ข้อกำหนดของแทรงค์คือการรักษาความสมจริงเอาไว้เสมอ “ความแตกต่างของภาพยนตร์เรื่องนี้คือมันเป็นเรื่องราวส่วนตัวจริงๆ เราได้ทำความรู้จักกับเด็กๆ เป็นอย่างดี” โรเบิร์ต ฮาบรอส หนึ่งในผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์ กล่าวว่า “เราอยากให้ผู้ชมได้เข้าไปอยู่ในประสบการณ์ของแอนดรูว์ และไม่มัวจินตนาการว่าเด็กๆ บินได้อย่างไร ผลงานด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ต้องหายไปจากเรื่องราว ตัวละครและอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ไปเลย”
ฉากการเหาะในภาพยนตร์เป็นความท้าทายขั้นขีดสุด และไม่ได้สมจริงด้วยเทคนิคการใช้วิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เท่านั้น แต่ต้องใช้ความอัศจรรย์ของรอกที่มีความสร้างสรรค์ซึ่งออกแบบโดย ไซมอน แฮนเซ็น ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ชื่อดังที่เคยร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้สร้างภาพยนตร์นีล บลอมแคมป์ แฮนเซ็นได้คิดค้นเทคนิคและสายลวดขึงที่ประดิษฐ์ขึ้นมา แทรงค์เล่าว่า “ฉากการเหาะไม่เหมือนกับที่เราเคยเห็นในหนังมาก่อนเลยจริงๆ มันเป็นการเหาะที่ดูสมจริงที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา”
แฮนเซ็นออกแบบรอกขึงแบบวงกลมที่เหมือนกับการกระโดดร่มได้อย่างเป็นอิสระ และใช้การจัดแสงที่ดูสัมพันธ์กันทุกแบบ รวมถึงการเหาะเคลื่อนไหวที่มีความพิถีพิถันเหมือนกับการเคลื่อนที่หมุนรอบและการตีลังกา ผู้สร้างภาพยนตร์อยากให้ตัวละครมีลักษณะที่ดูแล้วเหมือนมีความสนุกอยู่ในการเหาะ
เหล่านักแสดงต้องพบกับการฝึกซ้อมอย่างครอบคลุมเพื่อเตรียมตัวสำหรับการใช้ลวดขึง “ตั้งแต่ช่วงแรกจอชอยากให้แสดงจริงต่อหน้ากล้องมากที่สุดเท่าที่ทำได้ ให้มีความสมจริงโดยที่นักแสดงต้องแสดงฉากผาดโผนเอง” ผู้อำนวยการสร้างบริหารเจมส์ ดอดสัน กล่าวว่า “เราต้องผสมผสานเอ็ฟเฟ็กต์ไลฟ์แอ็คชั่นที่มีความอัศจรรย์แบบง่ายๆ ที่มีการเกิดขึ้นจริงเข้ากับการแสดงเพิ่มเติมที่ไซมอนสร้างขึ้นมาในรูปแบบดิจิตอลผมคิดว่าบางฉากที่แห็นในหนังเป็นฉากที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ต้องขอบคุณสำหรับการผสมผสานนั้นที่ซ่อนอยู่”
ในการเตรียมปรับเปลี่ยนการขึงลวดสำหรับการเหาะที่มีความพิถีพิถัน และภาพที่มีความซับซ้อนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความยิ่งใหญ่ขององก์ที่สามของภาพยนตร์ สมรภูมิรบแห่งขุมพลังที่เกิดขึ้นเหนือท้องถนน (และอย่างเจาะจง) ของซีแอตเทิล ฉากนั้นไม่ได้มีแค่การต่อสู้เท่านั้น แต่ยังมีรถยนต์พุ่งขึ้นไปกลางอากาศ มีรถบัสพุ่งชนด้านข้างตึกและเมืองที่อยู่ด้านล่าง กล้องที่ตั้งอยู่ตลอดเวลาของแอนดรูซ์ที่ถูกทำลายไปแล้ว ถูกแทนที่ขึ้นมาด้วยอุปกรณ์บันทึกอันมากมายที่เก็บภาพการต่อสู้ ได้แก่ กล้องบนมือถือ กล้องของระบบรักษาความปลอดภัย กล้องของตู้เอทีเอ็ม และกล้องที่จับไฟแดง
นั่นเป็นจุดสำคัญของเรื่องราวที่มีความเข้มข้นมากและนำมาสู่การใช้อารมณ์แก้ไขปัญหา แต่เรื่องราวเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นล่ะ.. พลังเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากไหน? แทรงค์และแลนดิสกุมความลับเอาไว้ได้ดีใช้ได้ และผู้ออกแบบฉากสตีเฟ่น อัลต์แมนสนุกสนานไปกับการสร้างสถานที่ของการเกิดเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งเป็นหลุมขรุขระบนพื้นดินที่ช่องว่างส่วนที่เหลือมีส่วนประกอบของผลึกหินที่ปล่อยแสงจางๆ ออกมา
อัลต์แมนยอมรับว่าสิ่งก่อสร้างของ “วัตถุ” ลึกลับนี้คือส่วนสำคัญของเขาเลย “มันต่างจากทุกอย่างที่ผมเคยออกแบบมาก่อน และหวังว่าจะไม่เหมือนกับสิ่งไหนที่ใครเคยเห็นมา จินตนาการของจอช [แทรงค์] เกี่ยวกับเรื่องวัตถุนั้นคือไม่ใช่วัตถุบนโลกนี้ เราไม่รู้ว่ามันเป็นสัตว์ พืชผักหรือแร่ธาตุ บางทีอาจเป็นการผสมผสานของทั้ง 3 อย่างนั้นก็ได้ ในการออกแบบรูปร่างขึ้นมา เราต้องอิงจากทั้งทางธรณีวิทยา ชีววิทยา สิ่งมีชีวิตและวัตถุที่ไม่มีชีวิต”
ฉากนั้นรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นจะสร้างข้อสงสัยให้ผู้ชมเพิ่มขึ้นอีกมาก และนั่นคือสิ่งที่ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องการอย่างแท้จริง แม็กซ์ แลนดิส เล่าว่า “จอชกับผมรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในโพรงนั้น แต่ในหนังไม่จำเป็นจะต้องอธิบายอะไร”
นอกจากเรื่องวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ การขึงลวด และการแสดงผาดโผนที่โดดเด่นแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง CHRONICLE ยังมีความสะดุดาด้วยสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ที่น่าตื่นเต้น รวมถึงการใช้แก๊สแรงดันสูงเพื่อทำให้ยานพาหนะน้ำหนัก 1,000 ปอนด์จำนวน 2 คันพลิกขึ้นสู่ท้องฟ้าในความสูง 30 ฟีตขึ้นไปกลางอากาศ จากนั้นตกลงมาบนพื้นและพังยับอีกด้วย ฉากอื่นอีกหลายฉากที่ดูเหมือนใช้เทคนิค CGI ในความเป็นจริงแล้วถ่ายทอดภาพออกมาด้วยกล้องที่แอนดรูว์ค่อยๆ ยกแขนขึ้นและใช้พลังจิตปัดรถ จนเกิดการระเบิดและพังยับไปเอง รถยนต์มีการระเบิดตามจังหวะ ซึ่งต้องขอบคุณปั๊มไฮโดรลิคน้ำหนัก 20,000 ปอนด์ที่หินบนถนนของจริง และทำให้เกิดเสียงโลหะที่พลิกหมุนและบิดที่ยากจะลืม
การขยี้รถได้เพียงจินตนาการ การเหาะ หรือแม้แต่การใช้พลังทำลายล้างเมือง มีใครบ้างไม่อยากมีพลังพวกนี้? ใครไม่อยากทำเรื่องเหลือเชื่อบ้าง? คุณจะทำอย่างไรหากคุณเป็นแอนดรูว์ แม็ตต์หรือสตีฟ ให้ลองถามภาพยนตร์เรื่อง CHRONICLE ดู แล้วคุณมีพลังอะไรบ้าง?
มาร่วมค้นหาพลังในตัวคุณได้ใน
CHRONICLE - โครนิเคิล-บันทึกลับเหนือโลก
1 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น