ม.หอการค้าไทยเปิด 10 หลักสูตรปริญญาโท-เอก ปี 55

พุธ ๐๔ เมษายน ๒๐๑๒ ๑๐:๔๔
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเตรียมเปิด 10 หลักสูตรปริญญาโท-เอก ประจำปีการศึกษา 2555 มุ่งเตรียมบุคคลากรรับมือการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ชูจุดเด่นเชิญนักธุรกิจชั้นนำของไทยร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตรงบนเส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบสู่ธุรกิจหมื่นล้าน

ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงแผนรับสมัครนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก ประจำปีการศึกษา 2555 ว่า ได้เตรียมเปิดทั้งหมด 7 หลักสูตรสำหรับระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก ทั้งนี้เนื้อหาของหลักสูตรได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับพลวัตรความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเตรียมบุคคลากรให้พร้อมกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยมีหลักสูตรต่างๆ อันได้แก่ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA Online, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต และ International Programs โดยในหลักสูตรนี้เพิ่มความเข้มข้นด้วยการเจาะลึกเป็น 2 สาขาย่อย คือ International Business (Global MBA) และ International Business Economics (MBA) ในขณะที่ทางมหาวิทยาลัยเตรียมเปิดหลักสูตรปริญญาเอกไว้ 3 หลักสูตร ได้แก่ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (PH.D.-M.Econ), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา วิชาโลจิสติกส์ (Ph.D.-Logistics) และ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (D.B.A)

“มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะมีความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก นักศึกษาไทยจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อม วัตถุประสงค์ดังกล่าวสอดคล้องกับปรัชญาของทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในการมุ่งมั่นสร้างนักศึกษาให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จและยั่งยืน ทั้งนี้ลักษณะเฉพาะของนักศึกษาหอการค้าไทยคือมีความต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับแนวการสอนของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย” ดร.ทรรศนะ กล่าวเสริม

นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังได้เชิญนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในหลายสาขา อาทิเช่น คุณบุญสิทธิ์ โชควัฒนา เจ้าสัวเครือสหพัฒนพิบูล, คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของกิจการเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ และคุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์จริงในการทำธุรกิจ โดยการเชิญบุคคลากรชั้นนำของประเทศมาร่วมให้ความรู้ในหลักสูตรลักษณะเช่นนี้ มีเพียงมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเท่านั้นที่ทำได้ ทั้งนี้ เนื่องจากความแข็งแกร่งและศักยภาพของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในการมีเครือข่ายนักธุรกิจทั่วประเทศ และมีนักธุรกิจระดับแนวหน้าครอบคลุมหลายภาคอุตสาหกรรมเป็นสมาชิกของหอการค้าไทย และหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ

“อย่างไรก็ดี นอกจากการฝึกฝนนักศึกษาด้วยบทเรียนอันล้ำค่าจากผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ ทางมหาวิทยาลัยยังได้ตระหนักดีถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม โดยในทุกเทอมก่อนจบการศึกษา ทางมหาวิทยาลัยจะจัดอบรมเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักศึกษา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ได้รับการริเริ่มจากท่านดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานสภาหอการค้าไทย โดยกิจกรรมนี้ มุ่งหวังเพื่อบ่มเพาะให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นแต่เพียงคนเก่งในแวดวงธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมด้วย” ดร.ทรรศนะ กล่าว

ผู้สนใจสามารถสมัครเรียนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ 02-697-6881-5 หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.utcc.ac.th

ติดต่อ:

จารุวัลย์ นวาวัตน์/ พลอยไพลิน ตองอ่อน โทร.02-6312290-5 ต่อ 309/310

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ