มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จัดพิธีมอบวุฒิบัตร แสดงความยินดีและลาอาลัยแก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต้าลี่

อังคาร ๐๖ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๐:๒๐
สืบเนื่องจาก ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.) โดยมี รศ.เรไร ไพรวรรณ์ เป็นประธานหลักสูตร จัดโครงการอบรมเฉพาะกิจภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในการติดต่อประสานงาน และเพื่อเป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอันเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งและเป็นการให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้จัดอบรมในโครงการดังกล่าวให้กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต้าลี่ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 27 คน ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมารวมระยะเวลา 8 เดือน เพื่อศึกษาด้านการสื่อสารภาษาไทย ทั้งด้านการอ่าน เขียนและพูด เรียนรู้ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยเพื่อนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องรวมทั้งฝึกการฝึกสอน โดยในวันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2555 ได้จัดพิธีมอบวุฒิบัตร แสดงความยินดี และลาอาลัยแก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต้าลี่ ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 2 ชั้น 8 และจะมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานของนักศึกษาพร้อมโชว์การแสดงด้านศิลปะของไทยในวันที่ 6 มีนาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 13.00 — 20.00 น.

พิธีการดังกล่าวมี ผศ.ลักขณา บรรพกาญจน์ อธิการบดีเป็นประธานและมอบวุฒิบัตร ร่วมด้วยผู้เข้าร่วมพิธี อาทิ ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้แทนจากมหาวิทยาลัยต้าลี่สองท่านคือ Mrs.Mao Wei : Chairperson of Literature College และ Mr.Na Zhangyuan : Dean of Literature College รศ.เรไร ไพรวรรณ์ ประธานหลักสูตรฯ รศ.ประยูร ทรงศิลป์ ผอ.ศูนย์อาเซียนศึกษา (ขานนามนักศึกษา) ผศ.ไพลิน เชิญเพชร ประธานหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน (ล่ามแปลภาษาจีน) อ.นาถวุทธิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.กองวิเทศสัมพันธ์ นายสมโชค ฤทธิ์จำรูญ ผอ.สำนักประกัน อ.อัจฉราวรรณ ชัยมงคล รอง ผอ.สำนักศิลปะฯ (พิธีกรดำเนินรายการ) อ.วิชุดา พรายยงค์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย และคณาจารย์ผู้สอน

นางสาวซือ หย่ง เยียน (นิรันดา) หัวหน้าห้อง เป็นตัวแทนนักศึกษากล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัย อธิการบดีและคณาจารย์ บอกว่ามหาวิทยาลัยเป็นเหมือนบ้านอีกหลังหนึ่ง ขอขอบพระคุณสำหรับการดูแลพวกเขาเป็นอย่างดีเหมือนเป็นลูกหลาน ให้การอบรมสั่งสอน หากได้ทำผิดอะไรหรือทำให้อาจารย์ไม่สบายใจก็ขออภัยด้วย โดยกล่าวเป็นภาษาไทยที่สำเนียงยังไม่ชัดเจนนักแต่ได้ใจความและด้วยความตั้งใจจริงที่เต็มไปด้วยความซาบซึ้ง จนทำให้ผู้เข้าร่วมพิธีและนักศึกษาอื่นๆ ถึงกับน้ำตาซึมกันเลยทีเดียว หลังจากนั้นนักศึกษาทุกคนได้มอบดอกกุหลาบกระดาษที่ประดิษฐ์ขึ้นเองมอบแด่ท่านอธิการบดี

“ขอชื่นชมนักศึกษาจีนทุกๆ คนที่เก่งมาก สามารถอ่าน เขียนและพูดภาษาไทยได้ในระยะเวลาแค่ 8 เดือน ขอให้ฝึกฝนต่อไปอย่าได้ละทิ้งรวมทั้งการทำอาหารไทยด้วย หลังจากนี้ไปถือเป็นศิษย์ของมหาวิทยาลัยอย่างเต็มตัวเป็นส่วนหนึ่งของคนไทย เหมือนพี่น้อง ขอให้ทุกๆ คนประสบความสำเร็จในอาชีพการงานที่ตั้งใจ” อธิการบดีกล่าว

Mr.Na Zhangyuan ได้กล่าวปิดท้ายก่อนจบพิธีว่า ในฐานะตัวแทนของมหาวิทยาลัยต้าลี่ขอขอบคุณมหาวิทยาลัย อธิการบดี ผู้บริหารและคณาจารย์ทุกคนที่ให้การต้อนรับและดูแลนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างดี นักศึกษาทุกคนได้ประสบความสำเร็จ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณค่า ขอให้มีการขยายความร่วมมือทางด้านวิชาการแบบนี้อีกต่อไป และเชิญอธิการบดี ผู้บริหาร ไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยต้าลี่ พร้อมกับจะคัดเลือกนักศึกษาชุดต่อไปมาศึกษาที่นี่อีก

ติดต่อ:

เนตรนภา ยมนา

เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าว งานประชาสัมพันธ์ มรธ.

โทร. 02-8901801

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ