วว.จับมือภาคเอกชนเสริมสร้างขีดความสามารถงานวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบโลหะ

พฤหัส ๐๘ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๓:๕๕
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2555 ดร. อนุชา เล็กสกุลดิลก รองผู้ว่าการบริหาร และรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายปวเรศร์ ปรีดาวิภาต ผู้อำนวยการบริษัทศูนย์วิจัยโลหะวิทยา แอลพีเอ็น (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามความร่วมมือทางวิชาการเสริมสร้างขีดความสามารถในงานด้านวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบและทดสอบโลหะ หวังส่งเสริม สนับสนุนงานด้านวิเคราะห์และทดสอบโลหะ การค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนาผลการศึกษาค้นคว้า เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ณ ห้องประชุมกวท. ชั้น 8 อาคารวิจัยและพัฒนา 1 วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี

ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก รองผู้ว่าการบริหาร และรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า วว. ได้ลงนามความร่วมมือวิชาการเรื่อง ”การเสริมสร้างขีดความสามารถในงานด้านวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบและทดสอบโลหะ” กับบริษัทศูนย์วิจัยโลหะวิทยา แอลพีเอ็น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานทั้งสองแห่งร่วมกัน ในกิจการที่เกี่ยวข้องกันด้านการค้นคว้า วิจัยและพัฒนา ทดสอบ สอบเทียบ เผยแพร่องค์ความรู้และผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน ตลอดจนการให้ความร่วมมือในการพัฒนาทางด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ งานวิจัยและพัฒนาให้สู่กลุ่มอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งหวังเพื่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งถือเป็นนโยบายและภารกิจหลักของ วว. ที่มุ่งเน้นพัฒนาผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ด้วยเช่นกัน โดยมีระยะเวลาความร่วมมือของโครงการนี้ 2 ปี

“บริษัท ศูนย์วิจัยโลหะวิทยา แอลพี เอ็น (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านการทดสอบ วิเคราะห์ รวมถึงมีเครื่องมือที่ทันสมัยได้รับมาตรฐานและยังมีจุดความเข็มแข็งทางด้านการดำเนินธุรกิจและการตลาดที่สามารถเชื่อมโยงอุตสาหกรรมลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง ในขณะที่ วว. เป็นองค์กรที่มีศักกยภาพทางด้านบุคคลากร มีเครื่องมือที่ครบถ้วนและเป็นหน่วยงานที่มีห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO17025 รวมถึงเป็นหน่วยงานที่น่าเชื่อถือจากและยอมรับของหน่วยงานทั่วไปทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การร่วมมือจากทั้งสองฝ่ายในครั้งนี้ จึงคาดว่าจะเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมในการให้บริการลูกค้าได้อย่างครบวงจรและทั่วถึง” ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าว

ภายใต้กรอบความร่วมมือของโครงการดังกล่าว ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันเผยแพร่บทความ ผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้แก่บุคคลทั่วไปผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาในช่องทางต่างๆของทั้งสองฝ่าย บริษัทศูนย์วิจัยโลหะวิทยา แอลพีเอ็นฯ จะสนับสนุนและยินดีให้ วว. เข้าร่วมการจัดทำกิจกรรมต่างๆของบริษัท เช่น การจัดนิทรรศการ การสัมมนา เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดของ วว. รวมทั้งยินดีให้การสนับสนุนงานของ วว. ทางด้านการเทียบผลการทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการ (Inter-laboratory Comparison) สำหรับการทดสอบทางด้านโลหะวิทยาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายและยินดีเผยแพร่การให้บริการของ วว. แก่ลูกค้าของศูนย์วิจัยโลหะวิทยาแอลพีเอ็นฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในงานด้านวิเคราะห์และทดสอบโลหะของทั้งสองฝ่าย

อนึ่ง วว. มีหน่วยงานในสังกัดซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบคือ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (บางปู) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการทดสอบ วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและเพื่อการรับรองมาตรฐานสินค้าตามมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งให้บริการสอบเทียบเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 ห้องปฏิบัติการหลัก ได้แก่ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการทางแสงและอุณหภูมิห้องปฏิบัติการมาตรฐานวิศวกรรมทางกล ห้องปฏิบัติการทดสอบทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ และห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยาศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือของรัฐบาลสหพันธรัฐเยอรมนี เพื่อเป็นองค์กรกลางในการพัฒนา ปรับปรุง แก้ปัญหา รวมทั้งวิเคราะห์ ทดสอบสมบัติของวัสดุและชิ้นส่วนวิศวกรรม มีศักยภาพในการให้บริการแก่บริษัทและหน่วยงานต่างๆ ครอบคลุมอุตสาหกรรมเกือบทุกสาขา เช่น อุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้า โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมอาหาร ขนส่ง เป็นต้น เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน

นอกจากนี้ยังให้บริการนอกสถานที่ด้วยห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ พร้อมเสนอบริการด้วยมาตรฐานห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองขีดความสามารถห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ได้แก่ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุ ห้องปฏิบัติการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสภาพการใช้งาน ดังนี้

- การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ - การตรวจสอบหม้อไอน้ำ

- การตรวจสอบทางกายภาพของวัสดุ - การทดสอบการกัดกร่อนของวัสดุ

- การทดสอบทางกลของวัสดุ - การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย

- การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคและมหภาค - การวิเคราะห์ความเสียหาย

- การพัฒนาและปรับปรุงชิ้นงานต้นแบบ - การให้คำปรึกษา

- การตรวจสอบสภาพการใช้งาน - จัดสัมมนา / ฝึกอบรม

- การวิเคราะห์ความล้าของชิ้นส่วนอุปกรณ์

ผู้สนใจติดต่อขอรับบริการศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. ได้ที่ โทร. 0 2323 1672 - 80 โทรสาร 0 2323 9165, 0 2577 9009 หรือที่ โทร. 0 2577 9300 E-mail : [email protected]

และขอรับบริการจากศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ วว. ได้ที่ โทร. 0 2577 9300, 0 2577 9000 , 0 2577 9264-79 โทรสาร 0 2577 4160-1 , 02577 9009 ในวันและเวลาราชการ หรือที่ E-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ