พม. จัดแถลงข่าวเรื่อง “มาตรฐานความมั่นคงของมนุษย์” เพื่อเป็นเครื่องมือการประเมินสถานการณ์ทางสังคมในภาพรวม

พุธ ๑๔ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๗:๕๒
วันที่ ๙ มี.ค.๕๕ เวลา ๑๐.๓๐ น. นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน งานแถลงข่าวเรื่อง “มาตรฐานความมั่นคงของมนุษย์” เพื่อเป็นเครื่องมือการประเมินสถานการณ์ทางสังคมในภาพรวม ณ ห้องปริ๊นซ์บอลลูม ๓ โรงแรมปริ๊น พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ

นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้มีการศึกษาและกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทยในภาพรวม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม และดำเนินการพัฒนาคนและสังคม และเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงให้มีการ บูรณาการการดำเนินงานด้านสังคมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ทั้งนี้ ในปี ๒๕๕๔ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ดำเนินการพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัดฯ โดยการทบทวน ประมวลองค์ความรู้กรอบแนวคิด ด้านความมั่นคงของมนุษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อกำหนดนิยาม กรอบแนวคิดมาตรฐานและตัวชี้วัดฯ ที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ซึ่งผลจากการพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัดฯ ได้องค์ประกอบ ๑๒ มิติ (๔๑ ตัวชี้วัด) ได้แก่ ๑.มิติที่อยู่อาศัย ๒.มิติสุขภาพ ๓.มิติอาหาร ๔.มิติการศึกษา ๕.มิติการมีงานทำและมีรายได้ ๖.มิติครอบครัว ๗.มิติชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม ๘.มิติศาสนาและวัฒนธรรม ๙.มิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๑๐.มิติสิทธิและความ เป็นธรรม ๑๑.มิติการเมือง และ ๑๒.มิติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และพลังงาน สำหรับประเมินความมั่นคงของมนุษย์ของประชาชนเป็นรายบุคคล ซึ่งสามารถสะท้อนความมั่นคงของประชาชนได้โดยตรง และจากสภาพปัญหาสังคม และการพัฒนาสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ และมีความหลากหลายในหลายมิติ ดังนั้น การพัฒนาจำเป็นต้องส่งเสริมเครือข่ายทางสังคมให้ร่วมมือในการพัฒนาสังคม พร้อมการระดมทุนทางสังคมต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและชุมชนให้มีคุณภาพ

นางพนิตา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม และช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถให้บริการได้กว้างขวาง ครอบคลุม และครบถ้วนทั้งหมด การสื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ ต่อหน่วยงานภาครัฐนั้น เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมก่อให้เกิดพลังเสริมสร้างความมั่นคงในสังคม ท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ