ผู้ว่าฯ อภิรักษ์เยี่ยมชมโรงเรียนสองภาษาที่โรงเรียนเบญจมบพิตร

อังคาร ๒๔ พฤษภาคม ๒๐๐๕ ๑๒:๒๙
กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--กทม.
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(20 พ.ค. 48) เวลา 10.00 น. ที่โรงเรียนเบญจมบพิตร เขตดุสิต นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนสองภาษาของโรงเรียนเบญจมบพิตร โดยมีนายอรรถพร สุวัธนเดชา ผู้อำนวยการเขตดุสิต นางเรวดี พระวิวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมบพิตร และผู้เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองศูนย์กลางทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว รวมถึงการเรียนรู้ กรุงเทพมหานครจึงมีนโยบายพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้นักเรียนของกรุงเทพมหานครสามารถเรียนรู้และใช้ภาษาได้อย่างน้อย 2 ภาษา เช่น ไทย-อังกฤษ ไทย-จีน ตามความเหมาะสมของพื้นที่ตั้งของแต่ละโรงเรียน ทั้งนี้ในอนาคตกรุงเทพมหานครจะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสองภาษาให้เหมาะสมและดียิ่งขึ้น รวมทั้งจะขยายโรงเรียนสองภาษาในโรงเรียนที่มีความพร้อมของโรงเรียน ครู นักเรียน โดยจะส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่องต่อไป อย่างไรก็ดีตนได้มอบหมายให้รองผู้ว่าฯ ดร.วัลลภ และสำนักการศึกษาประสานงานกับสถานทูตของประเทศต่างๆ เช่น อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย เป็นต้น เพื่อจัดหาบุคลากรจากประเทศนั้นๆ มาเป็นครูในโรงเรียนสองภาษาของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครได้กำหนดจัดการเรียนการสอนโรงเรียนสองภาษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยนำร่องสอนภาษาไทย-อังกฤษ ในโรงเรียนวัดมหรรณพารามและโรงเรียนเบญจมบพิตร รวมทั้งนำร่องภาษาไทย-จีน ในโรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ สำหรับ โรงรียนเบญจมบพิตรได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรสองภาษามาตั้วงแต่ปีการศึกษา 2547 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ด้านการจัดการศึกษาโรงเรียนสองภาษาไว้ ดังนี้ นักเรียนที่จบหลักสูตรสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร แสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนสู่สากลบนพื้นฐานความเป็นไทย และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนรู้ และสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ ตลอดจนมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารสู่ระดับสากล ซึ่งมีโครงสร้างเวลาเรียนหลักสูตรสองภาษาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ ดังนี้ การสอนโดยใช้อังกฤษ โดยครูจากต่างประเทศ ได้แก่ คณิตศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ภาษาต่างประเทศ รวมเวลา 12 ชั่วโมง การสอนโดยใช้ภาษาไทย ได้แก่ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การงานอาชีพและเทคโนโลยี รวมเวลา 16 ชั่วโมง และการสอนโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในกลุ่มศิลปะ ภาษาละ 1 ชั่วโมง
อย่างไรก็ดีในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนเบญจมบพิตร ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสองภาษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง ในปีการศึกษา 2548 สอนเพิ่มขึ้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 2 ระดับชั้นละ 2 ห้อง และมีแผนที่จะพัฒนาการเรียนการสอน Mini English Program เป็น English Program ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาศึกษาธิการ ซึ่งกำหนดให้มีการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษอย่างน้อย 15 ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ดังนี้ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วย--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ