สมาคมธรณีวิทยาฯ จับมือกูรูด้านธรณีวิทยาโซนเอเซียอาคเนย์ รับมือภัยพิบัติโลก ในงาน GEOSEA 2012: Geoscience in Response to the Changing Earth

อังคาร ๑๓ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๐:๕๒
สมาคมธรณีวิทยาฯ จับมือกูรูด้านธรณีวิทยาโซนเอเซียอาคเนย์ รับมือภัยพิบัติโลกในงาน GEOSEA 2012: Geoscience in Response to the Changing Earth“รู้ทันภัยพิบัติ ด้วยศาสตร์แห่งธรณีวิทยา”

สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย จับมือกูรูด้านธรณีวิทยาจาก 10 ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดสัมมนา “12th Regional Congress on Geology, Mineral and Energy Resources of Southeast Asia” หรือ GEOSEA 2012 ภายใต้หัวข้อ Geoscience in Response to the Changing Earth “รู้ทันภัยพิบัติด้วยศาสตร์แห่งธรณีวิทยา” 7-8 มี.ค.นี้ เพื่อมุ่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ สร้างภูมิคุ้มกันรับมือกระแสข่าวลือเรื่องภัยพิบัติ ชูบทบาทนักธรณีวิทยาไทยต่อปัญหาภัยพิบัติโลก

ดร.ทรงภพ พลจันทร์ นายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย (ส.ธ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากมายที่ระบุว่าสภาพอากาศทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลง และทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องภาวะโลกร้อน (Global warming) และภัยธรรมชาติ เช่น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือมีหิมะตกหนัก ในภูมิภาคและช่วงเวลาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงหรือมีความถี่มากขึ้นทุกๆ ปี เช่น น้ำท่วม สึนามิ พายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม เป็นต้น ภัยเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยของมนุษย์ อันเป็นผลจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกินความจำเป็น ในขณะที่จำนวนประชากรกลับเพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นชัด ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ทรัพยากรทางธรณีมากขึ้น อาทิ ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำใต้ดิน และสินแร่เศรษฐกิจอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้นการร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ทุกสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาธรณีวิทยา จึงนับเป็นช่องทางสำคัญในการระดมความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุมในทุกแง่มุมจากผู้ที่รู้จักสาเหตุที่แท้จริงในเรื่องเหล่านี้

ในปีนี้สมาคมธรณีวิทยาแห่งประประเทศไทย หรือ The Geological Society of Thailand (GST) ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในจัดการประชุมทางธรณีวิทยา สินแร่ และแหล่งพลังงานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 12 “12th Regional Congress on Geology, Mineral and Energy Resources of Southeast Asia” หรือ GEOSEA 2012 Bangkok ,Thailand โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม 2555 ณ ห้องบอลรูม C โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว ภายใต้หัวข้อการประชุม คือ “Geoscience in Response to the Changing Earth” หรือ รู้ทันภัยพิบัติ ด้วยศาสตร์แห่งธรณีวิทยา”

ทั้งนี้งาน GEOSEA ถูกกำหนดให้จัดการประชุมทุกๆ 3 ปี โดยสมาคมธรณีวิทยาของแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือความร่วมมือกันทางด้านธรณีวิทยา โดยประเด็นของการประชุมในแต่ละครั้งจะสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้นในมุมมองของวิชาชีพธรณีวิทยา สำหรับประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้เป็นเรื่องของกระแสการเปลี่ยนแปลงและการตื่นตัวเรื่องภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลก ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบันและอนาคต

นอกจากนี้นักธรณีวิทยายังมีโอกาสร่วมอภิปรายถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคำทำนายในปี 2012 และคำอธิบาย ที่เหมาะสมทางวิทยาศาสตร์ต่อสังคม และสร้างความเข้าใจถึงบทบาทของนักธรณีวิทยาต่อปัญหาของโลกในปัจจุบัน นอกจากนั้นการประชุมครั้งนี้จะมีการหารือกันเกี่ยวกับบทบาทของสมาคมธรณีวิทยาต่อการเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2015 ที่จะมาถึงนี้อีกด้วย

การสัมมนา GEOSEA 2012 ยังถือเป็นอภิปรายระหว่างนักธรณีวิทยาด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางธรณีวิทยา อันจะนำไปสู่งานวิจัยที่ดีขึ้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการเสาะหาแหล่งทรัพยากรธรณีใหม่ๆ ผ่านประสบการณ์ของนักธรณีวิทยาจาก 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 1.นวัตกรรมทางธรณีวิทยาในปัจจุบัน 2.ทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะถิ่น และภัยธรรมชาติ 3.ความเกี่ยวโยงทางธรณีศาสตร์ สถานะและบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงโลกและการแบ่งปันต่อสังคม และ 4.จุดยืน วิสัยทัศน์ และทิศทางของ GEOSEA ที่จะก้าวต่อไป โดยการประชุมจะแบ่งเป็น 2 หัวข้อย่อย ได้แก่ ธรณีวิทยาและทรัพยากรทางธรณี (Geology and Geological Resources) และสิ่งแวดล้อมทางธรณีวิทยาและภัยอันตรายจากทางธรณีวิทยา (Environmental Geology and Geological Hazards) นอกจากนั้นภายในงานยังมีการแสดงนิทรรศการเหตุการณ์ภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอีกด้วย

นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะนักธรณีวิทยาผู้มีประสบการณ์และคร่ำหวอดแห่งวงการธรณีวิทยาไทย กล่าวว่า การศึกษาด้านธรณีวิทยาเป็นการศึกษาลักษณะทางธรณีและปรากฏการณ์ธรรมชาติในหลักฐานที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้รู้ถึงเหตุการณ์ในอดีต และเพื่อคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ มิใช่เรื่องของสถิติ และด้วยความก้าวหน้าแห่งศาสตร์ธรณีวิทยาผนวกกับความก้าวล้ำยุคแห่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน ข้อมูลเชิงธรณีวิทยาในวันนี้จึงมีสถานะเป็นเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือระดับสูง สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ จึงทำให้เกิด คำกล่าวขึ้นใหม่ที่ว่า “The Present is the key to the future”

การประชุม GEOSEA 2012 ในครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการธรณีวิทยาในภูมิภาคนี้ เพราะจะเป็นการแบ่งปันข้อมูลและสภาวการณ์ทางธรณีวิทยา ภัยพิบัติ และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากนักธรณีวิทยาของแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในวงการธรณีวิทยา การเตือนภัยและการป้องกันพิบัติภัยที่จะเกิดจากธรรมชาติตลอดจนการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างยั่งยืนและมั่นคงในระดับภูมิภาคต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ