สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสมาชิกอาเซียนพร้อมจับมือสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นร่วมพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา รองรับ AEC

จันทร์ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๒ ๑๐:๒๗
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงความสำเร็จของการประชุมระหว่างหัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียนกับสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2555 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ว่า เป็นครั้งแรกที่หัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสมาชิกสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน 10 ประเทศ ได้พบหารือเรื่องความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา กับนายโยชิยูกิ อิวาอิ หัวหน้าสำนักงานสิทธิบัตรประเทศญี่ปุ่น โดยที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่น โดยมอบให้แต่ละประเทศไปดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อพร้อมลงนามบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation) ระหว่างกันอย่างเป็นทางการ ในการประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน (ASEAN Working Group on Intellectual Property Cooperation : AWGIPC) ครั้งที่ 38 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2555 ณ ประเทศสิงคโปร์

นางปัจฉิมา แจ้งว่า บันทึกความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ที่จะเกิดขึ้นนี้ จะเป็นความร่วมมือฉบับแรกที่สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสมาชิกอาเซียนลงนามร่วมกับสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น ซึ่งจะประกอบด้วยความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และพัฒนาระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านเครื่องหมายการค้า การออกแบบอุตสาหกรรม สิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร ผ่านการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ การฝึกอบรมบุคลากร เป็นต้น ซึ่งอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ในฐานะประธาน AWGIPC รู้สึกยินดีที่ญี่ปุ่นเห็นความสำคัญในการดำเนินความร่วมมือกับอาเซียน เนื่องจากทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ค้าที่สำคัญระหว่างกัน โดยในปี 2553 อาเซียนมีการค้ากับญี่ปุ่น สูงถึงร้อยละ 10.5 ญี่ปุ่นมีการลงทุนในอาเซียน ในปี 2554 ร้อยละ 15.6 ของการลงทุนในต่างประเทศของญี่ปุ่น โดยไทยเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่ญี่ปุ่นมีการตั้งฐานทำการวิจัยและพัฒนา ยื่นจดเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และสิทธิบัตรการออกแบบ มากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน โดยในปี 2553 ญี่ปุ่นยื่นคำขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในไทย ประมาณ 2000 คำขอ สิทธิบัตรการออกแบบ 400 กว่าคำขอ และเครื่องหมายการค้า ประมาณ 2500 คำขอ เป็นต้น จึงถือว่าขณะนี้ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการลงทุนและดำเนินธุรกิจในประเทศอาเซียนมาก ซึ่งรวมไปถึงพม่า ที่เริ่มจะมีการเปิดประเทศ ก็ได้ส่งผู้แทนมาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีจะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยบันทึกความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทย แต่ไทยจะได้รับความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และความรู้ในเชิงวิชาการจากญี่ปุ่น ซึ่งมีความก้าวหน้าในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น

นางปัจฉิมา เปิดเผยว่า ในการประชุมครั้งนี้ หัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน ยังได้มีโอกาสพบหารือกับผู้บริหารของบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น เช่น ฮอนด้า พานาโซนิก โซนี่ ยูนิชาร์ม ซิสเม็ก และมิตซูบิชิเคมีคอล เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้ ขอให้อาเซียนเร่งพัฒนาระบบการให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เร่งรัดกระบวนการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และการออกแบบให้เร็วขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนและทำธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ในอาเซียนด้วย โดยเฉพาะเมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 ที่การค้าระหว่างอาเซียนจะเป็นเสรี ทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตขนาดใหญ่ ที่เป็นที่สนใจและดึงดูดใจในการลงทุนของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงเห็นความสำคัญและเรียกร้องให้สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน มีการพัฒนาระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้ได้มาตรฐาน มีระบบการจดทะเบียนซึ่งสอดคล้องกันในระดับภูมิภาค ซึ่งนางปัจฉิมา แจ้งว่า สิ่งเหล่านี้ก็สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อรองรับการเข้าเป็น AEC ของอาเซียนอยู่แล้ว โดยอาเซียน มีแผนที่จะให้ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคีความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ เช่น พิธีสารมาดริด เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ และความตกลงเฮก เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบระหว่างประเทศ ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ภายในปี 2558 ตลอดจนการจัดทำเวบไซด์ที่จะเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจ และนักลงทุนที่ต้องการใช้บริการ เป็นต้น

ในโอกาสนี้ อฺธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังได้หารือทวิภาคีกับนายอิวาอิ หัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่น ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งในฐานะที่ญี่ปุ่นมีประสบการณ์ในการสมัครเข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริด ก็ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ไทย เช่น ด้านการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร และเตรียมความพร้อมด้านเทคนิค การจัดทำระบบการจดทะเบียนไร้กระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้จัดการสัมมนาโดยเชิญนักธรุกิจ และผู้ประกอบการญี่ปุ่นประมาณ 300 คน เข้าร่วมในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อรับฟังแผนกิจกรรมและความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียนเพื่อรองรับการเข้าเป็น AEC ซึ่งได้รับความสนใจจากนักธุรกิจญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๓ LE โชว์ผลงาน Q3/67 กำไรทะยาน 312% รายได้อยู่ที่ 720 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง ล่าสุดกอด Backlog แน่น 1,300
๑๗:๕๐ แม็คโคร พัทยา ปรับโฉมใหม่ รองรับกำลังซื้อช่วงไฮซีซั่น พร้อมจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าส่งท้ายปี ส่งมอบความคุ้มค่าทั่วเมืองพัทยา
๑๗:๒๑ ยันม่าร์ โชว์นวัตกรรมการเกษตร ในงานประชุมใหญ่ชาวไร่อ้อยสามัญประจำปี พร้อมฉลองครบรอบ 45 ปี สนับสนุนเงินดาวน์แทรกเตอร์ถึง 3
๑๗:๕๒ CHAYO งบ Q3/67 สุดปังทั้งรายได้และกำไร งวด 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% มั่นใจรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20%
๑๗:๔๘ TNP เข้ารับเกียรติบัตร CAC ในฐานะบริษัทฯ ที่ได้รับการต่ออายุรับรองครั้งที่ 2 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในภาคเอกชนไทย
๑๗:๕๙ คริสตัล โฮม ร่วมกับ AXOR จัดเวิร์กชอป The Power of Colors เผยเคล็ดลับดีไซน์ห้องน้ำหรูด้วยสีสันที่โดดเด่น
๑๗:๓๕ ทีเอ็มบีธนชาต ชวนซื้อสลากกาชาดทีทีบี ได้บุญ พร้อมลุ้นโชค 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การให้ บำรุงสภากาชาดไทย
๑๗:๒๕ PRTR ประกาศงบ Q3/67 กำไรนิวไฮอีกครั้ง โตกว่า 14% ธุรกิจ Outsource ดาวเด่น คาด Q4/67 ดีมานด์พุ่ง
๑๗:๔๔ PLUS ส่ง Coco Royal ลุยช่องทางการขายชั้นนำในจีน ดันยอดขายพุ่ง รับออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ พร้อมเดินหน้าเต็มกำลังการผลิต
๑๗:๓๘ PRAPAT ฟอร์มแกร่ง! กวาดกำไร Q3/67 โต 77% แตะ 17.49 ล้านบาท รับปัจจัยหนุนจากรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านครัว