ทึ่ง “วัสดุฉลาด” เพื่อการแพทย์ลดการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์กว่าปีละร้อยล้านบาท

พุธ ๒๑ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๑:๕๓

SMART Lab วิศวะ มจธ. สร้างชื่อ พัฒนาวัสดุฉลาดช่วยเหลือวงการแพทย์ คว้ารางวัล รองสุดยอดนวัตกรรม จากโครงการ ทรู อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ เมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมา คาดลดการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์กว่าปีละร้อยล้านบาท

ผศ.ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักศึกษาร่วมโครงการคือ นายกิตติคุณ วิชัยรัตน์ นักศึกษาปริญญาโทคณะการจัดการนวัตกรรม นายชัยยง โกยกุล และนายนริศรา ต่อสุทธิ์กนก นักศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมชีวภาพ จาก SMART Lab ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คือเจ้าของผลงาน “วัสดุฉลาดเพื่อการใช้งานทางการแพทย์” ที่เพิ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 INNO TREE (สุดยอดนวัตกรรม) จากโครงการ“ทรู อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2011” เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ซึ่ง ทีมวิจัยได้เลือก 2 ผลงานเพื่อส่งเข้าประกวด โดยผลงานดังกล่าวสามารถนำมาทดแทนวัสดุทางการแพทย์ได้ หรือเรียกว่า “วัสดุฉลาดเพื่อการใช้งานทางการแพทย์” ซึ่งหมายถึงวัสดุที่มีสมบัติจำรูปร่างตัวเองได้ ณ อุณหภูมิๆ หนึ่ง เมื่อมีแรงมากระทำจะเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่สามารถกลับคืนรูปเดิมได้เมื่อให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิๆ หนึ่ง และเป็นวัสดุที่มีสมบัติยืดหยุ่นยิ่งยวด เมื่อมีแรงมากระทำวัสดุจะยืดตัวออกได้มากกว่าโลหะทั่วไป ขณะเดียวกันหากปล่อยแรงวัสดุจะกลับคืนรูปเดิมทันที ซึ่งเป็นแรงดึงกลับคงที่ ผลงานชิ้นแรกคือ “Bone Plate” สำหรับดามกระดูก กิตติคุณ หนึ่งในนักศึกษาร่วมวิจัย กล่าวว่าก่อนหน้านี้ทางการแพทย์ใช้ Stainless Steel หรือเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ทำช้อนส้อม ฝังเข้าไปในร่างกายเพื่อดามกระดูกคนไข้ แต่ภายหลังพบว่าเหล็กกล้าไร้สนิมดังกล่าวมีส่วนผสมที่เป็นพิษต่อร่างกายและมีสมบัติทางกลที่ไม่เหมาะในการใช้งาน ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายแก่กระดูกคนไข้ จึงหันมาใช้ Titanium Alloy แทน ซึ่งเกรดทางการแพทย์เรียกว่า TiAlV (Titanium Vanadium Aluminium Alloy) แต่ขณะเดียวกันกลับมีงานวิจัยระบุว่า Titanium Alloy ยังมีส่วนผสมบางอย่างที่มีพิษต่อร่างกายถ้าได้รับนานๆ จะก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีตัวไหนที่ดีกว่านี้ ด้วยเหตุนี้เองทีมวิจัยจึงศึกษาและพัฒนา Titanium Alloy ชนิดใหม่ที่ถูกปรับสมบัติให้มีความคล้ายกระดูกและไม่มีส่วนผสมที่เป็นพิษต่อร่างกายเลย ทำให้สามารถอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้ตลอดชีวิตโดยไม่เป็นพิษ

สำหรับขั้นตอนการค้นคว้าของทีมเริ่มจากการนำธาตุที่ไม่มีพิษ ซึ่งมีเพียงไม่กี่ตัวจากตารางธาตุมาผสมกันเพื่อให้ได้ Titanium Alloy ใหม่ที่มีคุณสมบัติคล้ายกระดูกจริง อ่อนนิ่ม ไม่ทำลายกระดูก และทนการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย งานวิจัยชิ้นนี้กำลังทำการทดลองในสัตว์ ซึ่งได้ผ่านการทดลองความเข้ากันได้ทางชีวภาพกับเซลล์หนูแล้วพบว่ามีความปลอดภัย

ส่วนผลงานชิ้นที่สองคือ การนำวัสดุฉลาดซึ่งเป็นวัสดุโลหะจำรูปมาทำ “ลวดจัดฟัน” ซึ่งลวดจัดฟันทั่วไปมักทำจาก Stainless Steel มีคุณสมบัติที่ทำให้คนจัดฟันรู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากเกิดแรงกระชากเวลาจัดฟัน

ขณะเดียวกันเมื่ออายุมากขึ้นรากฟันจะละลายและเสื่อมได้ง่าย ต่างจากลวดจัดฟันที่ทำมาจาก Titanium Nickel Alloy โดย ชัยยง ทีมงานร่วมวิจัยอีกคน เปิดเผยว่า ลวด Titanium Nickel Alloy นี้จะเคลื่อนฟันด้วยแรงคงที่ทำให้รากฟันของคนไข้ที่ถูกจัดฟันไม่ถูกทำลาย และการจัดฟันเป็นไปตามหลักสรีระวิทยา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแรงดึงกลับจากการจัดฟันจะคงที่ รวมถึงไม่เกิดการกระชากรากฟันทำให้คนไข้ไม่เจ็บการจัดฟันใช้เวลาน้อยลง และไม่มีผลต่อรากฟันในอนาคตด้วย

ทั้งนี้ ผศ.ดร. อนรรฆ ในฐานะที่ดูแลภาพรวมการวิจัย กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้ทำให้สามารถนำวัสดุฉลาดมาใช้งานทางการแพทย์ได้หลายอย่าง ปัจจุบันงานวิจัยยังอยู่ใน Lab ที่มีการผลิตในลักษณะต้นแบบไม่สามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ แต่หากมีการพัฒนาต่อยอดตนเชื่อว่าสามารถลดต้นทุนการนำเข้าได้เป็นจำนวนมาก

“หลังจากทำงานวิจัยเรื่องวัสดุฉลาดร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเก็บประสบการณ์มากว่า 7 ปี จนตอนนี้สามารถตอบโจทย์ทุกด้าน มีข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งที่นี่เป็น Labเดียวในประเทศที่ค้นคว้าวิจัยด้านนี้ ที่สำคัญเราพบว่าแม้ในประเทศไทยจะมีการใช้ลวดดัดฟันที่ทำจากวัสดุฉลาด แต่ต้องนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นในราคาแพงถึงเส้นละ 200 บาท ในแต่ละปีประเทศต้องนำเข้าลวดจัดฟันปีละกว่าร้อยล้านบาท แต่หากมีการพัฒนาคุณภาพจากต้นแบบให้กลายเป็นสามารถใช้งานและผลิตภายในประเทศได้จะทำให้เราสามารถลดต้นทุนได้มากขึ้น” ผศ.ดร.อนรรฆ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.อนรรฆ เชื่อว่าผลงานดังกล่าวจะเป็นการเปิดโลกงานวิจัยจากระดับห้องปฏิบัติการ ไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง และได้รับการสนับสนุนการต่อยอดงานวิจัยจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเข้าสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมในการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ราคาถูกลง เพื่อให้สังคมได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง รวมถึงการต่อยอดในด้านการทดลองในสัตว์และคน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สู่สังคม.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version