อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของฟิทช์ในการจัดอันดับเครดิตของตราสารประเภทดังกล่าวที่ยังคงสามารถชำระดอกเบี้ยได้ ซึ่งอยู่ที่ 1 ระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของผู้ออกตราสาร โดยตราสารหนี้ดังกล่าวไม่มีคุณลักษณะการรองรับผลขาดทุนของธนาคาร
จากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องตราสารหนี้ที่สามารถนับเป็นเงินกองุทนได้ตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555 นั้น ตราสารหนี้ตามเกณฑ์ Basel III ที่ไม่มีคุณลักษณะการรองรับผลขาดทุนในกรณีที่ธนาคารไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ที่ออกจำหน่ายระหว่างเดือนมีนาคม-ธันวาคม 2555 ยังคงสามารถนับเป็นเงินกองทุนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำนวนของตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวที่จะนำมานับเป็นเงินกองทุนได้จะทยอยลดลงปีละ 10% โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 แม้ว่าประกาศดังกล่าวอาจส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนของ TMB ลดลงในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามกำไรสะสมของธนาคารน่าจะสามารถลดผลกระทบดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง
อันดับเครดิตของ TMB สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินของตัวธนาคารเอง ทั้งนี้อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของธนาคารยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์อื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับใกล้เคียงกัน อันดับเครดิตของธนาคารยังสะท้อนถึงความคาดหมายของฟิทช์ว่าระดับความแตกต่างดังกล่าวจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามหากการปรับตัวในทิศทางดังกล่าวไม่เกิดขึ้นในระยะสั้น อาจส่งผลในเชิงลบต่อการพิจารณาอันดับเครดิตของฟิทช์
TMB เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของประเทศไทย โดยมีสินทรัพย์รวมที่ 718.6 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2554 ING Bank NV (มีอันดับเครดิตที่ ‘A+’ / ‘F1+’/ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในสัดส่วน 30% ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อื่น ประกอบด้วย กระทรวงการคลังซึ่งถือหุ้นอยู่ที่ 26% และ DBS Bank ของสิงค์โปที่ 2.9%