ออโตเดสก์เทคโนโลยี เบื้องหลังความสำเร็จการ์ตูนอะนิเมชั่นชื่อดัง "การผจญภัยของตินติน"

จันทร์ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๒ ๑๘:๔๕
เวต้า ดิจิตอล สร้างก้าวใหม่ให้วงการอะนิเมชั่นหลังคว้ารางวัลออสการ์ด้วยซอฟต์แวร์จากออโตเดสก์

ออโตเดสก์, อิงค์ (NASDAQ: ADSK) ผู้นำซอฟต์แวร์เพื่องานออกแบบ 3มิติ งานวิศวกรรมและเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ได้โอกาสพาการ์ตูนคลาสสิกชื่อดัง “การผจญภัยของตินติน” (The Adventures of Tintin) กลับคืนสู่จอเงิน โดยปีเตอร์ แจ็คสัน แห่งสตูดิโอเวต้า ดิจิตอล (Weta Digital) ชื่อดังที่นิวซีแลนด์เลือกใช้ออโตเดสก์ซอฟต์แวร์ Digital Entertainment Creation (DEC) ในการนำตินตินกลับมาโลดแล่นเสมือนจริงในรูปแบบงานอะนิเมชั่นเรียลไทม์ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้เป็นซอฟท์แวร์ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ที่ใช้ในการเปิดตัวเรื่อง “อวาตาร” ในปี 2552

สตีเฟ่น สปีลเบิร์กสร้างตัวละครที่ประพันธ์โดยนักเขียนชาวเบลเยี่ยม Herg? ให้ติดอยู่ในบ็อกซ์ออฟฟิศได้อย่างไร้ข้อกังขาถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งทำรายได้มากกว่า 360 ล้านดอลลาร์จากบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำรายได้มาที่สุดในปี 2554 ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเอาประสบการณ์ภาพ 3มิติมาผสมผสานเข้ากับการจับภาพและการสร้างภาพยนตร์แบบเสมือนจริงสำหรับภาพยนตร์อะนิชั่น

“ความสามารถในการจับภาพแบบดิจิตอล ควมละเอียดอ่อนต่างๆ ของการแสดงของตัวละครและการย้ายข้อมูลที่เป็นดิจิตอลในช่วงระหว่างก่อนการผลิต, ขั้นตอนการผลิต และหลังการผลิตได้เปิดประสบการณ์ให้กับการสร้างภาพยนตร์เป็นอย่างมาก” กล่าวโดย โจ เลตเตอรี่ ผู้บริหารของ Weta Digital Senior VFX “เราสามารถสร้างฉากเสมือนจริงเพื่อให้ผู้กำกับภาพยนตร์สามารถวางโครงสร้างในแต่ละช็อตให้กับตัวละครในสภาพแวดล้อมต่างๆ เหมือนการจัดฉากในการแสดงจริง การจับภาพนี้ใช้สำหรับการให้แสง, การจำลองต่างๆ พื้นผิวและใช้สำหรับส่วนที่เหลือของกระบวนการหลังการผลิตทั้งหมด ในขณะที่เทคโนโลยีการสร้างคล้ายกับที่เราใช้ใน “อวาตาร” นั้นเราเข้าใจในเครื่องมือที่เราจำเป็นต้องใช้มากขึ้น และมีความสามารถในการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่ช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจับภาพเคลื่อนไหวจากฉากไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต”

กระบวนการผลิตภาพยนตร์สำหรับ “Tintin” นั้นร่วมภาพแสดงผลจากนักสร้างสรรค์จากเวต้า ดิจิตอล และการสร้างองค์ประกอบดิจิตอลของภาพยนตร์ที่มีความละเอียดต่ำใช้ Autodesk Maya สำหรับอะนิเมชั่น 3มิติและใช้ซอฟต์แวร์ visual effects และนำข้อมูลเหล่านั้นไปสู่สภาพแวดล้อมเสมือนจริง การแสดงของจริงของตัวละครในฉากนั้นถูกจับภาพโดยใช้ Autodesk MotionBuilder ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์อะนิเมชั่นสำหรับตัวละคร 3มิติแบบเรียลไทม์ ที่จัดหาแพลตฟอร์มที่สอดคล้องกันที่สามารถให้ทีมงานผู้งานผลิตเริ่มกระบวนการทำงานได้รวดเร็ว สามารถทำซ้ำ และปรับแต่งรูปลักษณ์ของภาพยนตร์ตลอดกระบวนการผลิตได้ต่อเนื่อง การประยุกต์ใช้เทคนิคการผลิตเสมือนจริงกับการสร้างภาพภาพยนตร์ด้วยระบบ CG หรือการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งหมายความเวต้า ดิจิตอล สามารถสร้างสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบบนฉากที่เชื่อมกับกระบวนการประมวลผลภาพและทำให้สตีเฟ่น สปีลเบิร์กทำงานในแบบที่เขาทำในการแสดงของจริง เขายังสามารถใช้ทักษะเฉพาะตัวของเขาและได้ในสิ่งที่เขากำลังมองหาอยู่ในบริบททั้งหมดในโลกของ “Tintin” นอกจากนักแสดงจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ในการแสดงของจริงแล้ว พวกเขายังสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ และอาศัยอยู่ในโลกนั้นได้ทั้งร่างกายและเสียง

“เทคโนโลยีล่าสุดจากออโตเดสก์จะช่วยให้ผู้สร้างก้าวเข้าสู่โลกใหม่อันน่าทึ่งของการสร้างภาพยนตร์” กล่าวโดย มาร์ค เปติ รองประธานอาวุโสของออโตเดสก์มีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ “เครื่องมือเหล่านั้นช่วยให้เทคนิคต่างๆ เข้าถึงผู้ผลิตภาพยนตร์ในวงกว้าง สามารถแสดงความตั้งใจและความสามารถได้ชัดเจน สิ่งที่นักสร้างสรรค์และผู้คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ จากเวต้า ดิจิตอล ได้รับจากเทคโนโลยีนี้ คือการบรรลุเป้าหมายในภาพยนตร์อะนิเมชั่นที่เต็มไปด้วยตัวละครอะนิเมชั่นที่พวกเขารักกับประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ที่ทำออกมาได้งดงามสมจริง”

“การผจญภัยของตินติน” เปรียบเสมือนเครื่องหมายการค้าสำหรับการผลิตภาพยนตร์เสมือนจริง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำในสาขา Best Animated Feature Film “เวต้า ดิจิตอล มุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีนวัตกรรมได้สู่อนาคตเพื่อต่อยอดในสิ่งที่เป็นไปได้” กล่าวโดย เซบาสเตียน ซิลแวน ประธานคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโยโลยีที่เวต้า ดิจิตอล “ความต้องการต่อเทคโนโลยีของเรามีแนวโน้วที่จะซับซ้อนมากขึ้น และเราก็ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัย, พาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างออโตเดสก์ เพื่อสร้างสรรค์เครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดที่เราสามารถทำได้สำหรับนักสร้างสรรค์ของเรา ในเรื่อง “การผจญภัยของตินติน” นั้น เราได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่สนับสนุนจากออโตเดสก์ ที่ช่วยเราให้สร้างกระบวนการแสดงผลภาพที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับออโตเดสก์ซอฟต์แวร์ที่เวต้า ดิจิตอล ใช้ในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “การผจญภัยของตินติน” สามารถเข้าชมได้ที่: http://area.autodesk.com/tintin

เกี่ยวกับออโตเดสก์

ออโตเดสก์ อิงก์ เป็นผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์เพื่องานออกแบบ 3D design งานเอ็นจิเนียร์และเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ สำหรับอุตสาหกรรมหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการผลิต, การออกแบบและก่อสร้าง และมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 ที่ได้เริ่มเปิดตัวซอฟต์แวร์ AutoCAD บริษัทออโตเดสก์ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆออกมาต่อเนื่องเพื่อช่วยลูกค้าสัมผัสประสบการณ์จินตนาการในรูปแบบดิจิตอลก่อนที่สร้างจริง บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 100 รวมทั้งบริษัทเจ้าของรางวัลอะเคเดมี่อะวาร์ดด้าน Best Visual Effects ทั้ง 15 บริษัท ต่างใช้ซอฟต์แวร์ออโตเดสก์ เป็นเพื่อนคู่ใจในการออกแบบ วิช่วลไลซ์ และจำลองจินตนาการสร้างสรรค์เพื่อประหยัดเวลา ต้นทุน แต่ยังได้คุณภาพ นวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันที่เป็นหนึ่ง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถอ่านได้จาก www.autodesk.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ เครือเฮอริเทจ คว้ารางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยและบุคลากรดีเด่นประจำปี 2567 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
๑๑:๒๘ สคร. 12 สงขลา แนะ ยึดหลัก สุก ร้อน สะอาด ป้องกัน เชื้อ โนโรไวรัส
๑๑:๓๔ ส่องหาปูนิ่ม ด้วย AI นวัตกรรมเพื่อผู้ผลิตปูนิ่ม
๑๑:๑๖ กรุงไทย-สยามโกลบอลเฮ้าส์ ยกระดับการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเชื่อมโยง ESG และเงินฝากสีเขียว ตอบโจทย์องค์กรยั่งยืน
๑๑:๒๐ ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ ปี 2567 กำไร 48,598 ล้านบาท
๑๑:๕๙ ยอดขายทะลุเป้าสูงสุด 7.4 เท่า! สำหรับยอดขายวันแรกของ HONOR X9c Series พร้อมขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจ
๑๑:๕๙ 22 ม.ค.นี้ พบกับมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่ไม่ควรพลาด PARADISE PARK KHON THE THEATER กับ การแสดงเบิกโรงเทวนิยาย ชุด ท้าวเวสสุวัณ @พาราไดซ์
๑๑:๐๐ เสาร์ 25 ม.ค. 2568 ปักหมุดอิ่มอร่อย มื้อนี้ K เลย ลดทั้งบิล 50%* กับบัตรเครดิตวีซ่ากสิกรไทย 27 ร้านดังที่สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์
๑๑:๐๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดงบกว่า 15.5 ล้านบาท ฟื้นฟูหลังน้ำลดผู้ประสบอุทกภัย แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินช่วยเหลือกรณีบ้านพังทั้งหลัง และช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต 8
๑๐:๒๘ มทร.ธัญบุรี กางแผนรับนักศึกษาใหม่ ปี 68 กว่า 6 พันคน