อาชญากรไซเบอร์ใช้เทคนิควิศวกรรมด้านสังคมเพื่อลวงให้บุคคลเรียกใช้สิ่งที่แนบมากับอีเมลซึ่งมีมัลแวร์แฝงอยู่ รวมทั้งให้คลิกลิงก์ที่เป็นอันตราย หรือให้เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ โดยไม่ว่าภัยคุกคามนั้นจะมาในรูปของอีเมลจากธนาคารของผู้ใช้ โอกาสทางธุรกิจจากผู้มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ หรือแม้แต่ส่วนซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นของปลอม ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อขโมยข้อมูลประจำตัวและข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรเครดิต รหัสผ่าน หรือข้อมูลสำคัญอื่นๆ
ไมลา ปิลาโอ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า "ผลประโยชน์สาธารณะในสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพที่อาชญากรไซเบอร์ได้นำไปใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับตนเองครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเทคนิคที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ การโพสต์ข้อความที่น่าสนใจโดยอาศัยช่วงจังหวะของเทศกาล ข่าวสารของเหล่าคนดัง และแม้แต่เหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ"
จะเห็นได้ว่าความพยายามในการบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้วยังคงมีภัยคุกคามแฝงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัท เทรนด์ ไมโคร พบการโจมตีที่อาศัยภัยพิบัติดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการล่อลวงหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์โศกสลดอื่นๆ เพื่อผลักดันแผนการร้ายของตนให้ประสบผลสำเร็จด้วย
นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่านักชอปที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กำลังหันไปหาดีลส่งเสริมการขายที่คุ้มค่ามากกว่าเดิม โดยจากการศึกษาพบว่า 35% ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกระบุว่า กว่า 10% ของการใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าในแต่ละเดือนนั้นเป็นการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ "ทุกคนชอบดีลที่ดีแต่โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าดีลนั้นเป็น กับดักหรือไม่" ไมลา กล่าวเพิ่มเติมว่า "ความนิยมของรหัสคูปอง เว็บไซต์ที่รวมดีลต่างๆ ที่น่าสนใจ และโปรโมชั่นออนไลน์อื่นๆ อีกมากมาย ทำให้การส่งเสริมการขายจอมปลอมเริ่มแพร่กระจายในทุกแห่งหนแล้วขณะนี้"
เทคนิควิศวกรรมด้านสังคมยอดนิยมอีกอย่าง ได้แก่ Scareware ที่อาชญากรใช้เพื่อสร้างให้เกิดความ ตื่นตกใจ วิตกกังวล หรือให้แง่มุมเกี่ยวกับภัยคุกคามลวงๆ โดยทั่วไปจะมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ที่ไม่ทันเฉลียวใจกับกลลวงดังกล่าว สำหรับตัวอย่างของกลลวงที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ป้องกันไวรัสที่เป็นของปลอม (FAKEAV) โดยสายพันธุ์ต่างๆ ของ FAKEAV จะมีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ถูกต้องซึ่งจะแสดงการตรวจพบมัลแวร์ที่เป็นเท็จ จากนั้นก็จะแสดงคำเตือนแบบป๊อบอัพขึ้นมาเพื่อบังคับให้ผู้ใช้ซื้อซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ไมลากล่าวสรุปท้ายว่า "ผู้ใช้ควรทำความเข้าใจและแยกแยะสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นทางออนไลน์ให้ได้ อย่าเผลอไผลไปกับชื่อเสียงของบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วหรือชื่อแบรนด์ชั้นนำต่างๆ เนื่องจากสิ่งเหล่านั้นอาจดูดีเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ นอกจากการติดตั้งโซลูชั่นความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพแล้ว ผู้ใช้ควรระมัดระวังเมื่อเปิดข้อความอีเมลหรือเมื่อดาวน์โหลดสิ่งที่แนบมาที่ได้รับจากผู้ส่งที่ไม่รู้จักอีกด้วย”
ทั้งนี้ ด้วยเครือข่ายระบบป้องกันภัยอัจฉริยะ “เทรนด์ ไมโคร สมาร์ท โพรเท็คชั่น เน็ตเวิร์กส์” (Trend Micro Smart Protection Network?) สามารถช่วยปกป้องผู้ใช้งานจากมัลแวร์เหล่านี้ด้วยการป้องกันสแปมไม่ให้เข้าถึงกล่องจดหมายเข้าโดยใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบระบบอีเมล นอกจากนี้ยังช่วยบล็อกผู้ใช้งานไม่ให้เข้าถึงไซต์ที่เป็นอันตรายผ่านทางเทคโนโลยีการตรวจสอบประวัติเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้สามารถดาวน์โหลดและเรียกใช้ไฟล์อันตรายในระบบของผู้ใช้งานโดยอาศัยเทคโนโลยีตรวจสอบประวัติไฟล์อีกด้วย