IFS VERSION 6 มีอะไรใหม่ในมาตรฐานฉบับนี้

พุธ ๑๔ มีนาคม ๒๐๑๒ ๐๙:๕๑
เมื่อปีที่ผ่านมากลุ่มผู้ค้าปลีกแห่งอังกฤษ ได้มีการประกาศใช้มาตรฐาน British Retail Consortium: BRC ISSUE 6 และเริ่มมีการนำมาตรฐานฉบับดังกล่าวมาใช้ในการตรวจและให้การรับรองอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ทางด้านกลุ่มผู้ค้าปลีกฝั่งเยอรมนีและฝรั่งเศสก็ไม่น้อยหน้าดำเนินการปรับเวอร์ชั่นของมาตรฐาน International Featured Standard: IFS เป็นเวอร์ชั่น 6 เช่นกัน หากแต่มีการประกาศมาตรฐานอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2555 และจะมีผลในการตรวจและให้การรับรองตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ทั้งมาตรฐาน BRC และ IFS ต่างก็ได้รับการยอมรับจาก GFSI หรือ (Global Food Safety Initiative) โดยเนื้อหาของมาตรฐานจะครอบคลุมทั้งในเรื่องของคุณภาพ และการจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร

สำหรับมาตรฐาน IFS Version 6 นั้นได้มีการทบทวนและพัฒนาจาก IFS Version 5 โดยกลุ่มผู้ค้าปลีก ผู้ประกอบการโรงงาน ผู้ประกอบการการบริการอาหาร หน่วยรับรอง และกลุ่มคณะทำงานจากประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้มาตรฐานทั่วโลก โดยนำหลักการของ EU Commission Guideline มาพิจารณา ประกอบการจัดทำมาตรฐานฉบับใหม่

การเปลี่ยนแปลงหลักๆของ IFS Version 6

- มีการปรับปรุงระบบการให้คะแนนเล็กน้อย

- มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในการกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบภายใต้พื้นฐานของเครื่องมือการคำนวณซึ่งจะถูกนำมาใช้ในทุกหน่วยรับรอง (Certification Body)

- มีการอธิบายใหม่ถึงโปรแกรม IFS Integrity ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2553 เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของหน่วยรับรอง และผู้ตรวจประเมิน ใน Audit Protocol

- มาตรฐาน IFS นั้นไม่ใช่เพียงเรื่องของความปลอดภัยด้านอาหาร แต่ยังคำนึงถึงคุณภาพ โดย IFS Version 6 จะรวมข้อกำหนดด้านคุณภาพ เช่น การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ, ข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก, ข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลด้านคุณภาพหรือปริมาณที่ติดบนฉลาก

- เพื่อให้สอดคล้องกับ GFSI Guidance document version 6 ข้อกำหนดเกี่ยวกับ Food Defense จึงถูกแนะนำไว้ใน IFS Food Audit Check-list โดยแนวทางทั้งหมดถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้องค์กรดำเนินการตามข้อกำหนดบนพื้นฐานการประเมินความเสี่ยง ซึ่งโดยส่วนมากจะดำเนินการตามกฎหมายของประเทศปลายทาง

- ผู้ตรวจประเมินด้านมาตรฐาน IFS จะได้รับการอนุมัติตามขอบเขตของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ขอบเขตด้านเทคโนโลยีถูกนำเสนอขึ้นมาใหม่เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญของผู้ตรวจประเมินมากยิ่งขึ้นในเรื่องของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต

สำหรับเนื้อหาที่มีการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับการตรวจ (Part 1: Audit Protocol ) มีการเพิ่มข้อกำหนดใหม่ในภาคผนวกที่ 1 และ 3 ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการกำหนดขอบเขตการรับรอง (P1 Annex 1: Clarification for scope application of the difference IFS Standards, P1 Annex 3: Product Scopes and Technology Scopes)

ในส่วนนี้ หากมีการขยายขอบเขตของการให้การรับรอง (Extension Audit) เช่น ผลผลิตตามฤดูกาล (Seasonal Product) หรือ มีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น ไม่ต้องรับการตรวจใหม่ทั้งหมด ให้ตรวจเฉพาะส่วนที่เพิ่มเติม ทั้งนี้บริษัทที่ขอการรับรองควรจะแจ้งผู้ตรวจประเมินให้ดำเนินการพิจารณาถึงขอบข่ายที่เพิ่มขึ้น

สำหรับการตรวจประเมินองค์กรที่มีโรงงานหลายสาขา( Multi-location companies) และมีการบริหารจัดการโดยสำนักงานใหญ่ ควรจะมีการตรวจที่สำนักงานใหญ่ก่อนแล้วจึงไปตรวจในส่วนของสาขา โดยพิจารณาถึงผลการตรวจสำนักงานใหญ่ในรายงานการตรวจประเมินโรงงานสาขาด้วย โรงงานแต่ละไซค์ควรได้รับการตรวจภายในระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือนนับจากการตรวจสำนักงานใหญ่ นอกจากนี้ควรมีการแยกรายงานการตรวจและใบรับรองในแต่ละไซค์ออกจากกันด้วย

การกำหนดระยะเวลาในการตรวจประเมิน ให้ประยุกต์ใช้เครื่องมือในการคำนวณ โดยใช้จำนวนพนักงาน ขอบเขตของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีในการผลิต รวมทั้งเครื่องมือช่วยการคำนวณ Manday จากเวบไซค์ของ IFS

สำหรับการกำหนดเกณฑ์การตรวจประเมินโดยให้เกรด A B C D กรณีผู้ตรวจประเมินตรวจพบว่า ไม่มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดจะได้เกรด D สำหรับข้อกำหนดนั้นๆ ใน IFS Food version 5 ผู้ประกอบการจะได้รับคะแนน 0 แต่สำหรับ IFS Food version 6 ผู้ประกอบการจะถูกหักคะแนน 20 คะแนน ซึ่งตัวเลขตรงนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการพัฒนาพร้อมปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

สำหรับวัฎจักรของใบรับรอง (Certification Cycle) ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี โดยจะใช้วันที่ในใบรับรองเป็นวันเดียวกัน ในการตรวจต่ออายุใบรับรองอย่างเร็วที่สุดคือตรวจภายใน 8 สัปดาห์ก่อนกำหนดการตรวจ หรืออย่างช้าที่สุดตรวจภายในสองสัปดาห์หลังจากครบกำหนดวันตรวจ (Audit Due Date)

ในส่วนที่ 2 รายการในการตรวจประเมิน (Part 2: Audit Checklist) มีโครงสร้างของเช็คลิสใหม่ด้วยการเข้าถึงการตรวจที่มีความเป็นเหตุเป็นผล นอกจากนี้ข้อกำหนดยังโฟกัสในเรื่องของประสิทธิผลมากกว่าเรื่องของเอกสาร เช่น การตรวจประเมินภายใน, เรื่องของความสะอาดและการติดเชื้อ เป็นต้น ในมาตรฐาน IFS นี้ ยังคงมีข้อกำหนดจำเพาะซึ่งถูกออกแบบให้เป็นข้อกำหนด KO (Knock-out) จำนวน 10 ข้อเช่นเดียวกับ IFS Version 5

นอกจากนี้มีการเพิ่มข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะจำเพาะของผลิตภัณฑ์ และข้อกำหนดของลูกค้า, มีการจัดทำรายการตรวจสอบ (Mandatory Checklist) ในบทที่ 6: การป้องกันด้านอาหารเพิ่มขึ้น

บทที่ 1 ความรับผิดชอบด้านการจัดการ (Chapter 1: Senior management responsibility)

มีการเพิ่มข้อกำหนดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างกัน ข้อ 1.2.11 โดยบริษัทควรมีการให้ข้อมูลกับลูกค้าโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในเรื่องของประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความจำเพาะของผลิตภัณฑ์

“The company shall inform its customers, as soon as possible, of any issue related to product specification, in particular of all non conformity(ies) identified by competent authorities related to products, which could have, has or has had a defined impact on safety and/or legality of respective products. This could include, but are not limited to cautionary issues.”

บทที่ 2 ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารและคุณภาพ (Chapter 2: Quality and food safety management system)

การเปลี่ยนแปลงหลักของหัวข้อนี้ คือการขยายข้อกำหนด ในความปลอดภัยด้านอาหาร และคุณภาพ รวมทั้งการอัพเดรตกับข้อกำหนด ISO 22000 และ GFSI

มีการปรับเปลี่ยนในข้อกำหนดเรื่องของการจัดเก็บบันทึก (Record Keeping) ข้อ 2.1.2.3ให้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างน้อย 1 ปี หลังจากอายุการเก็บรักษา

เพิ่มข้อ 2.1.2.5 บันทึกควรจะมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัยและง่ายต่อการเข้าถึง โดยข้อกำหนดนี้ถูกเพิ่มเข้ามาให้สอดคล้องกับ GFSI Guidance Document Version 6

เพิ่มข้อ 2.2.1.4 ระบบ HACCP ควรจะได้รับการทบทวนและการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นควรจะทำเมื่อผลิตภัณฑ์, กระบวนการ หรือขั้นตอน ถูกดัดแปลง (HACCP system shall be reviewed and necessary changes shall be made when any modification is made in the product, process or any step.) หัวข้อนี้ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อให้อัพเดรตตาม HACCP ซึ่งใน IFS Version 5 ยังไม่ได้มีการกล่าวถึง

ปรับเปลี่ยนข้อกำหนด ใน Step 6 (Principle 1) ข้อ 2.2.3.5.1 โดยให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่รวมถึง สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) ด้วย

ใน Step 9 (Principle 4) ได้มีการเพิ่มข้อกำหนดดังต่อไปนี้

เพิ่มข้อกำหนด 2.2.3.8.2 ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลสังเกตการณ์จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Critical Control Point: CCP) ควรจะได้รับการอบรมโดยเฉพาะ

เพิ่มข้อกำหนด 2.2.3.8.3 บันทึกของการสังเกตจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมควรจะมีการตรวจสอบ

เพิ่มข้อกำหนด 2.2.3.8.4 ควรมีการสังเกตจุดควบคุม (Control Point:CP) และการสังเกตนี้ควรถูกบันทึกด้วย ซึ่งข้อกำหนดข้อนี้ที่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 22000

บทที่ 3 การจัดการทรัพยากร (Chapter 3 Resource Management)

การเปลี่ยนแปลงหลักๆจะเป็นเรื่องของ การใช้ถ้อยคำใหม่ในข้อกำหนดเกี่ยวกับโรคที่มีการติดเชื้อ การฝึกอบรมบุคลากร และ การจัดการกับอาหารที่พนักงานนำมา

การปรับเปลี่ยนข้อความ ในข้อกำหนด 3.2.3.1 โดยให้มีการสื่อสารมาตรการสำหรับบุคคลากร ผู้รับเหมา และแขกผู้มาเยี่ยมโรงงาน เพื่อเปิดเผยถึงโรคที่มีการติดเชื้อซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในอาหาร โดยการแจ้งข้อมูลดังกล่าวควรจะทำเพื่อลดความเสี่ยงต่อผลิตภัณฑ์ที่อาจจะถูกปนเปื้อนได้

เพิ่มข้อกำหนด 3.2.1.3 Compliance with personnel hygiene requirements shall be checked regularly. ข้อกำหนดข้อนี้มีอยู่ใน IFS Version 5 อยู่ในข้อกำหนด KO แต่ใน IFS Version 6 มีการแยกข้อกำหนดเพิ่มออกมาอย่างเอกเทศ

ในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย อุปกรณ์สำหรับสุขอนามัยของบุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพนักงาน ได้มีการปรับเปลี่ยนในข้อ 3.4.5 เรื่องกฎเกณฑ์ของห้องน้ำ เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง, การระบายอากาศที่ถูกต้อง และสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนในข้อกำหนดเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือ (ข้อ 3.4.7) เช่น น้ำที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม สบู่เหลว รวมทั้งอุปกรณ์ในการทำให้มือแห้ง

นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มข้อกำหนด ข้อ 3.4.3 ควรจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อมั่นใจว่ามีการจัดการอย่างถูกต้องสำหรับของส่วนตัวของพนักงานและอาหารที่บุคลากรนำมารับประทานเอง, อาหารที่มาจากห้องอาหาร และเครื่องจำหน่ายอาหารอัตโนมัติ อาหารเหล่านี้ควรถูกจัดเก็บ และ/ หรือ ถูกใช้ในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น

เพิ่มข้อกำหนด 3.4.9 การวิเคราะห์และการประเมินความเสี่ยง ควรมีโปรแกรมเพื่อควบคุมประสิทธิผลของสุขอนามัยด้านความสะอาดของมือด้วย

เพิ่มข้อกำหนด 3.4.11 ควรมีการจัดเตรียมพื้นที่เพี่ออำนวยความสะดวกในเรื่องของความสะอาด เช่น รองเท้า , เสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน

บทที่ 4 กระบวนการผลิต (Chapter 4 Production Process)

ในส่วนนี้มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มข้อกำหนดมากที่สุด โดยมีการเพิ่มข้อกำหนด 4.2.1.3 ในกรณีที่เป็นความต้องการของลูกค้า ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ควรจะมีการตกลงกันอย่างเป็นทางการ

เพิ่มข้อกำหนด 4.3.6 เพื่อให้มีกระบวนการที่มั่นใจได้ว่าการติดฉลากนั้นสอดคล้องกับกฎหมายประเทศปลายทาง และความต้องการของลูกค้า

เพิ่มข้อกำหนด 4.3.8 บริษัทควรจะแสดงให้เห็นผ่านการศึกษาหรือดำเนินการทดสอบเพื่อตรวจสอบข้อมูลทางโภชนาการ หรือคำกล่าวอ้าง ที่มีการกล่าวถึงในฉลาก

เพิ่มข้อกำหนด 4.4.1.6 การจัดซื้อต้องตรวจสอบให้สอดคล้องกับข้อกำหนดที่มีอยู่ ตารางเวลาในการตรวจสอบอย่างน้องต้องคำนึงถึง ความต้องการบริการ สถานะผู้จัดจำหน่าย และผลกระทบของการบริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

ข้อกำหนด ซึ่งเป็นหัวข้อใหม่ คือ ข้อกำหนด 4.4.2 การค้าสินค้าที่ผลิต (Trade of manufactured goods)

ข้อกำหนดที่ 4.4.2.1 ควรจะมีกระบวนการรับรองและตรวจสอบซัพพลายเออร์

ข้อกำหนดที่ 4.4.2.2 กระบวนการรับรองและตรวจสอบซัพพลายเออร์นั้นควรมีเกณฑ์การตรวจประเมินที่ชัดเจน

ข้อกำหนดที่ 4.4.2.3 หากมีความต้องการของลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงสำหรับวัตถุดิบ หรือ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปที่ใช้ในฉลากส่วนตัว ควรมีการใส่คำอธิบายสั้น ๆที่ได้รับการอนุมัติแล้วเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าด้วย

เพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับ Product Packaging ข้อกำหนด 4.5.1 ควรมีคำอธิบายชนิดของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์

เพิ่มข้อกำหนด 4.5.3 บรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ควรได้รับการรับรองซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนด หรือต้องมีเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์นั้นเหมาะสมในการนำมาบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร

เพิ่มข้อกำหนด 4.5.5 ควรจะมั่นใจได้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องควรมีการตรวจสอบสม่ำเสมอ และการตรวจสอบต้องได้รับการบันทึกด้วย

เพิ่มข้อกำหนด 4.5.6 ข้อมูลฉลากต้องมีความชัดเจน คงทน และถูกต้องตามความต้องการลูกค้า อีกทั้งต้องมีการตรวจสอบและบันทึกอย่างสม่ำเสมอด้วย

เพิ่มข้อกำหนดในข้อ 4.9.10 เรื่องของ Compressed air โดย Compressed Air ที่กระทบกับผลิตภัณฑ์อาหาร และบรรจุภัณฑ์ (Primary Packaging) โดยตรงต้องมีการตรวจสอบด้วยการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง และควรจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนอีกด้วย

เพิ่มข้อกำหนด 4.10.6 การทำความสะอาดของใช้ต้องระบุอย่างชัดเจน การทำความสะอาดของใช้ควรจะดำเนินการในทางที่หลีกเลี่ยงการปนเปื้อน

4.10.10 ในกรณีที่บริษัทจ้างผู้ให้บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ควรมทีการกำหนดข้อกำหนด 4.10 ไว้ในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้าง

เพิ่มข้อกำหนด 4.11.1 ควรมีการดำเนินการขั้นตอนการจัดการของเสียเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

เพิ่มข้อกำหนด 4.12.12 ในกรณีที่มีการใช้ Visual inspection เพื่อตรวจสอบวัสดุจากต่างประเทศ พนักงานควรได้รับการฝึกอบรม และการเปลี่ยนแปลงระบบปฏิบัติการ ควรมีการดำเนินการในความถี่ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการให้ได้มากที่สุด

เพิ่มข้อกำหนด 4.13.6 ประสิทธิผลของการควบคุมศัตรูพืช ควรจะถูกตรวจสอบได้

เพิ่มข้อกำหนด 4.15.8 เรื่องของ ความปลอดภัยของรถขนส่งควรมีการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

ข้อกำหนด 4.16.6 ในกรณีที่มีการจ้างผู้รับจ้างบำรุงรักษาและซ่อมแซม ควรมีการระบุถึงความต้องการของบริษัทในเรื่องของวัสดุและอุปกรณ์ที่นำมาใช้เป็นลายลักษณ์อักษรและเก็บรักษาไว้

นอกจากนี้ในข้อกำหนดที่ 4 ยังเพิ่มข้อกำหนดในเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตมีสภาพที่ดีและไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยด้านอาหาร(4.17.4) รวมถึงบันทึกการตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่สถานที่ผลิตจนถึงลูกค้าปลายทางควรจะตรวจสอบได้ (4.18.2) การตรวจสอบย้อนกลับควรอยู่ในสถานที่ที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่าง กระบวนการของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายและฉลากที่ติดบนผลิตภัณฑ์ (4.18.3) และในกรณีที่ลูกค้าร้องขอ ควรมีการเก็บและรักษากลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม จนกว่าจะสิ้นสุดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ (4.18.7)

บทที่ 5 การวัด, วิเคราะห์ และการปรับปรุง (Measurements, Analysis, Improvements)

เพิ่มข้อกำหนด 5.3.1 ควรมีการกำหนดเกณฑ์สำหรับการตรวจสอบกระบวนการและการควบคุมอย่างชัดเจน

เพิ่มข้อกำหนด 5.3.5 การตรวจสอบกระบวนการควรจะดำเนินการโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ หากมีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญเกิดขึ้นควรจะมีการตรวจสอบอีกครั้ง

เพิ่มข้อกำหนด 5.5.2 ควรมีขั้นตอนในการกำหนดเกณฑ์ในการปฏิบัติตามสำหรับการตรวจสอบสต๊อกจำนวนมาก ขั้นตอนนี้ความคำนึงถึงความหนาแน่น และคุณสมบัติอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มข้อกำหนด 5.5.3 การตรวจสอบควรจะดำเนินการและบันทึก ตามแผนตัวอย่าง ซึ่งมั่นใจได้ว่าเป็นตัวแทนที่เหมาะสมของการผลิตจำนวนมาก

เพิ่มข้อกำหนด 5.5.4 สำหรับสินค้าที่จะดำเนินการส่งมอบ ผลของการตรวจสอบเหล่านี้ควรจะสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้

เพิ่มข้อกำหนด 5.6.8 บริษัทควรมีการปรับปรุงแผนการควบคุม และ/หรือ ใช้มาตรการใดๆที่เหมาะสมในการควบคุมผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของอาหาร

เพิ่มข้อกำหนด 5.10.4 ไม่ควรจะติดฉลากที่มีข้อความที่ไม่ได้ระบุไว้ในคู่สัญญา บนบรรจุภัณฑ์ของสินค้า

นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนความถี่ในการตรวจประเมินภายใน (Internal Audit) อย่างน้อยปีละครั้งสำหรับกิจกรรมที่มีความสำคัญกับความปลอดภัยด้านอาหาร (5.1.2), ควรมีการอัพเดรตรายละเอียดของผู้ติดต่อซึ่งสามารถติดต่อได้ เพื่อดูแลและจัดการกับเหตุการณ์ในกรณีฉุกเฉิน (5.9.3)

บทที่ 6 Food defense and external inspections Mandatory check-list โดยแต่เดิมนั้น Checklist เป็นเพียง Optional สำหรับผู้ตรวจประเมิน แต่ใน IFS Version 6 มีการกำหนดรายการตรวจสอบ หรือ Mandatory Check-list เพิ่มขึ้น

ในส่วนที่ 3 Requirements for accreditation bodies, certification bodies and auditors (part 3) จะเน้นเรื่องของ การอนุมัติผู้ตรวจประเมินโดยพื้นฐานความสามารถของผู้ตรวจประเมิน เพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของการตรวจประเมิน

ส่วนสุดท้ายเป็นเรื่องของ Integrity Program โปรแกรมที่กำหนดขึ้นเพื่อติดตามความสอดคล้องในการปฏิบัติ สำหรับการให้การรับรองระบบงานระหว่าง IFS และ Certification Body นอกจากนี้ยังเป็นระบบสำหรับการตรวจสอบเนื้อหาในใบรับรองว่ามีความถูกต้อง และสนับสนุนให้ส่งข้อร้องเรียนต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสู่ IFS ผ่านทางเว็บไซต์

สำหรับผู้ที่สนใจต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน IFS สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้จาก http://www.ifs-certification.com/index.php/en/ เพื่อให้ผู้ประกอบได้ทราบข้อมูลและเตรียมตัวเพื่อรับการตรวจด้วยมาตรฐาน IFS New Version

แปลและเรียบเรียงโดย: นางสาวดวงกมล จารุภัทรากร, เจ้าหน้าที่สื่อสารการตลาด, บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย

หมายเหตุ: การแปลข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นการเรียบเรียงตามความเข้าใจของผู้เขียน ทั้งนี้ผู้อ่านควรยึดข้อความใน IFS VERSION 6 Requirement เป็นสำคัญ

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.ifs-certification.com/index.php/en/

>> ดาวน์โหลดข้อกำหนด IFS VERSION 6 ได้ที่

http://www.ifs-certification.com/images/ifs_standards/ifs6/IFS_Food_V6_en.pdf

>>> Main changes IFS Food 6

http://www.ifs-certification.com/images/downloads/en/Design_Short_Version_IFS_Food_6_Jan_2012%20_english_final.pdf

>>> COMPARISON CHECK LIST IFS FOOD V5 VERSUS DRAFT CHECK LIST IFS FOOD V6 AND GUIDELINE

http://www.ifs-certification.com/images/downloads/en/ifs%20food%20comparison_version%205_version%206_eng_fr_ger_it_span_2012-02-09.xls

>>> IFS Food Defence Implementation Guide

http://www.ifs-certification.com/images/downloads/en/IFS%20Food%20Defense%20guideline_EN_2012_02_03.pdf

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

คุณดวงกมล จารุภัทรากร

ฝ่ายสื่อสารองค์กร บูโร เวอริทัส ประเทศไทย

โทร 02 670 4862

www.bureauveritas.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม