สมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ จัดประชุมเป็นครั้งแรกในไทย หวังร่วมกันต่อสู้แก้ปัญหาธาลัสซีเมียทั่วโลก

อังคาร ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๒ ๑๐:๒๑
สมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ (T.I.F) ร่วมกับมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย (TFT) และมหาวิทยาลัยมหิดล(MU) จัดประชุมวิชาการภายใต้ชื่อ “ The 1st Pan - Asian Conference on Haemoglobinopathies Bangkok — Thailand on 8-10 February 2012 ” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อรายงานสถานการณ์ของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย กลยุทธ์และแนวทางการป้องกันความผิดปกติของฮีโมโกลบิน โดยมีผู้เชี่ยวชาญ อาทิ Mr. Panos Englezos ประธานสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย เข้าร่วมประชุม โดยมีเป้าหมายส่งเสริมโครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงการรักษาและพยายามทำให้ผู้ป่วยทั่วโลกได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

นายพานอส เอนริซอส ประธานสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ (Thalasseamia International Federation —T.I.F) กล่าวว่า Mediteranean Anemia คือโรคโลหิต(เลือด)จางทางพันธุกรรมโรคหนึ่งที่มีรายงานครั้งแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1927 ในผู้ป่วยที่อาศัยในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน ผู้ป่วยโรคนี้มีฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดงลดลง ฮีโมโกลบินต่ำทำให้เกิดอาการซีด ต่อมาเรียกโรคนี้ว่า ธาลัสซีเมีย (Thalassa=ทะเล) โรคนี้พบในชาวยุโรปเหนือ เอเชีย อเมริกาใต้ และต่อมาพบว่าพบได้ทั่วโลก โดยพบมากที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการมีการย้ายถิ่นฐานของประชากรชาติต่างๆ โดยประมาณจะมีผู้ป่วยธาลัสซีเมียเกิดใหม่ที่เป็นโรคถึงปีละ 300,000 ราย และมีผู้เป็นพาหะในโลกมากถึงร้อยละ 5 หรือประมาณ 250 ล้านราย

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีอาการซีดจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตกง่ายเรื้อรัง จึงมีอาการต่างๆ ได้แก่ อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ และภาวะแทรกซ้อนจากต่างๆ ได้แก่ ดีซ่าน ม้ามโต ตับโต กระดูก เปลี่ยนรูปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกใบหน้า กระดูกเปราะง่าย มีนิ่วในถุงน้ำดี มีภาวะเหล็กเกินในอวัยวะต่างๆ ซึ่งเกิดจากได้รับธาตุเหล็กจากเลือดที่ได้รับและการดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มจากลำไส้ ผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องได้รับเลือดและยาขับธาตุเหล็กเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการรักษาประคับประคองตลอดไป แม้การรักษาให้หายขาดจะทำได้เพียงในจำนวนน้อย เพราะข้อจำกัดในการรักษา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยจะมีอายุไม่ยืนยาว มักเสียชีวิตจากภาวะซีด หัวใจวาย ติดเชื้อ ภาวะเหล็กเกินและอวัยวะล้มเหลว

ปัจจุบันมีวิธีการรักษาได้แก่ การให้เลือด การขับธาตุเหล็ก การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ผู้ป่วยและครอบครัวต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียตั้งแต่สาเหตุ อาการของโรค การรักษา และการป้องกัน รวมทั้งปฏิบัติตนเพื่อรับการรักษาตลอดไป

ปัญหาของผู้ป่วยนอกจากป่วยจากโรค ยังมีผลต่อครอบครัวหลายประการ ทั้งด้านจิตใจ เศรษฐกิจ สังคม เนื่องจากธาลัสซีเมียเป็นปัญหาของคนทั่วโลก และความรู้เรื่องธาลัสซีเมีย การรักษาและการป้องกันในแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกันมาก ในบางประเทศผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างดีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีโครงการควบคุมป้องกันโรคเป็นอย่างดี เด็กธาลัสซีเมียจึงสามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีสุขภาพแข็งแรงได้ ในขณะที่บางประเทศมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้น้อยมาก และผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเท่าที่ควร ทำให้เสียชีวิตก่อนวันอันควรเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเป็นที่ตระหนักกันแล้วว่าธาลัสซีเมียเป็นปัญหาของคนหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ผู้ป่วยธาลัสซีเมียและผู้เกี่ยวข้อง มีความเห็นว่าควรมีองค์กรที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้และช่วยเหลือผู้ป่วยธาลัสซีเมียทั่วโลกด้วย จึงนำมาซึ่งการก่อตั้ง T.I.F (Thalassaemia International Federation)

T.I.F เป็นองค์กรการกุศลที่ทำงานเพื่อผู้ป่วยธาลัสซีเมีย และมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งแต่ ค.ศ.1966 โดยมีเครือข่ายสมาชิกจากสมาคม และมูลนิธิธาลัสซีเมียจากนานาชาติถึง 98 สมาคม จาก 60 ประเทศ

ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ หัวหน้าโครงการวิจัยธาลัสซีเมียสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การจัดประชุม (T.I.F) อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ( The 1st Pan-Asian Conference on Haemoglobinopathies Bangkok-Thailand on 8-10 February 2012) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัยพัฒนา และพยายามให้ผู้ป่วยทั่วโลกได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน ที่สำคัญเพื่อให้เกิดความรู้จักมักคุ้น เกิดพลังความสามัคคีที่จะสร้างพลังร่วมมือร่วมใจกันให้ต่อสู้กับโรคธาลัสซีเมียให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ภายใต้ความร่วมมือโดยมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยมหิดล

สำหรับบุคคลสำคัญเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย Mr.Panos Englezos ประธานสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ, Dr. John B. Porter (UK), Dr. Androulla Eleftheriou , นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ,ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล , ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรคโลหิตจากธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย,รศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ หัวหน้าโครงการวิจัยธาลัสซีเมียสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหิดล และตัวแทนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก 20 ประเทศในเอเชียมาเข้าร่วมประชุม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ :

คุณปาริชาติ สุวรรณ(ปุ้ม) , คุณธนศักย์ อุทิศชลานนท์ (โป้ง) ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร 0-2439-4600 ต่อ 8203, 8202

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version