สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) และ ออนเอเชีย เอเจนซี่ภาพถ่ายชั้นนำ ประกาศผลการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 5

อังคาร ๓๑ มกราคม ๒๐๑๒ ๑๕:๑๕
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที)และออนเอเชีย เอเจนซี่ภาพถ่ายชั้นนำประกาศผลผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 5 ประจำปี 2554

การประกวดภาพถ่ายครั้งนี้มีช่างภาพมืออาชีพจากทั่วทั้งภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคให้เกียรติส่งภาพเข้าร่วมประกวดกว่า 316 ท่าน รวมผลงานกว่า 5,500 ชิ้น ซึ่งคณะกรรมการได้คัดสรรผู้ชนะในแต่ละประเภท ได้แก่ ภาพในเหตุการณ์ข่าว ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว ภาพชุด และภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม (ประเภทการแข่งขันพิเศษที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย) นอกจากนั้นคณะกรรมการยังได้คัดเลือกช่างภาพดีเด่นประจำปี ซึ่งถือเป็นรางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวดครั้งนี้

ซึ่งผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ได้แก่

ช่างภาพดีเด่นประจำปี : อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา

ภาพในเหตุการณ์ข่าว

รางวัลที่หนึ่ง: ซาลิล เบรา (การจู่โจมของเสือเบงกอล)

รางวัลชมเชย: อัลทาฟ คาดริ (ขบวนการอินฟาดาในแคว้นแคชเมียร์)

ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว

รางวัลที่หนึ่ง: เกรแฮม เคราช์ (คลินิคขาเทียมในคาบูล)

รางวัลชมเชย: มูฮัมเม็ด มูเฮเซน (ผู้ใช้แรงงานในปากีสถาน)

รางวัลชมเชย: เอ็ดวิน คู (หุบเขาสวัตในปากีสถาน)

ภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม

รางวัลที่หนึ่ง: แอรอน ฟาวิลา (พายุไต้ฝุ่นในฟิลิปปินส์)

รางวัลชมเชย: จาอิม ซาลาม (น้ำท่วมในบังคลาเทศ)

รางวัลชมเชย: เอริค เมสโซริ (เหมืองถ่านหินในอินเดีย)

ภาพชุด

รางวัลที่หนึ่ง: ดิเอโก เวอร์เจส (โรงละคร “Ludruk” ในอินโดนีเซีย)

งานประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว โดยสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที)และออนเอเชีย ถือเป็นงานประกวดที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของของภูมิภาคเอเซียตั้งแต่ปี 2550 ที่เริ่มจัดขึ้นเป็นแรก โดยมีช่างภาพมืออาชีพให้เกียรติส่งภาพร่วมประกวดมากขึ้นทุกๆปี และยังเป็นภาพถ่ายชั้นยอดที่ยกระดับการประกวดให้สูงขึ้นในทุกๆปีอีกด้วย ถือเป็นการแสดงศักยภาพของช่างภาพในภูมิภาคเอเซีย ที่ยังคงยืนหยัดนำเสนอภาพข่าวของเหตุการณ์สำคัญต่างๆ แม้จะได้รับแรงกดดันจากภาคุรกิจของอุตสาหกรรมข่าวสากลที่จำกัดค่าตอบแทนของช่างภาพเชิงข่าวก็ตาม

คณะกรรมการกล่าวยกย่องผลงานภาพถ่ายของอธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา ผู้ชนะรางวัลช่างภาพดีเด่นประจำปีนี้เป็นพิเศษ อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา เป็นช่างภาพเชิงข่าวในกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกตั้งแต่ประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว และกลายเป็นช่างภาพที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงในวงการช่างภาพเชิงข่าวของประเทศไทย ผลงานชิ้นโบว์แดงของเขาได้แก่ภาพผู้ชุมนุมเสื้อแดงในปี 2553 ซึ่งหนึ่งในผลงานครั้งนั้นได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว ในการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าวครั้งที่ 4 ของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที)และออนเอเชียในปี 2553ด้วย ส่งผลให้อธิษฐ์เป็นที่รู้จักในระดับสากลและยกระดับผลงานขึ้นไปอีก ในปี 2554 เขานำเสนอภาพข่าวของเหตุการณ์สำคัญในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคมากมาย เช่น เหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น และการเลือกตั้งในประเทศไทย ซึ่งผลงานภาพข่าวอันทรงคุณค่าเหล่านี้สร้างความประทับใจแก่คณะกรรมการในความหลากหลาย ความพยายาม และความกล้าหาญในการบันทึกเหตุการณ์สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพชุดของบริเวณที่เกิดเหตุการหลอมละลายของเตาปฏิกรณ์ “ฟุกุชิม่า ไดอิจิ” ซึ่งบันทึกภาพจากบริเวณ”เขตกักกัน”รอบๆเตาปฎิกรณ์ในระยะต่ำกว่า 20 กิโลเมตร ผลงานทั้งหมดของอธิษฐ์แสดงออกถึงความใส่ใจในรายละเอียดและความอ่อนไหวต่อความยากลำบากของเพื่อนมนุษย์ โดยปรากฎอย่างชัดเจนในผลงานชิ้นเอกของเขา ซึ่งสร้างชื่อให้อธิษฐ์จนได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในช่างภาพชั้นนำของเอเซีย

นอกจากนั้นคณะกรรมการยังกล่าวยกย่องการสนับสนุนของสหภาพยุโรปในประเทศไทย ต่อรางวัลพิเศษในประเภทภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งให้ความสำคัญต่อภัยธรรมชาติในทวีปเอเซียที่สหภาพยุโรปให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติและการใช้อย่างสิ้นเปลือง ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงสภาพแวดล้อมและสาธารณสุขด้วย ซึ่งสหภาพยุโรปร่วมสนับสนุนการประกวดประเภทพิเศษมาตั้งแต่ปี 2553 โดยในปีแรกนั้นให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนและการล่วงละเมิดทั้งในประเทศกัมพูชา พม่า และประเทศอื่นๆ

คณะกรรมการประทับใจในผลงานภาพถ่ายของแอรอน ฟาวิลา ผู้ชนะในประเภทพิเศษของปีนี้เป็นอย่างยิ่ง แอรอนได้ถ่ายภาพความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน ภาพผลงานที่น่าตื่นตะลึงของเขาเป็นรูปเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายห้อยโหนไม้ค้ำบ้านเพื่อพยายามเก็บกู้สิ่งของมีค่าหลังพายุไต้ฝุ่นเนสาตพัดทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยที่อยู่ติดชายทะเลทางตอนเหนือของมะนิลาในเดือนกันยายน 2554

อีกสองผลงานที่น่าประทับใจในประเภทภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม คือภาพชุดบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในบังคลาเทศซึ่งเกิดจากผลกระทบภาวะโลกร้อน และการขยายตัวของการทำเหมืองถ่านหินในเอเซีย ซึ่งบั่นทอนอายุของคนงานเหมืองพร้อมกับปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ

เดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ลาว และพม่า กล่าวว่า “สหภาพยุโรปรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการมอบรางวัลในประเภทนี้ ภาพผลงานที่ได้รับรางวัลสะท้อนถึงการกระทำของมนุษย์อันส่งผลต่อโลกที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์ ภาพผู้คนที่พยายามกอบกู้ทรัพย์สินหลังเผชิญหน้าพายุไต้ฝุ่นของแอรอน ฟาวิล่า ทำให้เราอดนึกถึงน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทยเมื่อปีก่อนไม่ได้ สหภาพยุโรปเป็นผู้นำในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน รวมถึงพยายามลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ผ่านการพัฒนาการใช้พลังงานอย่างพอเพียงและเพิ่มการใช้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม และภาพถ่ายเหล่านี้ได้ตอกย้ำความสำคัญของสิ่งที่เราพยายามอยู่”

“ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เราตื่นตะลึงในความทุ่มเท ทักษะ และจินตนาการของช่างภาพในเอเซีย แม้ว่าพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆก็ตาม” แพทริค บาร์ตา คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) และผู้จัดการประกวดภาพถ่ายกล่าวเสริม “เราภูมิใจที่ได้แสดงความยินดีในความสำเร็จของพวกเขา และหวังว่าการประกวดภาพถ่ายของเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปกป้องสิทธิของช่างภาพเชิงข่าวได้”

ผู้ชนะในการประกวดภาพในเหตุการณ์ข่าว ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว และภาพชุด จะได้รับเงินสด 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ และตั๋วเครื่องบินไปกลับสำหรับที่นั่งชั้นประหยัดในการเดินทางไปยังประเทศในทวีปเอเซีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสายการบินในกลุ่มสตาร์ อัลลิแอนซ์ ส่วนผู้ชนะการประกวดในประเภทภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม จะได้รับเงินสด 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นช่างภาพดีเด่นแห่งปี จะได้รับเงินสด 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ และตั๋วเครื่องบินไปกลับสำหรับที่นั่งชั้นประหยัดในการเดินทางไปยังประเทศในทวีปเอเซีย

การจัดการประกวดในครั้งนี้จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีไม่ได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากสปอนเซอร์และออนเอเซีย พันธมิตรสื่อของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที)

ออนเอเซีย (www.onasia.com) เอเจนซี่ภาพถ่ายเชิง... เป็นตัวแทนช่างภาพทั่วภูมิภาคเอเซียกว่า 200 คน ซึ่งนำเสนอภาพถ่ายจากหลากหลายประเภทตั้งแต่ด้านการเมืองไปจนถึงเทรนด์ทางสังคม รวมถึงภาพข่าว ภาพการท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจ และภาพวาดอีกด้วย

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) คือหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในการผลิตโพลีเอสเตอร์รวมของโลกและเป็นผู้ผลิตอาหาร, เครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์ดูแลเครื่องใช้ในครัวเรือนและส่วนบุคคล, ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์ยานยนต์, วัสดุสิ่งทอและอื่นๆ ซึ่งอินโดรามาคือผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันเอฟซีซี ที่ให้การสนับสนุนทางด้านเงินรางวัลของการแข่งขันในปีนี้

คณะผู้แทนกรรมการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ตัวแทนดูแลกิจการของสหภาพยุโรปในประเทศไทยและให้การสนับสนุนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนรวมทั้งการพัฒนาอื่นๆ โดยให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน ในประเภทการแข่งขันเพื่อสิ่งแวดล้อมในปีนี้

สตาร์ อัลลิอานซ์ เครือข่ายสายการบินระดับโลก รวมไปถึง สายการบินไทย และสายการบินนานาชาติชั้นนำ ให้การสนับสนุนตั๋วเครื่องบินไปกลับในเอเชียเพื่อเป็นรางวัลสำหรับการประกวด

โททัล ควอลิตี้ พับบลิค รีเลชั่นส์ (ทีคิวพีอาร์) บริษัทอิสระชั้นนำ ให้บริการด้านการปรึกษา และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าภายในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก โดยทีคิวพีอาร์ให้การสนับสนุนทางด้านการจัดการ และการปรึกษาทางด้านประชาสัมพันธ์ในการประกวดในปีนี้

บลูม ดิจิตัล โฟโต้ แล๊ป หนึ่งในแล็ปภาพถ่ายที่เชื่อถือได้มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้ให้การสนับสนุบกับทางสมาคมฯมายาวนาน ให้การสนับสนุนการจัดพิมพ์ภาพชนะเลิศที่มีคุณภาพสูงสำหรับนิทรรศการ ที่คลับเฮ้าส์ของสมาคมฯ และการบริการต่างๆ

การประกวดครั้งนี้ได้รับเกียรติจากช่างภาพมืออาชีพที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางร่วมเป็นกรรมการตัดสินผู้ชนะในแต่ละประเภท

เดิร์ค คลอส ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการภาพถ่าย ประจำภูมิภาคเอเซีย ของนิตยสารเสติร์นในฮ่องกงและกรุงเทพ เขารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกภาพถ่ายของ Stern.de ตั้งแต่ปี 2544-2551 ก่อนย้ายไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายภาพถ่ายต่างประเทศของเอเจนซี่รูปภาพในกรุงแฮมเบิร์ก เดิร์คสำเร็จการศึกษาจากจากรอยัล อคาเดมี ออฟ อาร์ท ในประเทศเนเธอแลนด์ และเริ่มอาชีพช่างภาพในฐานะผู้ช่วยช่างภาพและผู้จัดในกรุงแฮมสเบิร์กและอัมสเตอร์ดัม

แอน ออล์ฟ ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการภาพถ่าย ประจำยูโรเปียน เพรสโฟโต้ เอเจนซี่ (อีพีเอ) ตั้งแต่ปี 2550 เธอเริ่มงานกับอีพีเอครั้งแรกที่สำนักงานใหญ่ในกรุงแฟรงค์เฟิร์ต ก่อนจะย้ายมาที่กรุงเทพในปี 2552 และตั้งสำนักงานประจำภูมิภาคเอเซีย ปัจจุบันแอนย้ายไปร่วมงานกับฝ่ายบรรราธิการและการตลาดในสหรัฐอเมริกา

ดาเมียร์ ซากอล์จ เป็นช่างภาพเจ้าของรางวัลใหญ่ๆมากมายซึ่งประจำอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เขาดำรงตำแหน่งช่างภาพอาวุโสประจำภูมิภาคเอเซียของสำนักข่าวรอยเตอร์ส โดยบันทึกภาพเหตุการณ์สำคัญในภูมิภาคเอเซียและทุกที่ที่มีข่าวน่าสนใจ เขาทุ่มเทเวลากว่า 10 ปีในการนำเสนอภาพข่าวในตะวันออกกลาง เช่น ขบวนการอินดิฟาดา ความขัดแย้งระหว่างประเทศอิรักและอิหร่าน รวมถึงสงครามที่เพิ่งปะทุขึ้นในอิรักและอัฟกานิสถาน นอกจากนั้นเขายังใช้เวลากว่า 5 ปีเพื่อนำเสนอเหตุการณ์ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่าน ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์และจัดแสดงตามนิทรรศการต่างๆมากมาย รวมถึงเทศกาล Visa pour L’image อันทรงเกียรติ ณ กรุงแปร์ปิยอง

สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) จะจัดแสดงภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆใน:

วันที่ 20 มกราคม — 13 มีนาคม 2555

ณ เอฟซีซีที คลับเฮาส์

ชั้นเพนท์เฮ้าส์ อาคารมณียาเซ็นเตอร์

เลขที่ 518/5 ถนน เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 (เชื่อมกับบีทีเอส สถานีชิดลม)

ทุกวันจันทร์ — ศุกร์ เวลา 10.00 น — 23.00 น.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ