- ๒๓ ม.ค. โฮมมีมอบไม้แปรรูปจากซองผลิตภัณฑ์โฮมมี ให้แก่ พม. เพื่อซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ
- ๒๓ ม.ค. พม. ชวนเที่ยวงาน "Rice of life ประเพณีกินข้าวใหม่ วิถีแห่งความยั่งยืน" สัมผัสวิถีชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูง จ.เชียงใหม่ 17-19 ม.ค.นี้
- ๒๓ ม.ค. การเคหะแห่งชาติพุ่งเป้าปี 2568 พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยรองรับทุกกลุ่มเป้าหมายให้สอดรับกับนโยบายกระทรวง พม.
นายปิ่นชาย ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า เด็กปฐมวัย ที่มีอายุ ต่ำกว่า ๖ ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญของการเจริญเติบโต ขั้นตอนพัฒนาการของสมองของเด็กปฐมวัยยังไม่พัฒนาและเติบโตอย่างเต็มที่พฤติกรรมจึงเปลี่ยนไปตามวุฒิภาวะและความสามารถในการทำงานของสมองที่ค่อยเพิ่มขึ้นตามลำดับดังนั้นการเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่ง ที่เรียกว่า“หน้าต่างโอกาสในการเรียนรู้” (Sensitive Period หรือ Window of opportunity) เป็นช่วงที่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ และพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้ดีที่สุด เช่น พัฒนาการด้านภาษา การเรียนรู้เสียงดนตรี การเล่นดนตรี การขี่จักรยานสองล้อ การว่ายน้ำ เป็นต้นเมื่อเวลาช่วงนี้ผ่านพ้นไปโอกาสนั้นจะไม่หวนคืนมาอีก กว่าจะฝึกได้ก็จะยากขึ้น หรือเด็กอาจจะไม่สามารถทำได้เลย ซึ่งนักจิตวิทยาและนักการศึกษาต่างให้ความสำคัญกับเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่พิเศษที่เป็นโอกาสให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะพี่เลี้ยงเด็กหรือผู้ดูแลเด็กที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมให้สามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างรอบด้าน และจากข้อมูลสะท้อนกลับของผู้ดูแลเด็กจากแบบสอบถาม ปี ๒๕๕๔ พบว่าผู้ดูแลเด็กขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้รับการส่งเสริมทักษะในการส่งเสริมการเรียนรู้แก่เด็กโดยเฉพาะหลักสูตรเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อ การจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็ก การจัดมุมประสบการณ์ การเป็นวิทยากรกระบวนการ การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรี เป็นต้น นายปิ่นชาย ปิ่นแก้ว กล่าวเพิ่มเติมว่า สท.ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วงงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในการจัดทำมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ จึงได้จัดการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็ก ในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ดูแลเด็ก ได้นำความรู้ และทักษะที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ตามแผนการจัดประสบการณ์ ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางที่จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการยกระดับศูนย์เด็กเล็ก และส่งผลต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเด็กต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ดูแลเด็กที่ปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร จำนวน ๗ ภูมิภาค ๗๗ จังหวัด แบ่งเป็น ๘ รุ่น รุ่นละ ๑๕๐ คน รวมเป็นผู้ดูแลเด็กทั้งสิ้น ๑,๕๐๐ คน ซึ่งจะดำเนินการในช่วงเดือน เมษายน — สิงหาคม ๒๕๕๕ นายปิ่นชาย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การฝึกอบรมในครั้งนี้ประกอบด้วยหัวข้อหลักในการอบรม จำนวน ๖ หัวข้อ ได้แก่ ๑) มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ๒) การผลิตสื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อ) ๓) เทคนิคการจัดมุมการเรียนรู้และนำสื่อไปใช้เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการเรียนรู้ ของเด็ก ๔) เทคนิคการเล่านิทานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ๕) การสร้างสภาพแวดล้อมและจัดการชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ๖) กระบวนการจัดกิจกรรมในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก และการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังผลลัพธ์สุดท้ายคือตัวเด็กนอกจากได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตเต็มที่ ไดรับการส่งเสริมพัฒนา ให้เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข เกิดการรับรู้ และเรียนรู้มากที่สุด รวมถึงมีการพัฒนาคุณลักษณะต่างๆ ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตของประเทศต่อไป