เดลต้าพร้อมติดตั้งที่นั่งปรับเอนได้ 180o บนเครื่องโบอิ้ง 747-400

อังคาร ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๒ ๑๑:๒๐
ผู้โดยสารจะได้สัมผัสบรรยากาศการตกแต่งใหม่ของเครื่อง 747 ทุกลำ ในเดือนตุลาคม 2012

สายการบินที่ให้ที่นั่งติดทางเดินในชั้นธุรกิจมากกว่าทุกสายการบินของอเมริกา

เดลต้า แอร์ไลน์ส (NYSE: DAL) ปรับโฉมเครื่องโบอิ้ง 747-400 ใหม่หมดทุกลำโดยติดตั้งที่นั่งปรับเอนได้ 180o ในชั้น Business Elite และที่นั่ง ‘slim line’ ที่ให้พื้นที่นั่งส่วนตัวกว้างขึ้นรวมทั้งระบบให้ความบันเทิงส่วนตัวในทุกที่นั่งในชั้น Economy ทั้งนี้ เดลต้าได้รับการส่งมอบเครื่องโบอิ้งที่ได้รับการปรับโฉมลำแรกและได้ทำการบินเที่ยวเรียกไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา จาก Tokyo-Narita ไป Detroit

เนื่องจากการปรับปรุงจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2012 ดังนั้น ผู้โดยสารจะเริ่มเห็นเครื่องที่ได้รับการเปลี่ยนโฉมทยอยบินในเส้นทางต่างๆทั่วแปซิฟิกและแอตแลนติกเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งผู้โดยสารจะได้สัมผัสบรรยากาศการตกแต่งภายในใหม่ของเครื่อง 747 ทุกลำของเดลต้าในเดือนตุลาคม 2012

Business Elite

ที่นั่ง BusinesElite ซึ่งปรับเอนได้ 180o ในเครื่องโบอิ้ง 747 จำนวน 48 ที่นั่งบนชั้น upper และ lower deck นั้นประกอบด้วย ที่นั่งติดทางเดินทุกที่นั่ง, ปลั๊กไฟ 110 โวลท์, USB port และ ไฟ LED ส่วนตัว สำหรับอ่านหนังสือ พิเศษยิ่งขึ้นด้วยจอทีวี widescreen ขนาด 15.4 นิ้วในทุกที่นั่งซึ่งมีรายการบันเทิงให้เลือกมากกว่า 1,000 รายการ ซึ่งมากกว่าทุกสายการบินของอเมริกา ประกอบด้วยภาพยนต์กว่า 300 เรื่อง, 88 ชั่วโมงของรายการทีวี, ภาพยนต์ชั้นนำเกือบ 100 ชั่วโมงจาก HBOและ Showtime, เกมส์วิดีโอ 27 เกมส์ และเพลงกว่า 5,00 เพลง

เดลต้าให้ที่นั่งติดทางเดินมากกว่าทุกสายการบินของอเมริกา ที่นั่ง BusinessElite รุ่นใหม่ของเครื่อง 747 ซึ่งผลิตโดยบริษัท Zodiac Aerospace ซึ่งขนาดความยาวโดยประมาณของที่นั่งอยู่ที่ 80 นิ้ว และความกว้าง 20.5 นิ้ว และวางผังที่นั่งเป็นแนวทแยงแบบก้างปลา ซึ่งเป็นลักษณะที่ใกล้เคียงกับที่นั่งปรับเอนได้ 180o ในฝูงบินเดลต้า 777 ที่นั่งริมหน้าต่างจะหันออกด้านนอก ในส่วนที่นั่งแถวกลางจะหันเข้าหากัน ที่นั่งรุ่นใหม่มีขนาดกว้างกว่ารุ่นเดิม 20% ซึ่งรวมถึงโต๊ะอาหารและคอนโซลข้างซึ่งใหญ่ขึ้น ทั้งนี้จะไม่มีที่นั่งคั่นกลางหรือที่นั่งที่เห็นด้านหลังของผู้โดยสารอื่น

“ลูกค้าชั้นดีของเราต้องการที่นั่งปรับเอนได้ 180o ที่ติดทางเดิน และด้วยที่นั่ง BusinessElite รุ่นใหม่ซึ่งติดตั้งบนเครื่อง 747 ของเรา ผู้โดยสารจะสัมผัสได้ถึงความล้ำหน้าด้านอุตสาหรรมการบินขณะที่พวกเขาบินข้ามขอบฟ้า” Glen Hauenstein รองประธานบริหารฝ่าย Marketing, Network and Revenue Management กล่าว “หมดยุคของการที่ต้องเดินข้ามผู้โดยสารซึ่งกำลังหลับข้างๆคุณแล้ว” การได้รับการพัฒนามาอย่างดีนี้จะทำให้เครื่อง 747 เป็นเครื่องบินชั้นนำในฝูงบินระหว่างประเทศและผู้โดยสารของเราจะสัมผัสได้ถึงความสะดวกสบายในทันที

ปัจจุบัน มากกว่า 1 ใน 3 ของเครื่องบินเดลต้ารุ่นลำตัวกว้างในฝูงบินระหว่างประเทศได้รับการปรับปรุงให้มีที่นั่งติดทางเดินและเป็นที่นั่งปรับเอนได้ 180o เครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างทั้งหมดกว่า 140 ลำ ในฝูงบินระหว่างประเทศจะทำการติดตั้งที่นั่งปรับเอนได้ 180o ในชั้น BusinessElite ให้เสร็จสมบูรณ์ในปี 2014 ในฝูงบินของเดลต้าที่ได้มีการติดตั้งที่นั่งปรับเอนได้180o เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โบอิ้ง777 จำนวน 18 ลำ จำนวนที่นั่ง BusinessElite 45 ที่นั่งในหนึ่ง ลำ เครื่องโบอิ้ง 767-400ER 21 ลำ จำนวนที่นั่ง BusinessElite 40ที่นั่งในหนึ่งลำซึ่งได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นที่นั่งปรับเอนได้ 180o ส่วนเครื่องโบอิ้ง767-300ER จำนวน 7 ลำ ที่มีการตกแต่งภายในใหม่และมีที่นั่งปรับเอนได้ 180o จำนวน 36 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเครื่องที่ทำการบินในปัจจุบัน และเครื่องทุกลำในฝูงบินนี้มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2013

Economy Comfort

เช่นเดียวกับเครื่องที่บินระหว่างประเทศในฝูงบินเดลต้า โบอิ้ง 747 จะติดตั้งที่นั่งแบบ Economy Comfort ในห้องผู้โดยสารชั้น Economy ซึ่งขยายพื้นที่พักเท้าให้กว้างขึ้น 4 นิ้วเป็น 35 นิ้ว และปรับเอนได้เพิ่มขึ้น 50% เครื่องเดลต้า 747 จะมีที่นั่ง Economy Comfort 42 ที่นั่ง

เครื่องบินที่ได้รับการปรับโฉมแบบเดียวกับชั้น Economy อัพเกรด มีให้บริการในสายการบินร่วมทุนของเดลต้า ได้แก่ Air France-KLM และ Alitalia ซึ่งจะเป็นที่นั่ง 2-3 แถวหน้าในห้องโดยสารชั้น Economy ในเครื่องโบอิ้งกว่า 160 เครื่อง ได้แก่ โบอิ้ง747, 757, 767, 777 และ เครื่องแอร์บัส A330

นอกเหนือจากพื้นที่พักเท้าซึ่งกว้างขึ้นและเบาะที่สามารถปรับเอนได้เพิ่มขึ้นแล้ว ผู้โดยสารที่นั่ง Economy Comfort ยังจะได้สิทธิ์ขึ้นเครื่องก่อนและยังได้เพลิดเพลินกับเครื่องดื่ม spirit ฟรีตลอดระยะทางการบิน สิทธิพิเศษเหล่านี้มีให้นอกเหนือจากการให้บริการตามมาตราฐานการบินระหว่างประเทศของเดลต้า ซึ่งประกอบด้วย มื้ออาหาร เบียร์ ไวน์ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ผ้าห่ม และหมอน

Economy

ผู้โดยสารสามารถสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในห้องโดยสารชั้น Economy ได้ในทันทีเนื่องจากเดลต้าได้เปลี่ยนที่นั่งมาเป็นแบบ ‘slime line’ ซึ่งให้ความกว้างระหว่างแถวที่นั่งเพิ่มขึ้นอีก 2 นิ้ว และปีกที่หนุนศรีษะของทุกที่นั่งสามารถปรับให้สูงขึ้นหรือเอียงได้, ปลั๊กเสียบ USB และ ทัชสกรีนล้ำยุคขนาด 9 นิ้ว ซึ่งให้เลือกระบบความบันเทิงส่วนตัวได้ตามต้องการซึ่งรวมถึงระบบความบันเทิงหลากหลายที่มีให้บริการในที่นั่งของ BusinessElite

การติดตั้งที่นั่งปรับเอนได้ 180o บนเครื่องเดลต้ารุ่นลำตัวกว้างที่บินระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการทุ่มทุน 2 พันล้านเหรียญเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์และความพึงพอใจของลูกค้า การลงทุนของเดลต้ายังรวมถึงงานปรับปรุงซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการในเทอร์มินัล 4 ใหม่ของเดลต้าที่ New York-JFK ซึ่งจะเปิดในปี 2013 และ Maynard H. Jackson Jr. International เทอร์มินัล โฉมใหม่ในแอตแลนต้า ซึ่งจะเปิดในเดือนเมษายนปีนี้ อีกทั้ง เดลต้ายังได้ใช้เงินกว่า 100 ล้านเหรียญในการขยาย ปรับปรุง และควบรวม เทอร์มินัล C และ D ที่ LaGuardia เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ เดลต้ายังได้ลงทุนใน Delta Sky Club กว่า 50 แห่งตลอดทั้งระบบ, เสาชาร์ทแบต 12 แห่งในสนามบิน mobile apps ซึ่งรวมถึงคุณสมบัติพิเศษอย่างเช่น การช่วยติดตามกระเป๋าสัมภาระ และการติดตั้งระบบ WiFi บนเครื่องกว่า 800 ลำ

เดลต้า แอร์ไลน์ส ให้บริการการบินแก่ลูกค้ากว่า 160 ล้านคนในแต่ละปี เดลต้าได้รับยกย่องจากนิตยสาร Fortune ว่าเป็น สายการบินที่ได้รับการชื่นชมที่สุดจากทั่วโลก ในปี 2011 ซึ่งเป็นการคัดเลือกจากรายชื่อบริษัทในอุตสาหกรรมการบินที่ได้รับการชื่นชมที่สุดของโลก และได้ชื่อว่าเป็น ‘Top Tech-Friendly U.S. Airline’ จากนิตยสาร PCWorld สำหรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี่ของเดลต้า จากการที่เดลต้ามีเครือข่ายชั้นนำในอุตสาหกรรมการบินที่ครอบคลุมการบินทั่วโลก เดลต้า และ ฝูงบินของ เดลต้า คอนเนคชั่น จึงสามารถให้บริการการบินสู่ 342 เส้นทางใน 61 ประเทศใน 6 ทวีป สำนักงานใหญ่ของเดลต้าตั้งอยู่ในแอตแลนต้า เดลต้า มีการจ้างพนักงานกว่า 80,000 คนทั่วโลก ให้บริการการบินโดยใช้ฝูงบินของเดลต้าเองกว่า 700 ลำ และในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งของพันธมิตร สกายทีมทั่วโลก เดลต้าได้ร่วมหุ้นกับผู้นำในอุตสาหกรรมการบินระหว่างทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ได้แก่ แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม และ อลิตาเลีย และเมื่อรวมกับพันธมิตรของเดลต้าทั่วโลกแล้ว เดลต้าสามารถให้บริการการบินแก่ลูกค้าวันละกว่า 13,000 เที่ยวบิน ซึ่งมีศูนย์กลางใน แอมสเตอร์ดัม, แอตแลนต้า, ซินซินเนติ, ดีทรอยท์, เมมฟิส, มินิอาโปลิส-เซนต์พอล, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, ปารีส-ชาร์ล เดอ กอลล์, ซอลท์เลค ซิตี้ และ โตเกียว-นาริตะ บริการของสายการบินยังรวมถึงโปรแกรม สกายไมลส์ สำหรับผู้เดินทางซึ่งเป็นโปรแกรมสะสมไมล์ของสายการบิน การบริการในชั้น BusinessElite ที่ได้รับรางวัล และ สกาย คลับ ของเดลต้าในท่าอากาศยานทั่วโลกกว่า 50 แห่ง เดลต้าได้ทุ่มงบกว่า 60,000 ล้านบาท ตลอดจนถึงปี 2013 เพื่อปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในท่าอากาศยาน รวมทั้งสินค้าทั่วโลก, การบริการ ตลอดจนเทคโนโลยี่ ทั้งนี้ เพื่อให้บริการของเราเป็นที่ประทับใจของลูกค้าทั้งบนอากาศและภาคพื้นดิน ลูกค้าสามารถเช็คอินเที่ยวบิน, พิมพ์บัตรขึ้นเครื่อง, เช็คกระเป๋า และตรวจสอบสถานะทางการบินได้ที่ delta.com

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

นาฎยา สีดอกบวบ บริษัท จิ๊กซอ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด

โทรศัพท์ 02-2532793

E-mail: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ