การค้าไทย-ญี่ปุ่น ฟื้นหรือฟุบหลังวิกฤติน้ำท่วม

อังคาร ๒๐ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๑๕
จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ทำให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งต้องจมน้ำและหยุดการผลิตลง ซึ่งร้อยละ 90 เป็นการลงทุนจากต่างชาติ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนมกราคม 2555 หดตัวอยู่ในแดนลบ

นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าผลจากมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในไทย ทำให้การค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 ถึง มกราคม 2555 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -11.2, -4.8 และ -10.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมบางรายการกลับมีแนวโน้มการส่งออกดีขึ้น เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 79.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2554 เป็น 116.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯในเดือนธันวาคม 2554 และ 135.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2555 ประกอบกับมีการนำเข้าเครื่องจักรกล และส่วนประกอบในช่วงนี้ค่อนข้างสูง รวมทั้ง โรงงานอุตสาหกรรมเร่งฟื้นฟูเพื่อผลิตรถยนต์ให้เพียงพอกับยอดจองก่อนช่วงน้ำท่วม และประชาชนมีความต้องการเปลี่ยนรถใหม่เพื่อทดแทนรถคันเดิมที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย ซึ่งเป็นสัญญาณว่าอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมบางส่วนเริ่มฟื้นตัว สำหรับสินค้าอื่นๆที่ได้รับผลกระทบ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า การส่งออกยังติดลบอย่างต่อเนื่องถึงเดือนมกราคม 2555 ทั้งนี้คาดว่าสถานการณ์การค้าไทย-ญี่ปุ่น จะเข้าสู่สภาวะปกติในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555

รองอธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรไปญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึงมกราคม 2555 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารแปรรูป เช่น ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เนื่องจากวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่น ที่เน้นความสะดวก รวดเร็ว ประกอบกับแรงงานภาคการเกษตรของญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จึงเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรไปญี่ปุ่น นอกจากนี้ ไทยยังได้ประโยชน์จากการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) รวมทั้งได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากญี่ปุ่นภายใต้ระบบ GSP ผู้ประกอบการไทยจึงควรใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เพื่อลดต้นทุนทางการค้าและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียด/สอบถามข้อมูลการขอรับใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form JTEPA, Form AJ และ Form A) เพื่อประกอบการใช้สิทธิพิเศษฯได้ที่ www.dft.go.th หรือ สายด่วน Hotline 1385 ของกรมการค้าต่างประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO