ภาพข่าว: อพท. ปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงาน

พุธ ๐๔ เมษายน ๒๐๑๒ ๑๒:๑๘
วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๙.๔๐ น. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. จัดปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงาน ณ ห้องประชุม อพท. ๑ อาคารทิปโก้ ชั้น ๓๑ โดยมี นางศิริกุล กสิวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ อพท. (บริหาร) เป็นประธานในพิธีเปิด

นางศิริกุล กสิวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ อพท. (บริหาร) กล่าวต้อนรับนักศึกษาฝึกงานของ อพท. จำนวน ๗ คน ซึ่งเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกงานแนะนำตนเองต่อผู้บริหารระดับสูงของ อพท. โดยกล่าวย้ำให้นักศึกษาฝึกงาน เรียนรู้ที่จะอยู่กับสังคม แม้ว่าระยะการฝึกงานจะสั้นเพียง ๒ เดือน แต่การฝึกงานจะต้องทำงานกับผู้คนในสังคมที่หลากหลายอายุ ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคม และควรปฏิบัติงานทุกอย่างทั้งเรื่องเล็ก ๆ เช่น การพิมพ์งาน การถ่ายเอกสาร ไปจนถึงช่วยเหลือเรื่องใหญ่ที่เจ้าหน้าที่ อพท.ดำเนินการอยู่ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องจดจำชื่อเต็ม ชื่อย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของ อพท.ได้แม่นยำ รู้แนวคิดการทำงาน เพื่อที่จะนำประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกงานนี้นำไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้อย่างทุกต้อง

นายสุธีร์ สธนสถาพร รักษาผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง (สบก.) กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินงานของ อพท. ว่า นักศึกษาฝึกงานควรศึกษาข้อมูลวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และโครงสร้างการบริหารภายในของ อพท. รวมถึงผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองปี ๒๕๔๘ — ๒๕๕๔ โดยมีนวัตกรรมการบริหารจัดการภายในองค์กร (DASTA INNOVATION MANAGEMENT) เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานในองค์กรให้เป็น Low Carbon Office โดยมีการใช้กระดาษน้อย เพราะทำงานอยู่บนระบบ ERP ทั้งหมด ที่ผ่านมา ได้ดำเนินโครงการ DASTA Ball เฉลิมพระเกียรติ และดำเนินนโยบาย Co-Creation มีการจัดงาน Thailand Sustainable Tourism และดำเนินงานการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายสุเทพ เกื้อสังข์ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน (สทช.) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับจุดยืนของ อพท. ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยว่า กลไกการทำงานจะมีหน่วยงานที่ทำงานด้าน Demand side คือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยซึ่งทำหน้าที่ทางด้านการขาย การประชาสัมพันธ์และการทำการตลาดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ส่วนทางฝั่ง Supply side จะประกอบด้วยหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการทำงานของ อพท.อยู่ทางฝั่ง Supply side ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น เพราะ อพท. จะบริหารจัดการพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่ได้ดำเนินการทุกจังหวัด เราทำเฉพาะพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้มีสำนักงานพิเศษ ๑-๕ รวมถึงพื้นที่ที่เตรียมจะประกาศเป็นพื้นที่พิเศษด้วย เช่น พื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง และพื้นที่ อพท.เมืองน่าน

สทช. มีหน้าที่ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง สามารถแบ่งภารกิจออกเป็น ๔ งาน คือ

๑) งานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) เช่น ถ้าเดินทางไป สพพ.๔ ก็ต้องเรียนรู้ศึกษาประวัติศาสตร์พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และปั้นเครื่องปั้นดินเผา ถ้าไปพื้นที่พิเศษเลย (สพพ.๕) ที่อำเภอด่านซ้ายก็เรียนรู้การทำหน้ากากผีตาโขน และให้คนด่านซ้ายเล่าตำนานผีตาโขนให้นักท่องเที่ยวฟัง ฯลฯ

๒) งานเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว

๓) งานสร้างภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยว การทำงานไม่สามารถดำเนินการโดยลำพังเพียงองค์กรเดียวจะต้องประสานการทำงานกับทุกสำนักใน อพท. และหน่วยงานนอก อพท. ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ภาคประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อให้การดำเนินการมีความคล่องตัวและสำเร็จตามวัตถุประสงค์

๔) งานวิชาการท่องเที่ยว จะต้องดึงเอาความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านมาประยุกต์ใช้กับ สทช. สามารถส่งเสริมให้คนในชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ เข้าใจความหมายการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมว่าเป็นอย่างไร

นายสุริยะ ศรีเสาวคนธ์ หัวหน้างานจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารแผนพื้นที่พิเศษ สำนักแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ (สผพ.) กล่าวว่า สผพ. ถือเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการประกาศพื้นที่พิเศษ และการจัดทำแผนของ อพท.

ซึ่งนักศึกษาฝึกงานควรศึกษานิยามของคำว่า การอนุรักษ์ การพัฒนา การบริหารการพัฒนา พื้นที่พิเศษ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เนื่องจากคำนิยามเหล่านี้มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของ อพท.

การจัดทำแผนของ อพท. สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ระดับคือ แผนการกำหนดทิศทางการดำเนินงานในภาพรวมเชิงบูรณาการ เช่น แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ และ แผนงาน ซึ่งเป็นการนำนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติ เช่น แผนงานดำเนินโครงการตั้งแต่ ๒ โครงการขึ้นไปที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอน

ทั้งนี้ โครงสร้างการดำเนินงานของ สผพ. ประกอบไปด้วย ๔ งานที่มีความสำคัญคือ

๑) งานข้อมูลสารสนเทศแหล่งท่องเที่ยว

๒) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ

๓) งานสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่พิเศษ

๔) งานพัฒนาธุรกิจและบริการในพื้นที่พิเศษ

นางจินตนา สิงหเทพ เจ้าหน้าที่พัฒนาพื้นที่พิเศษ สำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.๑) กล่าวว่า สพพ.๑ กำลังดำเนินการ Low carbon Tourism เน้นการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยได้พัฒนาที่เกาะหมากเพื่อสร้างการตระหนักรับรู้ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะหมาก ให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรทางธรรมชาติ ด้วยการเข้าไปช่วยชุมชนในการบริหารจัดการขยะ การจัดการน้ำ สร้างการเชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะหมาก และได้ประชาสัมพันธ์ด้วยการจัดแรลลี่จักรยานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อปีที่แล้ว

พร้อมกับยกตัวอย่างพื้นที่เกาะขาม ซึ่งเป็นเกาะบริวารของเกาะหมากว่า ที่ผ่านมา เกาะขามมีการซื้อขายเกาะกันในราคา ๘ ล้านบาท และผู้ซื้อเกาะก็มีการขายต่อในราคา ๓๐ ล้านบาท และไม่นานมานี้ประมาณ ๔-๕ ปีมาแล้ว ก็ซื้อขายกันในราคา ๒๐๐ ล้านบาท เกาะขามมีหินภูเขาไฟที่หาได้ยาก มีหาดทรายที่ละเอียดสวยงาม เป็นสิ่งที่ควรตระหนักถึงคุณค่าว่าจะทำอย่างไรให้พื้นที่เกาะขามมีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่

นายอาชวิน สุขสว่าง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและประสานงานสำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (สพพ.๔) กล่าวว่า สพพ.๔ จะทำหน้าที่เป็น อพท. เพื่อเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่เพื่อสร้างต้นแบบในการบริหารการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ แห่ง ตามแนวทางการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก ซึ่งแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการจะต้องสอดคล้องกับข้อผูกพันของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก รวมทั้งดึงภาคีเครือข่ายการพัฒนามาร่วมเป็นภาคีในแต่ละเรื่อง กรอบการดำเนินงานมีอยู่ ๕ เรื่องที่สำคัญคือ

๑) การอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

๒) การใช้ประโยชน์ในที่ดินรอบอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ แห่ง และการบริหารจัดการชุมชนในพื้นที่พิเศษ ปัจจุบันมีชุมชนในพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ประมาณ ๒๐ ชุมชน

๓) การดำเนินการให้ชุมชนช่วยอนุรักษ์อุทยานประวัติศาสตร์

๔) เข้าไปช่วยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อพื้นที่พิเศษ

๕) จะพัฒนาและลงทุนอย่างไร ให้เหมาะสมกับพื้นที่พิเศษ

ซึ่งขณะนี้ สพพ.๔ อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำภาพยนตร์เรื่องสั้นสื่อสร้างสรรค์ จำนวน ๙ เรื่อง โดยจะผลิตออกมาครั้งแรกจำนวน ๒ เรื่อง

นายสุรอาจ คุณกมุท ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและประสานงานสำนักงานพื้นที่พิเศษเลย (สพพ.๕) เล่าถึงการดำเนินงานของพื้นที่พิเศษเลย ว่าได้ดำเนินการตามขอบเขต ๙ อำเภอ ไม่ได้ครอบคลุมทั้งจังหวัดเลย โดยจัดกลุ่มพื้นที่ได้ ๓ กลุ่มคือ

กลุ่มที่ ๑ อำเภอเมือง อำเภอเชียงคาน อำเภอท่าลี่

กลุ่มที่ ๒ อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว

กลุ่มที่ ๓ อำเภอภูกระดึง อำเภอภูหลวง อำเภอหนองหิน

โดยทั้ง ๙ อำเภอนี้ จะครอบคลุมองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสิ้น ๖๘ แห่ง โดยได้อธิบายการดำเนินงานของ สพพ.๕ ว่าได้ลงพื้นที่ไปคุยกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ลงพื้นที่เข้าหาชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ติดต่อสอบถามได้ที่

นางสาวชมพูนุท ธาราสิทธิโชค

เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร อพท. [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ