียกร้องให้แก่นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองปลัดกระทรวงพลังงานที่หน้าตึกกระทรวงพลังงาน พร้อมมอบป้ายราคา “ต้นทุนจริงของถ่านหิน 52,340,000,000 บาท” เพื่อเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ที่กำลังเข้ารับตำแหน่งหยุดดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดที่ไม่คำนึงถึงต้นทุนด้านสังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเพิ่มภาระให้กับประชาชน

นักกิจกรรมได้ยื่นจดหมายพร้อม “บันทึกถ่านหิน” ซึ่งเป็นข้อมูลผลกระทบภายนอกของถ่านหินแก่กระทรวงพลังงานให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดที่กำหนดไว้ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2553-2573 หรือ พีดีพี 2010 ทั้งด้วยเหตุผลของความไม่โปร่งใสในการวางแผนพลังงาน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และต้นทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพจำนวนมหาศาลที่ไม่ได้นำมาคิดคำนวณและผลักภาระให้ประชาชนต้องเป็นผู้แบกรับผลกระทบจากการขยายโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหิน

หากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดขึ้น8,400 เมกะวัตต์ ตามแผนพีดีพี 2010 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่เกิดจากถ่านหินจะคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 52,340,000,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ การวางแผนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าที่ผ่านมาได้คิดเพียงต้นทุนของถ่านหินเพียงอย่างเดียว มิได้คำนวณ ต้นทุนผลกระทบภายนอก (external cost) ซึ่งยังคงทำให้ถ่านหินกลายเป็นเชื้อเพลิงที่ถูกที่สุดในบรรดาเชื้อเพลิงอื่นๆ และเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงหลักของการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทย

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างแผนพีดีพี 2010 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเสนอว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินคือ 2.94 บาทต่อหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แต่ในความเป็นจริงแล้วหากมีคำนึงถึงต้นทุนผลกระทบภายนอก เช่น ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านสังคมและสุขภาพ ต้นทุนจริงของถ่านหินทั้งหมดสูงถึง 5.70 บาทต่อหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) ที่สำคัญ ต้นทุนผลกระทบภายนอกดังกล่าวนั้นยังไม่ได้รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นต้นทุนผลกระทบภายนอกที่มหาศาล (1)

ทั้งนี้จากการศึกษาวิเคราะห์แผนทางเลือกการผลิตไฟฟ้าของภาคประชาชน 2010 (2) พบว่า ถ่านหินนำเข้าที่ระบุไว้ในแผนพีดีพี 2010 จะทำให้เกิดต้นทุนผลกระทบภายนอกตั้งแต่ 2.77 หมื่นล้านบาทต่อปี ในปีพ.ศ. 2553 ถึง 5.234 หมื่นล้านบาทต่อปี ในปี พ.ศ. 2573 ในขณะที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ (3) มีต้นทุนภายนอกตั้งแต่ 6.56 หมื่นล้านบาทต่อปี ในปี พ.ศ. 2553 และจะเริ่มลดลงตั้งแต่ปีพ.ศ. 2567 เนื่องจากทยอยปิดหน่วยผลิตที่หมดอายุไปเรื่อยๆ จนเหลือ 3.25 หมื่นล้านบาทต่อปี ในปีพ.ศ. 2573 ตามแผนพีดีพี 2010

“การวางแผนและตัดสินใจนโยบายพลังงานชี้ชัดว่า กระทรวงพลังงานบิดเบือนข้อมูลต้นทุนผลกระทบภายนอกของถ่านหิน (4) มาโดยตลอด และเพิกเฉยต่อตัวเลขกว่า 5 หมื่นล้านบาทนี้ ที่กำลังจะตกเป็นภาระของประชาชนที่จะต้องแบกรับกับวิกฤตการจัดการพลังงานของรัฐบาล” จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

หากมีการระบุโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นในการจัดทำแผนพีดีพีใหม่ในครั้งนี้ จะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมิเห็นความสำคัญต่อการประกาศใช้แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 - 2573) แม้แต่น้อย ซึ่งแผนประหยัดพลังงานดังกล่าวจะลดการใช้พลังงานในประเทศได้เกือบ 12,000 เมกะวัตต์ และสามารถทดแทนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ทั้งหมดที่ระบุตามแผนพีดีพีฉบับปัจจุบัน

“ขณะที่แผนพีดีพีฉบับใหม่ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้นตามกระบวนการของกฎหมาย แต่ขณะนี้มีอย่างน้อย 13 พื้นที่ที่หน่วยงานของภาครัฐกำลังเข้าไปสำรวจพื้นที่สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและเหมืองถ่านหินทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ลาวและพม่า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสายส่งตามแผนพีดีพีฉบับปัจจุบันที่กำลังอยู่ในระหว่างการแก้ไข ผู้คนในพื้นที่เหล่านั้นกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากแผนการขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด ในเมื่อข้อมูลและความถูกต้องของต้นทุนจริงของถ่านหินถูกบิดเบือนตั้งแต่การวางแผนพลังงานในระดับนโยบาย แผนพลังงานของประเทศฉบับที่มีการแก้ไขใหม่ก็จะไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนเพราะมาจากการวางแผนพลังงานที่ขาดความโปร่งใสและถูกต้อง” จริยา กล่าวทิ้งท้าย

กรีนพีซเรียกเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยุติดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดที่กำหนดไว้ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2553-2573 (พีดีพี2010) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนามาตรการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนอนุรักษ์พลังงาน และดำเนินนโยบายและมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้เกิดการขยายตัวด้านการลงทุน เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและการกระจายศูนย์พลังงานอย่างจริงจังในทุกระดับ

กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ

หมายเหตุ

(1) ดูรายละเอียดร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573ได้ที่

http://www.eppo.go.th/power/pdp/index.html

(2) การศึกษาวิเคราะห์แผนทางเลือกการผลิตไฟฟ้าของภาคประชาชน 2010, ศุภกิจ นันทวรการ, มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2553 (ยังไม่รวมต้นทุนที่เกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)

(3) http://www.bangkokpost.com/business/economics/240503/egat-makes-clean-coal-switch

(4) ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน สามารถอ่านได้ที่ http://www.greenpeace.or.th/true-cost-of-coal/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ