ผลสำรวจความเครียดผู้บริหารเผยไทยติดอันดับ 5

จันทร์ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๒ ๑๒:๐๔
ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 5 ของโลกจากผลการวัดระดับความเครียดของผู้บริหารในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาโดย 55% ของผู้บริหารไทยเปิดเผยว่ารู้สึกถึงความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งรองจากประเทศกรีซ (67%) จีน (60%) ไต้หวัน (57%) และเวียดนาม (56%) ตามลำดับ

เอียน แพสโค กรรมการบริหารของแกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทยกล่าวว่า “การทำสำรวจโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารในหัวข้อนี้ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาอุทกภัยอย่างหนัก ดังนั้นตัวเลขระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2553 เพียงแค่ 10% มาเป็น 55% ในปี 2554 ถือว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้”

อย่างไรก็ตาม อัตราการเพิ่มของความเครียดของผู้บริหารทั่วโลกโดยรวมแล้วจัดว่าอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดจากการทำสำรวจตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจากผลการสำรวจธุรกิจกว่า 6,000 แห่งทั่วโลกจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) ด้วยสภาวะของเศรษฐกิจที่ตกต่ำอีกทั้งในหลายๆ ประเทศที่ยังต้องเผชิญหน้ากับความไม่มีเสถียรภาพทางธุรกิจ จึงเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าผู้บริหารทั้งหลายจะมีนโยบายการจัดการบริหารอย่างไรเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงวิธีการหลีกเลี่ยงความเครียด ไม่ว่าจะใช้วิธีชลอการเติบโตของธุรกิจหรือการนำเอาแนววิธีบริหารจัดการต่างๆ จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ปี 2553 จำนวน 45% ของผู้บริหารมีระดับความเครียดเพิ่มขึ้น แต่ตัวเลขดังกล่าวได้ลดลงเหลือเพียง 28% ในปี 2554 และตัวเลขดังกล่าวนี้ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันทั่วโลก โดย 21% ของผู้บริหารในทวีปอเมริกาเหนือมีระดับความเครียดเพิ่มขึ้นในรอบ 12 เดือน ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่สูงถึง 35% ประเทศในเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีระดับความเครียดสูงที่สุดถึง 44% ในรอบ 12 เดือน แต่ตัวเลขดังกล่าวนี้ก็ยังลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ 58% ในปี 2553 ในขณะที่ผู้บริหารในกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งกำลังเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำมีระดับความเครียด ในปี 2553 จาก 40% กลับยังลดลงเหลือเพียงแค่ 22% ในปี 2554 เช่นกัน

เอียน แพสโค เสริมว่า “ในขณะที่วิกฤตทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารส่วนใหญ่ได้เรียนรู้ถึงวิธีการแก้ไขและเผชิญปัญหาที่ดีขึ้น รวมถึงวิธีการจัดการกับความเครียดโดยมีการปรับมาตรฐานการวัดผลงานและเป้าหมายให้สมดุลย์สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น การปรับตัวดังกล่าวนี้เกิดขึ้นทั้งในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่เช่น BRIC เฉกเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในยุโรปที่เศรษฐกิจกำลังตกอยู่ในสภาวะย่ำแย่”

IBR ยังระบุว่า การทำให้ได้ตามเป้าหมายเชิงธุรกิจที่ตั้งไว้เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดของนักธุรกิจ จำนวน 30% ของผู้บริหารทั่วโลกระบุว่าปัจจัยดังกล่าวเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเครียด ณ ที่ทำงาน จำนวน 37 จาก 40 ประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจเห็นพ้องต้องกันในประเด็นนี้ ในขณะที่ความเครียดเนื่องมาจากปริมาณการสื่อสาร (11%) การเมืองในที่ทำงาน (11%) และความสมดุลระหว่างหน้าที่การงานกับการใช้ชีวิตส่วนตัว (9%) ไม่ได้ถูก ยกมาเป็นสาเหตุมากนัก

ศาสตราจารย์ จอห์น เมาลย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศาสตร์การวิจัยการตัดสินใจ จากภาควิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยลีดด์ ประเทศอังกฤษ ได้กล่าวไว้ว่า “ภาวะที่ผู้บริหารมีความต้องการมากขึ้นในช่วงเกิดปัญหาเศรษฐกิจเป็นผลทำให้ระดับความเครียดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารแต่ละคนจะพยายามบริหารจัดการกับความต้องการเหล่านี้เพื่อที่จะลดระดับความเครียดลงเสมอ และเนื่องจากพวกเขาไม่สามารถที่จะรับมือกับความกดดันที่มาจากตัวแปรภายนอกเช่นสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้ ดังนั้น พวกเขาจึงจำเป็นต้องหาทางออกโดยการปรับตัวเอง”

จากผลการสำรวจ พบว่าการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายเป็นทางเลือกหลักในการผ่อนคลายความเครียดของผู้บริหาร 62% ของผู้ให้การสำรวจจากทั่วโลกใช้วิธีดังกล่าวในการผ่อนคลายความเครียด สิ่งที่น่าสนใจก็คือความแตกต่างที่มีมากระหว่างกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ 78% และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ BRIC 40% นอกเหนือจากนี้ กิจกรรมอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในกาบรรเทาความเครียดจากผลการสำรวจคือ การแสวงหาสิ่งบันเทิงที่บ้าน (54%) นอกบ้าน (46%) การจัดแบ่งมอบหมายงาน (35%) และการกำหนดรูปแบบการทำงานให้คงที่ (35%) ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม แม้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขของวันลาหยุดพักร้อนกับระดับการเพิ่มของความเครียดจะมีให้เห็นอย่างชัดเจนก็ตาม IBR ได้ระบุว่ามีผู้บริหารเพียง 42% ที่เลือกที่จะลาหยุดพักร้อนเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียด ซึ่งรองลงมาจากการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย (62%) และการทำกิจกรรมบันเทิงที่บ้าน (54%)

ในบางประเทศที่มีตัวเลขการลาหยุดพักร้อนต่ำที่สุด อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่น จีน และ ไทย ก็จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับความเครียดสูงที่สุดควบคู่กันไป ในทางตรงกันข้าม ประเทศเนเธอร์แลนด์ รัสเซีย และ เดนมาร์ค มีตัวเลขการลาหยุดพักร้อนสูงที่สุดในปี 2554 และมีระดับการเพิ่มของความเครียดต่ำที่สุด

จากผลการสำรวจยังพบว่า ผู้บริหารไทยนิยมคลายเครียดด้วยการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย (33%) ทำกิจกรรมบันเทิงที่บ้าน (32%) นอกบ้าน (23%) และมีเพียงแค่ 18% ที่ใช้การลาหยุดพักร้อน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วผู้บริหารไทยลาหยุดพักร้อนเพียงแค่ 8 วัน ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ตามหลังประเทศญี่ปุ่น (5 วัน) และ จีน (7 วัน) ตามลำดับ

หมายเหตุ

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) นำเสนอทัศนคติและความคาดหวังของกว่า 11,500 ธุรกิจจาก 40 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจในแต่ละปี โดยเป็นการสำรวจที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการนำผลการสำรวจจากปีที่ผ่านๆ มามาจัดทำแนวโน้มข้อมูลซึ่งรวมถึง 20 ปีจากหลายประเทศในยุโรปและ 9 ปีจากหลายประเทศนอกเหนือทวีปยุโรป ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.internationalbusinessreport.com

การเก็บข้อมูลการสำรวจนั้นจัดทำผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เป็นหลัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น (จัดทำผ่านทางไปรษณีย์), ฟิลิปปินส์และอาร์เมเนีย (จัดสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว), จีนและอินเดีย (ใช้ทั้งวิธีตัวต่อตัวและทางโทรศัพท์) เนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบในการเข้าถึงผู้ร่วมการสำรวจ ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ช่วยให้แกรนท์ ธอร์นตัน สามารถจัดทำการสัมภาษณ์ได้ตามจำนวนครั้งที่ตั้งไว้ และมั่นใจได้ว่าผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่ทำงานในองค์กรที่อยู่ในเกณฑ์การสำรวจที่กำหนดไว้

การเก็บข้อมูลนั้น บริหารจัดการโดยบริษัทวิจัย Experian ซึ่งจัดทำการแปลแบบสอบถามเป็นภาษาของแต่ละประเทศ โดยนอกเหนือจากคำถามหลักแล้ว แต่ละประเทศสามารถเพิ่มเติมคำถามที่สำคัญหรือเจาะจงเกี่ยวกับประเทศตนเองได้ และตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป การเก็บข้อมูลได้จัดทำทุกไตรมาส โดยในแต่ละครั้งจะใช้เวลาราว 1 เดือนครึ่ง

กลุ่มตัวอย่างIBR เป็นการสำรวจทัศนคติของธุรกิจเอกชนที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สำหรับผลสำรวจเรื่องระดับความเครียดของผู้บริหารครั้งนี้ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวน 6,000 รายทั่วโลก ในช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม ปี 2554 ที่ผ่านมา

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารในระดับประธานกรรมการบริษัท กรรมการบริหาร ประธาน และผู้บริหารอาวุโส (ชื่อตำแหน่งนั้นอาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ) จาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจ ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การผลิต (25%), การบริการ (25%), ค้าปลีก (15%) และการก่อสร้าง (10%) โดยอีก 25% เป็นการสำรวจในอุตสาหกรรมอื่นๆ

กลุ่มตัวอย่างในทุกประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่มาจากอุตสาหกรรมข้างต้นที่กล่าวมา แต่ในบางประเทศก็จะมีการนำเสนอข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แตกต่างไปโดยมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ทั้งนี้จำนวนของกลุ่มตัวอย่างต้องมีมากเพียงพอด้วย

กลุ่มเศรษฐกิจ/ภูมิภาค ประเทศที่ได้รับการสำรวจในIBR

เอเชีย-แปซิฟิก(APAC) ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, อินเดีย, ญี่ปุ่น, จีน, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ไทย, เวียดนาม

กลุ่มประเทศอาเซียน มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม

BRIC บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน

สหภาพยุโรป(EU) เบลเยียม, เดนมาร์ค, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, ไอร์แลนด์, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, สเปน, สวีเดน,อังกฤษ

G7 แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น,อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา

ละตินอเมริกา อาร์เจนตินา, บราซิล, ชิลี, เม็กซิโก,เปรู

นอร์ดิค เดนมาร์ค, ฟินแลนด์, สวีเดน

อเมริกาเหนือ แคนาดา, สหรัฐอเมริกา

อื่นๆ อาร์เมเนีย,บอตสวานา,จอร์เจีย,แอฟริกาใต้,สวิสเซอร์แลนด์,ตุรกี, สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรทส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ