ดร.วัลลภ กล่าวว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเก็บขยะอันตราย ขวดยาทาเล็บ กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ ถ่านไฟฉาย ฯลฯ ได้เฉลี่ยเพียงวันละ 1 ตัน/วัน ทั้งนี้ จากการศึกษาที่คาดการณ์ไว้ว่าในแต่ละวันควรมีขยะมูลฝอยอันตรายที่เกิดขึ้นประมาณ 24 ตัน/วัน เนื่องจากที่ผ่านมาการงานยังขาดมาตรการเชิงรุกในการรณรงค์และประชาชนขาดแรงจูงใจในการคัดแยกขยะอันตราย
สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. จึงได้จัดทำ “โครงการตลาดนัดขยะอันตรายจากบ้านเรือน” เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้ประชาชน แยกขยะมูลฝอยอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไป โดยกิจกรรมใน งานประชาชนสามารถนำมูลฝอยอันตรายมาแลกผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและลักษณะเดียวกัน เช่น การนำถ่านไฟฉายใช้แล้วมาแลกถ่านไฟฉายอัลคาไลน์ก้อนใหม่ รวมถึง การนำขยะอันตรายมาแลกขยะหอม ปุ๋ยอินทรีย์ทาราคูระ เป็นต้น
โดยหลังจากจบกิจกรรมก็จะให้แต่ละชุมชนได้ช่วยรณรงค์ให้เกิดการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้สำนักงานเขตที่รับผิดชอบตั้งถังขยะสำหรับใส่ขยะอันตรายเฉพาะไว้ตามจุดต่างๆ ในพื้นที่ชุมชน เพื่อทาง กทม. จะนำเก็บรวบรวมไปกักเก็บและกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป
สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่นำร่องในชุมชนของสำนักงานเขตแต่ละกลุ่มเขต ทั้ง 6 กลุ่มเขต ได้แก่ ชุมชนหมู่บ้านเปรมฤทัย 1 เขตคันนายาว, ชุมชนริมคลองบางซื่อลาดพร้าว 34 เขตห้วยขวาง, ชุมชนตรอกพระเจน เขตปทุมวัน, ชุมชนเคหะสถานเจริญชัย เขตจตุจักร, ชุมชนหมู่บ้านจัดสรรโดยในกิจกรรมสามารถนำมูลฝอยอันตรายมาแลกผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ สกุลทิพย์ และชุมชนศิรินทร์และเพื่อน เขตภาษีเจริญ