CAT รุกธุรกิจวงจรสื่อสารข้อมูลเร่งหาพันธมิตรในต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ

พุธ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๒ ๑๖:๕๘
นายสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจบรอดแบนด์ และ นายสุรพล สงวนศิลป์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจโครงข่าย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยทิศทางธุรกิจสื่อสารข้อมูล คาดการณ์ตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง เน้นกลยุทธ์ให้บริการด้วยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลที่คุ้มค่าการลงทุนด้านไอทีสำหรับลูกค้า พร้อมการให้บริการแบบร่วมค้ากับพันธมิตรระหว่างประเทศ เพิ่มศักยภาพธุรกิจขยายระบบโครงข่ายทั่วโลก

ในยุค “Big Data” ซึ่งมีปริมาณทราฟฟิคของข้อมูลมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณในทุกๆ ปี ทำให้ ตลาดสื่อสารข้อมูลมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง CAT ผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลรายแรกของไทย ที่ได้มีการพัฒนาบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้เปิดเผยกลยุทธ์การตลาด เพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจหลัก วางตำแหน่งความเป็นผู้นำตลาดสื่อสารโทรคมนาคมอย่างยั่งยืน

“ปีนี้เราเน้นการให้บริการสื่อสารข้อมูลที่มีความคุ้มค่ากับการลงทุนด้วยบริการวงจรสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงอย่าง CAT Ethernet และ CAT MPLS ซึ่งเหมาะกับการใช้งานขององค์กรที่มีสาขากระจายอยู่ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ สามารถรับ-ส่งข้อมูลภายในองค์กรอย่างปลอดภัยด้วยราคาประหยัดสอดคล้องกับทิศทางของตลาดโดยรวม พร้อมทั้งยังเน้นการให้บริการแบบร่วมค้ากับพันธมิตรระหว่างประเทศรายใหญ่ต่างๆ ทั่วโลกแบบ One Stop Service เพื่อสร้างความคล่องตัวและความแข็งแกร่งสำหรับการแข่งขันในตลาดธุรกิจโทรคมนาคม รวมทั้งพันธมิตรประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนให้ CAT เป็นฮับของอินโดไชน่า โดยคาดการณ์ว่าในปี 2555 CAT จะมีรายได้จากธุรกิจสื่อสารข้อมูลจะมีรายได้กว่า 7,560 ล้านบาท รวมทั้งจะมีอัตราการเติบโตถัวเฉลี่ยในช่วงปี 2555 — 2556 ประมาณ 8.1% ซึ่งคาดการณ์รายได้ดังกล่าวนั้น จะมาจากรายได้ส่วนเพิ่มที่ได้รับจากเมกะโปรเจคอย่างโครงการเคลเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทย และการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพสร้างรายได้มากขึ้นจากการปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่าย IP” นายสมพลฯ กล่าว

นอกจากนี้ CAT ยังได้พัฒนาโครงข่ายรองรับการให้บริการสื่อสารข้อมูลระหว่างประเทศ ในอีกหลายๆ โครงการ ซึ่งนายสุรพล สงวนศิลป์ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ปีนี้ CAT ได้ร่วมสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ APG (Asia Pacific Gateway) เป็นการร่วมกันวางแผนพัฒนาจัดสร้างของกลุ่มผู้ประกอบการสื่อสารโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตชั้นนำของโลก รวมทั้งในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกรวมกว่า 14 ราย โดยระบบมีความจุโดยรวมทั้งหมดถึง 54.8 Terabitsต่อวินาที ด้วยเทคโนโลยีระบบเคเบิลใต้น้ำที่ทันสมัยที่สุดซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่จะขับเคลื่อนธุรกิจสื่อสารข้อมูลของ CAT ไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ CAT ยังมีแผนจัดทำโครงการสนับสนุนธุรกิจวงจรสื่อสารข้อมูล อาทิ Mobile blackhaul สำหรับ 3G Network การจัดสร้าง POP (Point of Presence) สำหรับการให้บริการ Data และอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โครงการ FTTx รวมถึงการลงทุนในระบบ Cloud รองรับการให้บริการ Private Cloud และ Public Cloud ซึ่งเป็นแนวทางการวางระบบเครือข่ายขององค์กรธุรกิจยุคใหม่”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ