พพ.เร่งเยียวยาภาคอุตสาหกรรมจากมหาอุทกภัยต่อเนื่อง

ศุกร์ ๐๒ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๓:๒๑
พพ.เร่งเยียวยาภาคอุตสาหกรรมจากมหาอุทกภัยต่อเนื่อง เดินหน้ามาตรการให้เงินทุนสนับสนุน ร้อยละ 30 สูงสุดวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท แก่ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ยันเตรียมวงเงินสูงถึง 2,000 ล้านบาท คาดช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมกว่า 3,000 แห่ง ฟื้นฟูการผลิตแถมช่วยชาติประหยัดพลังงาน

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นประธานในการแถลงข่าวโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานภาคอาคารธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ประสบอุทกภัย ซึ่งถือเป็นมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการจากภัยพิบัติมหาอุทกภัยเมื่อช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งให้ความร่วมมือในโครงการ อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยสื่อมวลชนเข้าร่วม

นายไกรฤทธิ์ กล่าวว่า เพื่อเป็นการเร่งฟื้นฟูเยียวยาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคเกษตรกรรม ที่ต้องแบกรับภาระหนักในการปรับปรุง ซ่อมแซมและจัดหาเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์เพื่อทดแทนของเดิมซึ่งเสียหายจากอุทกภัยที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ พพ. จึงได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานภาคอาคารธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ประสบอุทกภัย โดยพร้อมจะสนับสนุนเงินลงทุนร้อยละ 30 และสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ในการส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ในสถานประกอบการให้เป็นเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง

ทั้งนี้ พพ. ได้เตรียมวงเงินสนับสนุนจำนวนไว้ 2,000 ล้านบาท โดยจะเข้าช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงงานอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ และผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั่วประเทศในปี 2554 โดยจากข้อมูลในภาพรวมของกระทรวงอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ประสบอุทกภัยทั้งสิ้น 8,252 โรงงาน อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 888 แห่ง ซึ่งจากโครงการนี้ พพ.คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือร่วมฟื้นฟูโรงงาน,อาคารและภาคเกษตรกรรมที่ประสบอุทกภัย ได้ประมาณ 3,000 แห่ง และคาดว่าสามารถลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 2,300 ล้านบาทต่อปี

โดยสถานประกอบการ หรือผู้ประกอบการที่สนใจ จะเข้าร่วมโครงการเพื่อรับเงินสนับสนุน สามารถติดต่อสมัครได้ที่มหาวิทยาลัย 3 แห่งที่ พพ. ได้มอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“ที่ผ่านมา พพ. ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการใช้เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการเยียวยาผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย และถือเป็นการส่งเสริมการใช้เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงในสถานประกอบการ โครงการในการให้เงินสนับสนุนสูงสุดถึงร้อยละ 30 ครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ของสถานประกอบการแล้ว ยังเป็นการลดการใช้พลังงานและลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของสถานประกอบการลงได้อีกด้วย” นายไกรฤทธิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ