มร. มาร์ค ปาร์คเกอร์ ประธานและซีอีโอ บริษัทไนกี้ อิงค์ ร่วมกับ คาร์ล เลอวิส นักกรีฑาประเภทลู่และลานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ รวมทั้งนักกีฬาผู้มีชื่อเสียงอื่นๆ อาทิ เดอรอน วิลเลี่ยมส์ (จากทีมนิวเจอร์ซีเน็ตส์ และนักกีฬาบาสเก็ตบอลทีมชาติสหรัฐฯ ปี 2008) ทามิก้า แคทชิงส์ (นักกีฬาบาสเก็ตบอลทีมชาติสหรัฐฯ ปี 2004 และ 2008) คาร์เมลิต้า เจเตอร์ (แชมป์กรีฑาวิ่ง 100 เมตร รายการเวิลด์แชมเปี้ยน และเจ้าของตำแหน่งสาวลมกรดที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกคนปัจจุบัน) และวอลเตอร์ ดิกส์ (นักกรีฑาเจ้าของเหรียญเงิน รายการเวิลด์แชมเปี้ยน) เผยนวัตกรรมใหม่ล่าสุดจากไนกี้ ณ งานอีเวนต์ยิ่งใหญ่ระดับโลกที่จัดขึ้นในมหานครนิวยอร์กวันนี้
เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ไนกี้มุ่งมั่นผลิตนวัตกรรมอันล้ำหน้าให้กับนักกีฬาทั้งหลาย โดยได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ทั้งช่วยเสริมสมรรถนะของนักกีฬาให้โดดเด่นเหนือใคร และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่นับเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด “ไนกี้ เบ็ทเทอร์ เวิลด์” (Nike Better World) โดยมีการนำนวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในทุกกระบวนการของการออกแบบผลิตภัณฑ์และการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนแรก เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุที่เรานำมาใช้นั้นจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดของเสีย และขจัดการใช้สารพิษ
ไนกี้ได้ปฏิวัติแนวคิดด้านความยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมสู่ผลิตภัณฑ์เสริมประสิทธิภาพการเล่นกีฬา วิสัยทัศน์ของไนกี้ คือการสร้างวงจรปิด หรือ Closed Loop ซึ่งก็คือการนำวัสดุจากรองเท้าหรือเสื้อเก่าๆ มาแปรสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยการค้นหาวิธีการสร้างความยั่งยืนอย่างไม่หยุดยั้งของเรา ทำให้เกิดสองนวัตกรรมสะท้านวงการกีฬาของ ไนกี้ได้ถือกำเนิดขึ้น ได้แก่ ไนกี้ ฟลายนิท (Nike Flyknit) และการใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลจากขวดน้ำพลาสติกกับผลิตภัณฑ์กีฬาต่าง ๆ
ไนกี้ ฟลายนิท (NIKE Flyknit)
ไนกี้ เปิดตัวรองเท้ากีฬาน้ำหนักเบา ไนกี้ ฟลายนิท เรเซอร์ (NIKE Flyknit Racer) และ ไนกี้ ฟลายนิท เทรนเนอร์ (NIKE Flyknit Trainer) เพราะไนกี้เชื่อว่าในการออกแบบเพื่ออนาคตนั้น จำเป็นต้องสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้วยกรรมวิธีใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่วันนี้
นวัตกรรมของไนกี้นั้นอยู่ที่ขั้นตอนการผลิตรองเท้าไนกี้ ฟลายนิท เพราะเราใช้แต่วัสดุที่จำเป็นในการถักทอส่วนบนของรองเท้า โดยปกติแล้วขั้นตอนการผลิตรองเท้าจะต้องใช้วัสดุมากมายและต้องมีการตัดแต่งวัสดุครั้งแล้วครั้งเล่า แต่สำหรับการผลิตรองเท้าไนกี้ ฟลายนิท นี้ มีการลดปริมาณของเหลือทิ้งด้วยการใช้เส้นใยพิเศษที่ถักทอเข้าด้วยกันจนเป็นส่วนบนของรองเท้า โดยให้คุณสมบัติทั้งความเบาและการเข้ารูปได้อย่างกระชับพอดี
วัสดุโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล
ไนกี้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้เหนือใครด้วยการใช้ขวดพลาสติกแบบเพ็ท (PET) ที่ใช้แล้วมารีไซเคิล ด้วยการนำมาหลอมละลายเป็นเส้นใยพิเศษเพื่อใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถนะกีฬา โดยกระบวนนี้ช่วยลดการใช้วัตถุดิบและลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 30 % เมื่อเทียบกับการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ใหม่ทั้งหมด ในปีนี้ ไนกี้ได้ต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ไปอีกขั้น ด้วยการผลิตเนื้อผ้าสำหรับกางเกงบาสเก็ตบอลไนกี้ ไฮเปอร์ เอลิท โดยใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลทั้ง 100% ถ้วน ในขณะเดียวกัน เนื้อผ้าที่นำมาตัดเสื้อกีฬาในคอลเลคชั่นเดียวกันนี้ก็ใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลถึง 96% ทำให้ชุดกีฬาไนกี้ ไฮเปอร์ เอลิท 1 ชุด ช่วยกำจัดขวดน้ำพลาสติกไปได้เฉลี่ยถึง 22 ใบต่อชุด
ชุดยูนิฟอร์มนี้เปิดตัวในสีสันของทีมชาติบาสเก็ตบอลอเมริกา โดยกางเกงที่ใช้เทคโนโลยี “ไนกี้ ไฮเปอร์ เอลิท” มีน้ำหนักเพียง 5 ออนซ์ และตัวเสื้อฟอร์มซึ่งเป็นเสื้อกีฬาบาสเก็ตบอลที่มีน้ำหนักเบาที่สุดของไนกี้ มีดีไซน์ที่โปร่ง สวมใส่สบาย และคงทน โดดเด่นด้วยลวดลายแอโรกราฟฟิก (Aerographic) ของไนกี้ โดยเสื้อฟอร์มของทีมชายทำจากโพลีเอสเตอร์ 96% และกางเกงทำจากโพลีเอสเตอร์ถึง 100% ซึ่งผลิตจากขวดน้ำรีไซเคิลเฉลี่ยประมาณ 22 ขวดต่อ 1 ชุด ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนถึงพันธสัญญาอันมุ่งมั่นของไนกี้ในการสร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และชุดฟอร์มเหล่านี้จะถูกสวมใส่โดยนักกีฬาบาสเก็ตบอลทีมชาติสหรัฐฯ ทีมชาติจีน และทีมชาติบราซิล รวมทั้งทีมอื่นๆ ที่กำลังสร้างผลงานเพื่อให้ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันด้วย
ส่วนในวงการฟุตบอล ไนกี้ก็ได้เปิดตัวชุดทีมชาติที่ผลิตโดยใช้วัสดุทำจากขวดพลาสติกเฉลี่ยถึง 13 ใบต่อชุด ซึ่งประกอบด้วยกางเกงขาสั้นที่ทำจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลล้วนทั้ง 100% และเสื้อบอลที่ใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลถึง 96% ทำให้การผลิตชุดกีฬาฟุตบอลสำหรับปีนี้ใช้ขวดพลาสติกในกระบวนการรวมทั้งสิ้นประมาณ 16 ล้านขวด ซึ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะใส่เต็มสนามฟุตบอลถึง 28 สนามเลยทีเดียว
นอกจากนี้ เนื้อผ้าสำหรับคอลเลคชั่นไนกี้ โปร เทอร์โบสปีด (Nike Pro TurboSpeed) ก็ผลิตมาจากวัสดุโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลประมาณ 82% ซึ่งคิดเป็นจำนวนขวดพลาสติกเฉลี่ย 13 ใบต่อชุด
หลักการของแนวคิด “ไนกี้ เบ็ทเทอร์ เวิลด์” นี้ นอกจากจะช่วยสนองความต้องการของนักกีฬาแล้ว ยังเป็นการตอบสนองความต้องการของโลกไปในเวลาเดียวกันด้วย