TCELSจับมือจุฬาฯTPMA พัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมผลิตยารับมือ AEC

จันทร์ ๐๒ เมษายน ๒๐๑๒ ๑๓:๒๗
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TPMA) เตรียมลงนามความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมผลิตยาของประเทศไทย ในวันที่ 29 มีนาคม 2555 ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายกำจร พลางกูร รองผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับประกาศกระทรวงสาธารสุข เรื่อง การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบันตามกฏหมายว่าด้วยยา พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งได้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2554 โดยจะให้เวลาสำหรับผู้ประกอบการรายเก่าในดำเนินการปรับตัวอีก 1 ปี ทั้งนี้ประกาศกระทรวงฯฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักเกณฑ์GMPของ Pharmaceutical Inspection Co-operation Schemes (PIC/S) ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในกรอบการเจรจา ASEAN Harmonization ซึ่งนอกจากนี้ กรอบการเจรจายังได้มีการกำหนดในส่วนของการขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยกำหนดมาตรฐานชุดเอกสารการขึ้นทะเบียนตำรับยา (ASEAN Common Technical Dossier (ACTD)และ ข้อกำหนดด้านคุณภาพมาตรฐานของยา (ASEAN Common Technical Requirement (ACTR) ซึ่งสมาชิกทุกประเทศของASEAN ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงภายในปี 2015

“ปัจจุบันยาที่ใช้ในประเทศไทยสามารถผลิตได้ภายในประเทศราว 30% จากโรงงาน 170 แห่ง และอีก 70% มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมยามีโอกาสขยายรายการและปริมาณการผลิต แต่ในทางมาตรฐานและการวิจัยพัฒนา รวมทั้งการค้นคว้าหาตัวยาใหม่ ๆ จำเป็นต้องมีการยกระดับมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐานขององค์การอาหารและยา (อย.) ที่ยกระดับเป็นมาตรฐานสากล” รอง ผอ.TCELS กล่าว

นายกำจร กล่าวว่า เรื่องมาตรฐานการผลิตยานั้นถูกผลักดันในหลายเวทีและหนึ่งในเวทีระดับโลกที่มีการผลักดันคือ APEC Life Science Innovation Forum โดยผู้ประสานงานของการประชุมคือ TCELS ได้สรุปผลการประชุมในรอบ 6 ปีว่าการประชุมในเวทีดังกล่าวมีการนำเรื่องการปรับมาตรฐานการผลิตและระบบคุณภาพของยาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonization) เข้าหารือซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในประเทศในกลุ่มเอเปก

รองศาสตราจารย์ ดร. พิณทิพย์ พงษ์เพ็ชร คณบดี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสถาบันการศึกษาซึ่งพันธกิจหลัก คือ การผลิตเภสัชกรที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตและควบคุมคุณภาพของยาและเภสัชภัณฑ์ ทางคณะฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มีส่วนร่วมกับ TCELS และ TPMA เพื่อการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมฯ ของประเทศ ให้เท่าทันองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านนี้ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยาในประเทศให้มีศักยภาพทัดเทียมมาตรฐานสากล

นายเชิญพร เต็งอำนวย นายกสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน กล่าวว่า ในฐานะของภาคเอกชนยินดีที่ได้เข้ามีส่วนร่วมในความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งจากการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในปี 2015 อุตสาหกรรมผลิตยาของไทยต้องมีการปรับตัวเช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมอื่น ปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตยาภายในประเทศมีความสำคัญต่อประเทศในด้านการผลิตยาทดแทนการนำเข้ายาที่มีราคาแพง เป็นส่วนช่วยเหลือในการประหยัดงบประมาณภาครัฐที่ใช้ในระบบสาธารณสุขของประเทศ ดังนั้นภาครัฐควรต้องหันมาให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมผลิตยา

ภก.เชิญพร กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมได้ดำเนินการขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน(BOI) ทำให้ภาคอุตสาหกรรมผลิตยาได้รับการสนับสนุนเงินทุนมาใช้ในการปรับปรุงโรงงานเพื่อเข้าสู่ GMP ของ PIC/S ได้ แต่เนื่องจากการผลิตยาต้องอาศัยความรู้ ทักษะในวิชาชีพรวมถึงเทคโนโลยีการผลิตที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการผลิตยาโดยเฉพาะเภสัชกรจึงต้องได้รับการอบรมเพิ่มเติมความรู้ตลอดเวลา ซึ่งการที่ได้มีความร่วมมือกับภาคการศึกษาก็จะเป็นการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะการที่เป็นแหล่งความรู้กับนิสิต นักศึกษาที่จะป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตยา ยิ่งได้มีโอกาสร่วมมือกับ TCELS ด้วย ก็ยิ่งเป็นการปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งแก่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตยาของประเทศให้พร้อมต่อสู้กับการแข็งขันมากขึ้น

ติดต่อ:

TCELS 02-6445499 ต่อ 142

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO