เบลล์แล็ปส์ผลิตชิปความเร็ว 400 กิกาบิตต่อวินาทีแรกของโลก

ศุกร์ ๑๖ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๑:๕๖
สามารถเพิ่มความเร็วเครือข่ายไฟเบอร์ออปติคปัจจุบันเร็วขึ้นอีก 4 เท่า

อัลคาเทล-ลูเซ่น (Euronext Paris and NYSE: ALU) ประกาศว่าเบลล์แล็ปส์ของอัลคาเทล-ลูเซ่นได้พัฒนาชิปใหม่ Photonic Service Engine (PSE) ให้กับเครือข่ายไฟเบอร์ออปติค ซึ่งจะขยายคาปาซิตี้ได้เท่าตัว และขับให้เครือข่ายปัจจุบันมีความเร็วขึ้นอีก 4 เท่า นับว่าเป็นชิปความเร็ว 400G แรกของโลก เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานสมาร์ทโฟนและทราฟฟิคประเภทวิดีโอที่มีมากขึ้น

ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าบริการด้านคลาวด์ บริการข้อมูลโมบายและบรอดแบนด์ผลักดันให้ผู้ให้บริการต่างๆ เร่งขยายคาปาซิตี้ความเร็วของเครือข่ายของตนอยู่ตลอดเวล่า หัวใจสำคัญ 400G PSE นี้จะเป็นคำตอบให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายที่มีเครือข่ายออปติคที่ความเร็ว 100G อยู่ให้เพิ่มความเร็วได้อีก 4 เท่าตัว ในขณะที่สามารถรองรับการยกระดับไปสู่การสร้างเครือข่ายความเร็ว 400G ได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ

ทั้งนี้ เมื่อดูการใช้งานเครือข่ายที่ความเร็ว 100G ของผู้ให้บริการทั่วโลกจะพบว่าในรายงาน OVUM:High Speed Optics: Global 40G/100G Market Outlook, January 2012 ขององค์กรวิจัยโอวุมได้รายงานว่าอัลคาเทล-ลูเซ่นอยู่ในตำแหน่งผู้นำในตลาดโซลูชั่น 100G ออปติค โดยครองตลาดอยู่ 69% ซึ่งหมายความว่า เครือข่ายส่วนใหญ่ทั่วโลกพร้อมที่จะใช้ชิป 400G ใหม่นี้ทันที

ผู้ให้บริการสามารถนำชิป 400G PSE ใหม่นี้ไปใช้ในทุกส่วนของเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ในส่วนเมโทรจนถึงส่วนภูมิภาคและส่วน Ultra-long haul และจะส่งสัญญาณ Wavelength บนสายโฟโตนิคใหม่หรือสายเดิมก็ได้ ทั้งนี้ชิปใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับอุปกรณ์ Alcatel-Lucent 1830 Photonic Service Switch (PSS) ที่นิยมใช้ในเครือข่ายกว่า 120 เครือข่ายทั่วโลก ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้เครือข่ายสามารถรับ-ส่งทราฟฟิคได้เร็วถึง 23 เทราบิตบนสายไฟเบอร์ออปติคแบบเดี่ยว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นกว่า 50% ในขณะที่ช่วยลดการบริโภคพลังงานต่อกิกาบิตได้มากถึง 33%

“ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรเช่นอัลคาเทล-ลูเซ่นกับผู้ชี่ยวชาญของเทเลคอมเน็ทเวิร์คโปรดักชั่นในครั้งนี้ ทำให้ดอยช์เทเลคอม แล็ปส์มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับ-ส่งสัญญาณผ่านการใช้งานอินเตอร์เน็ตจริงให้ดีขึ้นมากหลายเท่าตัวนี้” มร. เฮนริค อาร์โนร์ล ผู้จัดการของดอยช์เทเลคอม แล็ปส์ (Deutsche Telecom’s Innovation Laboratories: T-Labs) กล่าว

ทั้งนี้ อุปกรณ์ 1830 PSS ใช้ชิปประเภท PSE ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโครงสร้างสถาปัตยกรรมเครือข่ายชั้นสูง (High Leverage NetworkTM: HLM Architecture) ของอัลคาเทล-ลูเซ่น ซึ่งเป็นการออกแบบให้มีศักยภาพสร้างคาปาซิตี้ขนาดใหญ่ในขณะที่ช่วยลดต้นทุนด้านเครือข่ายทรานสปอร์ตรวมทั้งลดความซับซ้อนของเครือข่ายส่วนคอร์ได้อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ