“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

เสาร์ ๑๙ มีนาคม ๒๐๐๕ ๑๕:๒๔
กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางในเอเชียจะมีนโยบายแตกต่างกัน
เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเผยว่า การสะสมเงินทุนสำรองในเอเชียมากเกินไปจะไม่ส่งผลดี ทั้งนี้ ความพยายามทำให้ค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริงโดยการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในหลายด้าน อาทิ การกีดกันทางการค้า ไม่สามารถควบคุมระบบการเงินของประเทศได้ และ ทำให้ต้นทุนในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น
บทวิเคราะห์
สาเหตุหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศในเอเชียมิได้ผูกค่ากับเงินสกุลเหรียญสหรัฐทุกประเทศ อย่างไรก็ตาม เลแมน บราเดอร์ส คาดการณ์ว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและกำไรจาก การลงทุนของธนาคารกลางคิดเป็นมูลค่าเพียง 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐจากเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเอเชียที่เพิ่มขึ้นรวม 535,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากข้อมูลดังกล่าวถูกต้อง นั่นหมายความว่า การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศในเอเชียในปีที่ผ่านมามีมูลค่า 475,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งหมดของภูมิภาคเอเชียที่มีมูลค่าประมาณ 360,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยธนาคารกลางบางประเทศในเอเชียที่ใช้เงินออมในประเทศซื้อสินทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศสูงสุดยังเป็นประเทศที่ใช้เงินออมของทั่วโลกมาลงทุนใหม่ (recycler) รายใหญ่ ส่งผลให้ต้องมีการปรับสัดส่วนระหว่าง ความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกกับความต้องการเงินลงทุนจาก ภายนอกของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ธนาคารกลางของจีนเป็นประเทศที่นำเงินออมมาลงทุนใหม่รายใหญ่ที่สุดเมื่อ ปีที่ผ่านมา โดยจีนมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2547 ขณะที่มีเงินทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศ (ซึ่งปรับตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและกำไรจากการลงทุนใหม่) เพิ่มขึ้น 193,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อพิจารณาจากสมมติฐานที่ว่า ญี่ปุ่นมีเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศใน สกุลเงินเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียมีเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศในสกุลเงินเหรียญสหรัฐเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ทำให้ เลแมน บราเดอร์ส ประเมินว่า เงินทุนสำรองเงินตรา ต่างประเทศในสกุลเงินเหรียญสหรัฐทั้งหมดของภูมิภาคเอเชีย มีการปรับเพิ่มขึ้น 348,000 ล้านเหรียญสหรัฐใน ปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลของสหรัฐอเมริกา
นโยบายร่วมกันของธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชีย
นายอลัน กรีนสแปน ประธานผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “มีหลักฐานที่ไม่เด่นชัดว่า นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายสินทรัพย์สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้สนับสนุน สมมติฐานดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ชี้ว่า ส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั่วโลกในปี 2546 (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินทุนสำรองเงินตรา ต่างประเทศของภูมิภาคเอเชีย) มีเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศในสกุลเงินเหรียญสหรัฐสูงถึง 441,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 87 ของส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ข้อมูลของบีไอเอส ประจำปี 2547 ยังไม่นำออกเผยแพร่ สำหรับข้อมูลของกระทรวงการคลัง สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความทันสมัยมากกว่าแต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าระบุว่า นักลงทุนใน เอเชียได้ซื้อพันธบัตรสกุลเงินเหรียญสหรัฐคิดเป็นมูลค่าสุทธิ 359,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2547 ทั้งนี้แ เลแมน บราเดอร์ส เห็นว่า หากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาสามารถบ่งชี้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างถูกต้องแล้ว ตัวเลขดังกล่าวนี้น่าจะเป็นการประเมินมูลค่าเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศในสกุลเงินเหรียญสหรัฐของประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศในเอเชียคิดเป็นร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับปี 2546
อย่างไรก็ตาม เลแมน บราเดอร์ส ตั้งข้อสงสัยถึงนโยบายที่เห็นพ้องกันของธนาคารกลางของประเทศในเอเชียว่า หากยังคงมีนโยบายซื้อสินทรัพย์ในสกุลเงินเหรียญสหรัฐต่อเนื่องต่อไป ธนาคารกลางเหล่านี้จะมีความเสี่ยงตลอดจนมีต้นทุนที่สูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ประการแรก ตราบเท่าที่ค่าเงินของประเทศในเอเชียยังมีค่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริงนานเท่าใด ความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญปัญหาการกีดกันทาง การค้าจะเพิ่มขึ้นด้วย ประการที่สอง การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางจะมีความรุนแรงและ ยืดเยื้อมากขึ้น ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบเพิ่มสูงขึ้น เพื่อรักษาสภาพคล่องให้คงเดิม ธนาคารกลางอาจ จำเป็นต้องขายหลักทรัพย์หรือประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้เพื่อดึงดูดนักลงทุนภายในประเทศให้ซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางเก็บไว้ในพอร์ตการลงทุนของตน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ ต้นทุนของการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งกระตุ้นให้มีการไหลเข้าของเงินทุน และประการสุดท้าย การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องจะทำให้ธนาคารกลางของประเทศในเอเชียประสบความเสี่ยงต่อการสูญเสียอำนาจในการควบคุมระบบการเงินในประเทศได้
นอกจากนี้ ธนาคารกลางของประเทศในเอเชียยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการขาดทุนจากการซื้อขาย สินทรัพย์สกุลเงินเหรียญสหรัฐ โดยเกาหลีและไทยมีเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 30 ของ จีดีพี ขณะที่จีนมีร้อยละ 37 มาเลเซียมีร้อยละ 58 ฮ่องกงมีร้อยละ 75 ไต้หวันมีร้อยละ 79 และสิงคโปร์มี ร้อยละ 109
ซึ่งหากธนาคารกลางของประเทศในเอเชียยังคงนำเงินออมทั่วโลกมาใช้ในการแก้ไขดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลของสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับเมื่อปี 2547 จะส่งผลให้ธนาคารกลางต้องเผชิญความเสี่ยงกรณีสกุลเงินเหรียญสหรัฐลดค่าลงอย่างรุนแรง โดยเลแมน บราเดอร์ส ประเมินว่า ค่าเงินเหรียญสหรัฐจะอ่อนค่าลงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียในช่วงปลายปี 2549 ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารกลางของสิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน ต้องขาดทุนจากการซื้อขายสินทรัพย์สกุลเงินเหรียญสหรัฐมากกว่าร้อยละ 20 ของจีดีพี
สำหรับธนาคารกลางของประเทศขนาดเล็กในเอเชียซึ่งมีสิ่งจูงใจที่ดีที่สุดในการลดการสะสมสินทรัพย์ สกุลเงินเหรียญสหรัฐก็มีโอกาสประสบภาวะวิกฤติค่าเงินเหรียญสหรัฐมากที่สุดเหมือนกัน แม้ว่าจะไม่เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเพียงพอที่จะทำให้เกิดปัญหา แต่การกระจายการถือเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศออกเป็นเงินหลายสกุลด้วยการชะลอการสะสมสินทรัพย์สกุลเงินเหรียญสหรัฐจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางของประเทศในเอเชียเริ่มมีนโยบายที่แตกต่างกัน เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการสร้างภาระให้แก่สมาชิกหลัก ซึ่งได้แก่ จีนและญี่ปุ่น
เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารเกาหลีประกาศแผนการกระจายการถือเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศออกเป็นเงินหลายสกุล ขณะที่ผู้บริหารของธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคเอเชียได้มีการประชุมลับในประเทศไทยหลังจากที่เคยมีการหารือร่วมกันมาก่อนในฮ่องกง อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียเริ่มจะได้รับผลกระทบจากการประชุมในรูปแบบดังกล่าวซึ่งมีแต่เสนอแนวคิด แต่ไม่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นจริง ขณะที่ธนาคารกลางของประเทศขนาดเล็กบางแห่งพยายามพึ่งพาธนาคารกลางของประเทศขนาดใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าไป ผูกติดกับสินทรัพย์สกุลเงินเหรียญสหรัฐที่มีความเสี่ยง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
วราพร สมบูรณ์วรรณะ
สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
โทร 0 2252 9871--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ