TCELS ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิจัยจีโนมริเก้นประเทศญุปุ่น

จันทร์ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๒ ๑๑:๔๐
TCELS ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิจัยจีโนมริเก้นประเทศญุปุ่น จัดประชุมเครือข่ายเภสัชพันธุศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หวังใช้เวทีนี้ขยายผลสร้างเครือข่ายบริการในภาพรวมระดับนานาชาติ

นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงานการประชุมนานาชาติ “1st South East Asian Pharmacogenomics Research Network” ซึ่งจัดขึ้นโดย 4 หน่วยงานหลักคือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยจีโนมริเก้น ประเทศญี่ปุ่น โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ นักวิจัยชั้นนำด้านเภสัชพันธุศาสตร์จากประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีไต้หวัน มาเลเชีย อินโดนีเชีย และประเทศไทยร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียง

นายปลอดประสพ กล่าวว่า เภสัชพันธุศาสตร์ เป็นเทคโนโลยีแนวใหม่ในยุคจีโนมิกส์ที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก เนื่องจากเป็นการศึกษาที่ทำให้ทราบถึงลักษณะทางพันธุกรรมที่บ่งบอกถึงการตอบสนองต่อยาของแต่ละบุคคล การจัดประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายเภสัชพันธุศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้รับฟังความคืบหน้าและแบ่งปันประสบการณ์ด้านการวิจัยในสาขานี้จากนักวิจัยชั้นนำจากประเทศต่าง ๆ ที่ได้ศึกษางานด้านเภสัชพันธุศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถนำไปสู่กการเชื่อมโยงเครือข่ายบริการในระดับนานาชาติ

นายสุริยัน ปานเพ็ง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กล่าวว่า TCELS ได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ตั้งแต่ปี 2548 ด้วยเห็นว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างมากเนื่องจากเป็นการศึกษาถึงพันธุกรรมต่อการตอบสนองของยาแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และประหยัดงบประมาณให้กับประเทศชาติจากการใช้ยาแบบลองผิดลองถูกเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

รศ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยา และห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการรักษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะผู้อำนวยการโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ กล่าวว่า การวิจัยด้านจีโนมเดิมจำกัดวงเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยสูงมาก ในปี พ.ศ. 2554 การถอดรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคลมีค่าใช้จ่ายสูงถึงประมาณ500,000 บาท ดังนั้นข้อมูลจีโนมส่วนใหญ่จึงเป็นของประชากรในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งบางส่วน ไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรอาเซียนได้ จากการศึกษาระดับจีโนม พบว่าข้อมูลจีโนมของคนอเมริกัน ยุโรป แอฟริกัน จีนแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่น เกาหลี มีความแตกต่างกับกลุ่มประชากรของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นประเทศไทย

รศ.ดร.วสันต์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของมนุษย์ลดลงอย่างมากเหลือเพียง $1,000 หรือประมาณ 30,000 บาทต่อราย และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาเริ่มมีศักยภาพในการศึกษาวิจัยด้านจีโนมของตนเอง ประกอบกับความหลากหลายทางชีวภาพไม่ว่าจะเป็นทางด้านประชากรมนุษย์ สัตว์ พืช และจุลชีพ อันจะเป็นจุดแข็งในการวิจัยระดับจีโนม อาทิทางเภสัชพันธุศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมกัน เนื่องจากมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน และจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาแนวทางการตรวจวินิจฉัยและการแปลผลทางเภสัชพันธุ์ศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มประชากรอาเซียนจำนวน 560 ล้านคน ทดแทนการใช้ข้อมูลของประเทศนอกภูมิภาค ซึ่งอาจส่งผลให้การแปลผลมีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดเนื่องจากความแตกต่างในระดับจีโนม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO