สรุปสถานการณ์มาตรการ AD/CVD/SG ของไทยในปี 2554

พุธ ๒๕ มกราคม ๒๐๑๒ ๑๔:๑๙
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถานการณ์ด้านการปกป้องและตอบโต้ทางการค้าของไทยทั้งในเชิงรุกและรับ ณ เดือนธันวาคม 2554 ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้มาตรการ AD กับสินค้า 8 รายการที่นำเข้าจาก 17 ประเทศ และใช้มาตรการ SG กับการนำเข้าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใส สำหรับมาตรการ CVD ยังไม่ได้มีการใช้กับสินค้าจากประเทศใด

โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping measure: AD) กับสินค้า 6 รายการที่นำเข้าจาก 16 ประเทศ ในปี 2554 ประเทศไทยได้มีการใช้มาตรการ AD เพิ่มขึ้นรวม 2 สินค้าจาก 2 ประเทศ คือ สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย และสินค้ากระเบื้องปูพื้นหรือติดผนังที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้มาตรการ AD กับสินค้าที่นำเข้ารวม 8 สินค้าจาก 17 ประเทศ โดยเป็นการใช้มาตรการ AD กับประเทศจีนมากที่สุด นอกจากนี้ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการทบทวนความจำเป็นในการใช้มาตรการ AD ต่อไปกับสินค้า 2 รายการคือ สินค้าเหล็กโครงสร้างหน้าตัดรูปตัว H (เหล็ก H-Beam) และสินค้ากรดซิทริก (กรดมะนาว) จากจีน และอยู่ในระหว่างการไต่สวนเพื่อกำหนดมาตราการ AD กับสินค้าที่นำเข้าอีก 5 รายการจาก 5 ประเทศ

สำหรับมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard measure: SG) ประเทศไทยได้มีการใช้มาตรการเป็นครั้งแรกในปี 2554 กับสินค้าบล็อกแก้วซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมจากทุกประเทศ ยกเว้นประเทศกำลังพัฒนา

ในส่วนของประเทศคู่ค้าที่มีการใช้มาตรการ AD มาตรการ CVD และมาตรการ SG กับสินค้าของไทย ณ เดือนธันวาคม 2554 สินค้าไทยถูกใช้มาตรการ AD รวม 54 รายการจาก 16 ประเทศ โดยประเทศที่ใช้มาตรการ AD กับสินค้าไทยมากที่สุดคืออินเดีย รองลงมาคือสหภาพยุโรปและตุรกี โดยสินค้าที่ถูกใช้มาตรการมากที่สุดคือสินค้าประเภทด้าย เส้นใยสังเคราะห์และเรซิ่น สำหรับมาตรการ CVD มี 1 รายการ คือเหล็กแผ่นรีดร้อนจากสหรัฐอเมริกา และถูกใช้มาตรการ SG สินค้า 5 รายการจาก 2 ประเทศ

รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก ประเทศต่าง ๆ จะมีแนวโน้มในการใช้มาตรการ AD/CVD/SG ต่อกันมากขึ้นเพื่อปกป้องเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศตนเอง ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตและ/หรือผู้นำเข้าจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจหลักเกณฑ์และขั้นตอนในกระบวนการไต่สวนเพื่อสามารถใช้สิทธิ์ในการปกป้อง สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ส่งออกควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย AD/CVD/SG ของประเทศคู่ค้าเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม โดยไม่ควรกำหนดราคาขายส่งออกต่ำเกินไปจนสร้างความเสียหายแก่ประเทศผู้นำเข้า หรือหากมีการส่งออกไปในปริมาณที่เพิ่มขึ้นก็ขอให้เพิ่มความระมัดระวัง เพราะอาจถูกประเทศคู่ค้าเปิดการไต่สวนได้ นอกจากนี้ผู้ผลิตและ/หรือผู้ส่งออกไทยควรให้ความร่วมมือในกระบวนการไต่สวน เช่น การตอบแบบสอบถาม การให้ข้อมูล เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการใช้สิทธิ์เพื่อปกป้องตนเอง

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการ AD/CVD/SG ได้ที่เว็ปไซด์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version